-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต่อระดับไขมันของเคอร์คูมินอยด์ในผู้ป่วยเบาหวาน
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต่อระดับไขมันของเคอร์คูมินอยด์ในผู้ป่วยเบาหวาน
การทดสอบฤทธิ์ของเคอร์คูมินอยด์สารสำคัญที่พบในขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) ต่อระดับไขมันของผู้ป่วยเบาหวาน โดยศึกษาแบบ randomized double-blind placebo-controlled trial ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 118 คน เมื่อให้ผู้ป่วยรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเคอร์คูมินอยด์แคปซูล (ประกอบด้วยเคอร์คูมินอยด์ 1,000 มก และสารไพเพอรีน 10 มก. ต่อวัน) ร่วมกับการรักษาเบาหวานตามปกติ เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยารักษาเบาหวาน เมื่อครบ 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มเคอร์คูมินอยด์มีระดับไขมันในเลือดได้แก่ คอเลสเตรอลรวม, non-HDL-cholesterol และ lipoprotein (a) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการรับประทาน ระดับ HDL เพิ่มขึ้นในกลุ่มเคอร์คูมินอยด์เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก ส่วนระดับไตรกลีเซอไรด์และ LDL-choloesterol มีค่าไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มเคอร์คูมินอยด์และกลุ่มยาหลอก การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการเสริมอาหารเคอร์คูมินอยด์สามารถทำให้ระดับไขมันที่เป็นตัวบ่งชี้การเกิดหลอดเลือดแข็งตัว ได้แก่ non-HDL-cholesterol และ lipoprotein (a) ลดลง จึงช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติร่วมกับการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้
Complement Ther Med 2017;33:1-5ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ชาคาโมมายล์กับฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ชาคาโมมายล์กับฤทธิ์ต้านการอักเสบการทดสอบสารสกัดน้ำร้อนของดอกคาโมมายล์แห้ง กับเซลล์ Murine RAW 264.7 macrophages ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้สร้างสารก่อการอักเสบคือ cyclooxygenase 2 (COX2) และ prostaglandin E2 (PGE2) ด้วยการบ่มเซลล์ดังกล่าวกับ lipopolysaccharide พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยลดการหลั่ง COX2 และ PGE2 และพบว่าสารสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบคือ apigenin 7-O-glucoside และ apigenin 7-O-neohespridoside ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม flavonoids โดยสารทั้ง 2 ชนิดมีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างสาร COX2 และ P...
ผลของกระวานเขียวต่อระดับฮอร์โมน
ผลของกระวานเขียวต่อระดับฮอร์โมน irisin ดัชนีน้ำตาลและไขมันในผู้ป่วยไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์การศึกษาทางคลินิกแบบปกปิดสองทาง มีการสุ่ม และมียาหลอกเป็นกลุ่มควบคุม (double-blind randomized placebo controlled clinical trial) ในผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับ ที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์และมีภาวะอ้วน (ค่าดัชนีมวลกาย 25-35 กก./ตร.ม.) จำนวน 87 คน โดยสุ่มแยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 43 คน รับประทานแคปซูลผงเมล็ดกระวานเขียว (green cardamom; Elettaria cardamomum) ขนาด 500 มก. ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั...
ฤทธิ์ต้านการหดเกร็งของน้ำมันสะระแหน่ฝรั่งต่อกล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมในหนูแรท
ฤทธิ์ต้านการหดเกร็งของน้ำมันสะระแหน่ฝรั่งต่อกล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมในหนูแรทการศึกษาฤทธิ์ต้านการหดเกร็งของน้ำมันสะระแหน่ฝรั่งที่ความเข้มข้น 1 - 300 ไมโครกรัม/มล. ในกล้ามเนื้อเรียบหลอดลมของหนูแรทเพศผู้ โดยเหนี่ยวนำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมหดตัวด้วยสารคาบาคอล (cabachol) ขนาด 10 ไมโครโมลาร์ นาน 10 นาที ในแต่ละช่วง พร้อมกับให้หรือไม่ให้ indomethacin (สารยับยั้งการสร้างพรอสต้าแกลนดิน 10 ไมโครโมลาร์), L-N-metyl-nitro-arginine (สารยับยั้ง K+ channel 100 ไมโครโมลาร์), hexamethonium (สารยับยั้งการสร้า...
ผลของสาร
ผลของสาร lupeol ต่อการหายของแผลในหนูขาวการศึกษาในหนูขาวโดยแบ่งหนูออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 6 ตัว หนูจะมีบาดแผลชนิด excision (แผลที่เกิดจากการบาดเจ็บ) แผลชนิด incision (แผลจากของมีคม จากการผ่าตัด) และแผลที่มีเนื้อตาย (dead space wound) โดยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการรักษาใดๆ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับยามาตรฐานแผนปัจจุบัน nitrofurazone และกลุ่มที่ 3 ได้รับยาที่มีส่วนผสมของสาร lupeol จากใบกระทุงลาย โดยกลุ่มที่เป็นแผลชนิด excision จะทาด้วยเจลกระทุงลาย 0.2%w/v (100 มก. ของ lupeol เตรียมใน...
