-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านเบาหวานจากเปลือกขนุน
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านเบาหวานจากเปลือกขนุน
ขนุน (Artocarpus heterophyllus Lam.) เป็นผลไม้ที่ปลูกกันอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย ศรีลังกา อินเดีย พม่า จีน เป็นต้น ผลของขนุนประกอบด้วย เปลือก เนื้อหุ้มเมล็ด ซัง และเมล็ดขนุน ซึ่งส่วนเปลือกเป็นของเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปขนุน เมื่อเปรียบเทียบปริมาณสารในกลุ่ม phenolics และ flavonoids ระหว่างส่วนต่างๆ ของขนุน พบว่า สารสกัด 90% เมทานอลจากเปลือกขนุนมีปริมาณมากที่สุด โดยมีสารในกลุ่ม phenolics มากกว่าสารสกัดจากส่วนเนื้อหุ้มเมล็ด ซัง และเมล็ด 4.65, 4.12 และ 4.95 เท่าตามลำดับ และในส่วนของการทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH· และ ABTS+· รวมทั้งความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาล โดยถ้าสามารถยั้บยั้งการทำงานของเอนไซม์นี้ได้จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในช่วงอดอาหารและช่วงเวลาหลังอาหารของผู้ป่วยเบาหวานได้ พบว่าสารสกัดจากเปลือกขนุนมีฤทธิ์ดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนอื่นของขนุนทั้ง 3 การทดสอบ และความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase ของสารสกัดเปลือกขนุนนั้นให้ผลดีกว่ายามาตรฐาน acarbose โดยมีค่าความเข้มข้นที่สามารถยั้บยั้งการทำงานของเอนไซม์ได้ 50% (IC50) น้อยกว่าถึง 11.8 เท่า การวิเคราะห์ทางเคมีของสารสกัดจากเปลือกขนุนด้วยวิธี high performance liquid chromatography electrospray ionization quadruple time-of-flight tandem mass spectrometry (HPLC-ESI-QTOF-MS/MS) พบสารประกอบจำนวน 53 ชนิด โดยมีสารในกลุ่ม prenylflavonoids, hydroxycinnamic acids และ glycosides ซึ่งเป็นกลุ่มสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ จากผลการทดลองทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าเปลือกขนุนมีศักยภาพในการเป็นแหล่งของสารสำคัญที่สามารถนำไปพัฒนาเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านเบาหวานได้
ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
การศึกษาทางคลินิกผลของหัวหอมต่อไขมันที่เกาะตามอวัยวะภายในช่องท้อง
การศึกษาทางคลินิกผลของหัวหอมต่อไขมันที่เกาะตามอวัยวะภายในช่องท้อง (visceral fat)การศึกษาทางคลินิก (randomized double-blind placebo-controlled parallel-group study) ในอาสาสมัครจำนวน 70 คน ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (body mass index; BMI) มากกว่าหรือเท่ากับ 23 และน้อยกว่า 30 แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับผงจากหัวหอม (Allium cepa; onion) ที่ประกอบด้วยสารเควอซิติน (quercetin) 9 ก./วัน เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก ประเมินผลการทดสอบในช่วงสัปดาห์ที่ 0 และ 12 ผลการทดสอบพบว่าไขมันหน้าท้อง (visc...
การศึกษาประสิทธิภาพของแคปซูลขมิ้นชันในผู้ป่วยโรคโควิด-19
การศึกษาประสิทธิภาพของแคปซูลขมิ้นชันในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีความรุนแรงของอาการระดับน้อยถึงปานกลางการศึกษาทางคลินิกแบบเปิด (open-label nonrandomized clinical trial) ถึงประสิทธิภาพของขมิ้นชันอนุภาคนาโน (nano-curcumin) ต่อการบรรเทาอาการของโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและมีความรุนแรงของโรคในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง จำนวน 41 ราย แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับซอฟท์เจลแคปซูลขมิ้นชันอนุภาคนาโน (nano-curcumin: Sinacurcumin soft gel ซึ่งประกอบด้วยสารเคอร์คูมินอยด์ในรูป...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของใบกระเจี๊ยบแดง
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของใบกระเจี๊ยบแดงการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีในใบกระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa ) ด้วยเทคนิค HPLC-MS พบว่าประกอบด้วยสารกลุ่ม polyphenols ได้แก่ neochlorogenic acid, chlorogenic acid, cryptochlorogenic acid, caffeoylshikimic acid, quercetin, quercetin glycoside, quercetin-rutinoside , kaempferol, kaempferol glycoside, kaempferol glycoside rhamnosyl รวมทั้งพบสาร 5-(hydroxymethyl)furfural หาปริมาณสารประกอบ phenolic ทั้งหมดอยู่ในช่วง 18.98±2.7 ถึง 29.9...
