Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านจุลชีพของสารสำคัญจากน้ำตาลสด

น้ำเชื่อม (ความหวาน 72 °B) ที่ได้จากช่อดอกของต้นตาล Borassus flabellifer Linn. เมื่อนำมาแยกสารให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโทกราฟี พบว่าสารสำคัญประกอบด้วย 2,3,4-trihydroxy-5-methylacetophenone, nicotinamide, และ uracil จากผลการวิเคราะห์ปริมาณ Total phenolic content (TPC) และ ปริมาณของ Total flavonoid content (TFC) ของน้ำเชื่อมที่ได้ มีปริมาณเทียบเท่ากับ gallic acid 244.70 ± 5.77 มก./น้ำเชื่อม 1 กก. และ เทียบเท่ากับ quercetin 658.45 ± 27.86 มก./น้ำเชื่อม 1 กก. ตามลำดับ ซึ่งสาร 2,3,4-trihydroxy-5-methylacetophenone แสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี เมื่อทำการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH พบว่าความเข้มข้นของสารที่มีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชันที่ทำให้ความเข้มข้นของอนุมูล DPPH ลดลงร้อยละ 50 (IC50) เท่ากับ 20.02 ± 0.14 ไมโครโมลาร์ ซึ่งดีกว่าวิตามินซี (IC50 = 22.59 ± 0.30 ไมโครโมลาร์) นอกจากนี้สารดังกล่าวยังมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียหลายชนิด เช่น Escherichia coli, Mycobacterium smegmatis, Staphylococcus aureus และ S. simulans



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

971

ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราในหนอนไหมของสมุนไพรไทย
ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราในหนอนไหมของสมุนไพรไทยผ้าไหมเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากธรรมชาติที่สำคัญทางภาคเหนือของไทยซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องของคุณภาพและความสวยงาม แต่ตัวหนอนไหมซึ่งให้เส้นใยไหมมักประสบปัญหาการติดเชื้อจุลชีพในฤดูฝนและฤดูร้อน ทำให้ผ้าไหมมีคุณภาพต่ำลง เกษตรกรผู้เลี้ยงไหมมีการใช้ฟอร์มาลีนในการทำลายเชื้อจุลชีพ แต่อาจส่งผลเสียต่อมนุษย์และสัตว์ เกิดความเป็นพิษและปนเปื้อนในตัวหนอนไหมซึ่งเมื่อนำมารับประทานอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ จึงมีการทดสอบฤทธิ์ในการกำจัดเชื้อราของสมุนไพรไทย 11 ชนิดได้แก่ กะเพรา สะร...

1238

ฤทธิ์ลดภาวะซึมเศร้าของหญ้าฝรั่นในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบผ่านสายสวน
ฤทธิ์ลดภาวะซึมเศร้าของหญ้าฝรั่นในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบผ่านสายสวนศึกษาฤทธิ์ลดภาวะซึมเศร้าของหญ้าฝรั่นในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบผ่านสายสวน โดยทดลองให้ผู้ป่วยจำนวน 20 คน (เพศชาย 11 คน, เพศหญิง 9 คน, อายุเฉลี่ย 52.05±8.92 ปี) รับประทานแคปซูลหญ้าฝรั่นวันละ 30 มก./วัน นาน 6 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับผู้ป่วยกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน (เพศชาย 14 คน, เพศหญิง 6 คน, อายุเฉลี่ย 53.10±8.47 ปี) ที่ได้รับยารักษาโรคซึมเศร้า fluoxetine ขนาดวันละ 40 มก./วัน นาน 6 สัปดาห์...

15

สารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์
สารที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ protein prenyltransferase จากธรรมชาติ สารสำคัญที่แยกได้จากเห็ดหลินจือ (Garnoderma lucidum Fr. Karst.) คือกรดการ์โนเดอร์ริก (garnoderic acid) และสารสำคัญที่แยกได้จากกระเทียม (Allium sativum Linn.) คือ ไดอัลลิล ไธโอซัลฟิเนต(dially thiosulfinate) อัลลิล เมท-ทิล ไธโอซัลฟิเนต(allyl methyl thiosulfinate) และเมททิล อัลลิล ไธโอซัล-ฟิเนต (methyl allyl thiosulfinate) ให้ผลยับยั้งเอนไซม์ protein prenyltransferase เอนไซม์โปรตีนพรีนิลทรานสเ...

1070

ฤทธิ์สมานแผล
ฤทธิ์สมานแผล ยับยั้งการหลั่งกรด และปกป้องกระเพาะอาหารของคื่นไฉ่การทดสอบผลต่อกระเพาะอาหารของสารสกัด 96% เอทานอลจากส่วนเหนือดินของคื่นไฉ่ (Apium graveolens ) ในหนูแรท โดยแบ่งเป็น 3 การทดสอบ การทดสอบแรกคือ การทดสอบฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหาร โดยให้หนูกินสารสกัดในขนาด 250 และ 500 มก./กก. เป็นเวลา 30 นาทีก่อนเหนี่ยวนำให้หนูเกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยยา indomethacin หลังจากนั้น 6 ชม. จึงฆ่าหนู แล้วนำกระเพาะอาหารออกมาตรวจสอบ พบว่าสารสกัดทั้ง 2 ขนาดสามารถยับยั้งการเกิดแผลที่กระเพาะอาหารได้ โดยประสิทธิภาพจ...