ผลของการรับประทานขิงทุกวันต่อการป้องกันโรคเรื้อรังในผู้ใหญ่
ผลของการรับประทานขิงทุกวันต่อการป้องกันโรคเรื้อรังในผู้ใหญ่การศึกษาแบบตัดขวาง (cross-sectional study) เพื่อประเมินผลความสัมพันธ์ของการรับประทานขิงทุกวันกับการป้องกันโรคเรื้อรังในผู้ใหญ่ (เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดหัวใจ, ไขมันในเลือดสูง, โรคหลอดเลือดสมอง, ไขมันพอกตับ, โลหิตจาง และเนื้องอก) ในอาสาสมัครชายหญิง จำนวน 4,628 คน อายุระหว่าง 18-77 ปี โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มตามอายุในช่วงเวลาห่างประมาณ 20 ปี ได้แก่ อายุมากกว่า 18 ปีมากกว่า 40 ปี และมากกว่า 60 ปี และแบ่งการรับประทานขิงออกเป็น 3 ปร...
ฤทธิ์ของถั่วเหลืองต่อกระดูกและการเมตาบอลิซึมส์ของไขมัน
ฤทธิ์ของถั่วเหลืองต่อกระดูกและการเมตาบอลิซึมส์ของไขมัน จากการทดลองในหนูเพศเมียที่ถูกตัดรังไข่ และได้รับสารisoflavone 3 ชนิด ได้แก่ daidzin, genistin, glycitin จากถั่วเหลือง (Glycine max Linn. ) โดยการกิน เปรียบเทียบกับ estrone ( 7.5 ไมโครกรัม / กิโลกรัม / วัน ) ที่ให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังพบว่า สาร daidzin, genistinและglycitin ในขนาด 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน สามารถป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก สาร daidzin และ glycitin ขนาด 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ม...
ฤทธิ์ต้านภาวะการมีโปรตีนในปัสสาวะของหนูถีบจักรจากสาร
ฤทธิ์ต้านภาวะการมีโปรตีนในปัสสาวะของหนูถีบจักรจากสาร polyphenol ของชาเขียวมีรายงานว่าการใช้ยา cyclosporin ซึ่งเป็นยาที่ใช้กดภูมิคุ้มกันเพื่อต้านการปฏิเสธอวัยวะที่ถูกปลูกถ่ายเข้าไปในร่างกาย ส่งผลให้เกิดความเป็นพิษต่อไตและเกิดภาวะการมีโปรตีนในปัสสาวะ การทดลองในหนูถีบจักรที่ทำให้เกิดภาวะการมีโปรตีนในปัสสาวะ โดยการฉีดยา cyclosporin เข้าทางช่องท้อง เมื่อร่วมกับการฉีดสาร polyphenol ของชาเขียวเข้าใต้ผิวหนังในขนาด 100มก./กก. พบว่าทำให้ระดับโปรตีนในปัสสาวะ และระดับของ malondialdehyde ในเนื้อเยื่อของไตลดล...
ประสิทธิภาพของสารสกัดจากเมล็ดลูกซัดในการเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและปรับปรุงคุณภาพของอสุจิในเพศชาย
ประสิทธิภาพของสารสกัดจากเมล็ดลูกซัดในการเพิ่มฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและปรับปรุงคุณภาพของอสุจิในเพศชายการศึกษาในอาสาสมัครเพศชาย จำนวน 50 อายุ 35-65 ปี ที่ได้รับแคปซูลสารสกัดจากเมล็ดลูกซัด (ซึ่งมีสาร protodioscin ประกอบอยู่ 20%) ขนาด 500 มก./วัน หลังอาหารเช้า เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าระดับของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone) เพิ่มขึ้น 46% ใน 90% ของอาสาสมัคร จำนวนอสุจิและการเคลื่อนไหวของอสุจิเพิ่มขึ้นใน 85.4% ของอาสาสมัคร ในขณะที่รูปร่างของตัวอสุจิที่ผิดปกติ (abnormal sperm morphology) จะลดลง ใน 14.6...
ผลของโกโก้ต่อการปรับปรุงการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดในอาสาสมัครวัยรุ่นและผู้ใหญ่สุขภาพดี
ผลของโกโก้ต่อการปรับปรุงการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดในอาสาสมัครวัยรุ่นและผู้ใหญ่สุขภาพดีการศึกษาทางคลินิกผลสารฟลาวานอลจากโกโก้ (cocoa flavanol) ต่อการปรับปรุงการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดในอาสาสมัครวัยรุ่นและผู้ใหญ่สุขภาพดี จากการวิเคราะห์ปริมาณไมโครพาติเคิลจากเยื่อบุผนังหลอดเลือด (endothelium microparticles; EMPs) ในพลาสมาของผู้ใหญ่สุขภาพดีจำนวน 19 คน ด้วยเทคนิค flow cytometry พบว่า CD31+/41−, CD144+ และ CD62e+ EMPs เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับวัยรุ่นที่ไม่สูบบุหรี่จำนวน 20 คน โดย...