ผลเพิ่มความไวต่ออินซูอินในหนูอ้วนของสาร
ผลเพิ่มความไวต่ออินซูอินในหนูอ้วนของสาร myricetin จากชะมดต้นในหนูอ้วนที่มีภาวะไขมัน ระดับน้ำตาล และอินซูอินในเลือดสูง เมื่อให้สาร myricetin จากส่วนเหนือดินของชะมดต้น ขนาด 0.3, 0.5 และ 1 มก./กก. โดยการฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ พบว่า myricetin ขนาด 1 มก./กก. มีผลลดระดับน้ำตาลและเพิ่มอินซูลินในเลือดได้ และเมื่อฉีด myricetin ขนาด 1 มก./กก. วันละ 3 ครั้ง แก่หนู เป็นเวลา 1 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับการป้อนยา metformin ซึ่งเป็น insulin sensitizer (320 มก./กก. วันละ 3 ครั้ง) พบว่า myricetin มีผลลดน้ำตาลในเลือดไ...
ยี่หร่ากับฤทธิ์ลดไขมันในหนูขาวที่เป็นเบาหวานจาก
ยี่หร่ากับฤทธิ์ลดไขมันในหนูขาวที่เป็นเบาหวานจาก alloxan ไขมันในเลือดสูงเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน จึงมีการใช้สมุนไพรหลายชนิดเพื่อลดน้ำตาลในเลือด มีการศึกษาถึงบทบาทของยี่หร่าเพื่อใช้ลดไขมันในหนูขาวที่เป็นเบาหวานจากการเหนี่ยวนำด้วย alloxan โดยการทดลองป้อนน้ำสกัดยี่หร่าขนาด 0.25 ก./กก. เป็นเวลานาน 6 สัปดาห์ ผลปรากฏว่า สารสกัดยี่หร่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลและเพิ่ม tatal haemoglobin , glycosylated haemoglobin และยังช่วยป้องกันภาวะน้ำหนักตัวลดลงด้วย นอกจากนี้ยี่หร่ายังมีฤทธิ์ลด cholesterol, p...
ฤทธิ์ต้านการเกิดเม็ดสีของโปรตีนจากรำข้าว
ฤทธิ์ต้านการเกิดเม็ดสีของโปรตีนจากรำข้าวการแยกเปบไทด์จากโปรตีนในรำข้าว (rice bran protein) พบว่าสามารถแยกเปบไทด์ได้ 6 ชนิด โดยมีเปบไทด์ 3 ชนิดที่มี C-terminal เป็นไทโรซีน (tyrosine residue) คือเปบไทด์ CT-1, CT-2 และ CT-3 สามารถยับยั้งปฏิกิริยา monophenolase reactions ของเอนไซม์ tyrosinase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ควบคุมการสร้างเม็ดสีได้อย่างมีนัยสำคัญ และพบว่าเปบไทด์ CT-2 (Leu-Gln-Pro-Ser-His-Tyr) มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเกิดเม็ดสีเมลานิน (melanogenesis) และไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์ เมื่อทำก...
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดถั่วแระต้น
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดถั่วแระต้นสารสกัด 70% เอทานอลของเมล็ดถั่วแระต้น (Cajanus cajan (L) Millsp) เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ด้วยวิธี DPPH (Diphenyl-picrylhydrazyl) radical พบว่าค่าความเข้มข้นที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ครึ่งหนึ่ง (EC50) ) มีค่าเท่ากับ 44.36 มคก./มล. และเมื่อศึกษาฤทธิ์ต้านการเกิดออกซิเดชั่นของไขมัน (lipid peroxidation) พบว่าค่าความเข้มข้นที่มีฤทธิ์ต้านการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันได้ครึ่งหนึ่ง (EC50) มีค่าเท่ากับ 25.97 มคก./มล. ซึ่งฤทธิ์ดังกล่าวอ่อนกว่าสารมาตรฐาน t...
ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของหญ้าแพรกในหนูขาว
ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของหญ้าแพรกในหนูขาวเมื่อป้อนสารสกัดน้ำต้นหญ้าแพรก ขนาด 250, 500 และ 1,000 มก./กก. นน.ตัว ครั้งเดียวให้กับหนูปกติ พบว่าสารสกัดน้ำต้นหญ้าแพรก ขนาด 500 มก./กก.นน.ตัว ให้ผลดีที่สุด คือสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังป้อนสารสกัดน้ำต้นหญ้าแพรก 4 ชม. ได้ 31% ในหนูปกติ และสารสกัดน้ำของต้นหญ้าแพรกในขนาดเดียวกัน (500 มก./กก.นน.ตัว) สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานชนิดปานกลางด้วย streptozotocin (Fasting blood glucose (FBG):120-250 มก./ดล.) ได้ 23% เ...
ฤทธิ์ลดกรดยูริคในเลือดของสารกลุ่ม
ฤทธิ์ลดกรดยูริคในเลือดของสารกลุ่ม lignans จากลูกใต้ใบภาวะกรดยูริคในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคไขข้ออักเสบหรือโรคเกาต์ และเกี่ยวข้องกับโรคอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ความผิดปกติของไต เป็นต้น จึงได้มีการทดลองผลจากลูกใต้ใบในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีภาวะกรดยูริคในเลือดสูงด้วย potassium oxonate และกรดยูริค โดยป้อนหนูขาวด้วยสารสกัดเมทานอลจากใบลูกใต้ใบ ขนาด 100, 200, 500 และ 1,000 มก./กก. นาน 7 วัน พบว่ากรดยูริคในเลือดหนูลดลง 57.08, 59.44, 77.47 และ 83.91% ตามลำดับ ให้ผลคล้ายกับยา allopurinol...