2

ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของช้าพลู
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของช้าพลู (Piper sarmentosum Roxb.) เมื่อทดลองให้สารสกัดด้วยน้ำของต้นช้าพลู ในขนาด 0.125 และ 0.25 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวแก่หนูขาวปกติ โดยให้รับประทานครั้งเดียว พบว่ามีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด แต่สารสกัดในขนาดดังกล่าวไม่สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวที่เป็นเบาหวาน (streptozotocin-diabetic rats) อย่างไรก็ตามเมื่อให้สารสกัดดังกล่าวในขนาด 0.125 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวโดยการรับประทานติดต่อกันนาน 7 วันแก่หนูขาวที่ เป็นเบาหวาน พ...

1521

ประสิทธิภาพในการต้านเชื้อ
ประสิทธิภาพในการต้านเชื้อ Candida ของน้ำมันหอมระเหยร่วมกับ chlorhexidineการทดสอบประสิทธิภาพในการต้านเชื้อราของยา chlorhexidine ร่วมกับน้ำมันหอมระเหย 3 ชนิด ได้แก่ น้ำมันอบเชย (Cinnamomum zeylanicum L.) น้ำมันกานพลู (Eugenia caryophyllata L.) และน้ำมันตะไคร้ (Cymbopogon citratus (DC) Stapf) โดยทดสอบกับเชื้อ Candida 3 ชนิด ได้แก่ Candida albicans ATCC 10231, C. krusei (STCK 1) และ C. tropicalis (STCT 1) และไบโอฟิล์ม (biofilm) ของเชื้อ C. albicans ด้วยวิธี broth microdilution และ chequerboard assay...

1323

ผลของการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยจากลาเวนเดอร์ที่มีต่อความเจ็บปวดของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
ผลของการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยจากลาเวนเดอร์ที่มีต่อความเจ็บปวดของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมการศึกษาในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 90 คน อายุ 18-65 ปี แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่นวดด้วยน้ำมันลาเวนเดอร์ความเข้มข้น 3% กลุ่มยาหลอกที่นวดด้วยน้ำมันอัลมอนด์ และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการนวด โดยใช้น้ำมันขนาด 5 มล. นวดเข่าบริเวณที่ปวด เป็นเวลา 20 นาที และนวดจำนวน 9 ครั้ง ภายในเวลา 3 สัปดาห์ ทำการประเมินผลโดยวัดระดับความปวดด้วย visual analogue scale ทันทีหลังจากนวด และในช่วงเวลา 1 และ 4 สัปดาห์หลังจาก...

398

ผลของสารกลุ่ม
ผลของสารกลุ่ม Polyphenols จากชาเขียวต่อเยื่อบุกระเพาะการเกิดมะเร็งในกระเพาะมีสาเหตุหนึ่งมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori) ซึ่งเชื้อดังกล่าวมีผลทำให้เซลล์เยื่อบุของกระเพาะอาหารมีการแบ่งตัวและตายอย่างรวดเร็ว การศึกษาผลของสารในกลุ่ม polyphenols ของชาเขียว (GTP) ในหนูถีบจักรประเภท Balb/c โดยให้ได้รับ 0.5% GTP ในน้ำดื่มติดต่อกันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วบ่มเชื้อ H. pylori 108 cfu ในหนูเป็นเวลา 18 สัปดาห์ จากนั้นฉีดสาร bromodeoxyuridine (BrdU) 0.2 มก./กก. เข้าที่ช่องท้อง เพื่อเป็น...

1184

ฤทธิ์ป้องกันต้อกระจกของสารสกัดใบชุมเห็ดไทย
ฤทธิ์ป้องกันต้อกระจกของสารสกัดใบชุมเห็ดไทยการศึกษาในลูกหนูแรทอายุ 8 - 10 วัน แบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 6 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มปกติได้รับน้ำสะอาด ในวันที่ 10 ของการศึกษา กลุ่มที่ 2 เป็นหนูปกติ และได้รับสารสกัด 80% เอทานอลใบชุมเห็ดไทย ขนาด 5 มคก./ก. น้ำหนักตัว ในวันที่ 8 - 12 ของการศึกษา กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มหนูที่ได้รับสาร sodium selenite ขนาด 4 มคก./ก. น้ำหนักตัว โดยการฉีดในวันที่ 10 ของการศึกษา เพื่อเหนี่ยวนำให้เป็นต้อกระจก กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มหนูที่ได้รับสาร sodium selenite ขนาด 4 มค...