Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ลดการสะสมไขมันในตับของสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง

สารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง (Glycine max L.) ช่วยลดการสะสมไขมันในตับไม่มีสาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease: NAFLD) ในสัตว์ทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไขมันในตับด้วยการกินอาหารไขมันสูง ทำการทดลองโดยแบ่งหนูแรท ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับอาหารไขมันสูงเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 และ 3 ได้รับอาหารไขมันสูงร่วมกับสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองในขนาด วันละ 10 และ 20 มก./กก. ตามลำดับ ติดต่อกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าสารไอโซฟลาโวนสามารถลดการสะสมไขมันในตับได้ ทำให้ระดับเอนไซม์ตับชนิด alanine transaminase (ALT) ลดลง และปรับปรุงโครงสร้างของเซลล์ตับ (liver lobule structure) นอกจากนี้ยังมีผลลดการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างไขมันของร่างกาย ได้แก่ sterol regulatory element binding protein (SREBP1c) และ fatty acid synthase (FAS) ลง ร่วมกับเพิ่มระดับของ peroxisome proliferator activated receptor (PPAR) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมกระบวนการออกซิเดชันของกรดไขมันอิสระ โดยหากเกิดความบกพร่องของ PPAR จะทำให้กระบวนการออกซิเดชันของกรดไขมันเสียไปและเป็นหนึ่งในสาเหตุทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ดังนั้นจากผลการทดลองจึงสรุปได้ว่าสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองสามารถชะลอการเกิดภาวะไขมันพอกตับ โดยกลไกลดการสะสมไขมันผ่านการยับยั้งการสังเคราะห์ไขมันและเพิ่มระดับ PPAR ซึ่งกระตุ้นการเกิดออกซิเดชันของกรดไขมันในตับ



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

94

ฤทธิ์ต้านเบาหวานของกลีเซอไรซินในหนูขาวที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินโดยกรรมพันธุ์
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของกลีเซอไรซินในหนูขาวที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินโดยกรรมพันธุ์ จากการทดลองพบว่า การให้กลีเซอไรซิน กับหนูขาวชนิด Std ddY ทำให้ลดการเพิ่มขึ้นของน้ำตาลในเลือดภายหลังรับประทานอาหารได้ จึงทำการทดสอบประเมินผลการรักษาเบาหวานในระยะยาวของ Grz โดยทดสอบในหนูขาว (KK-Ay) ที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินทางกรรมพันธุ์ แบ่งสัตว์ทดลองเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม กลุ่มให้อาหารที่มี Grz 0.27 % และ 0.41% (ในอาหาร 1กก. มี Grz 2.7 และ 4.1 กรัม ตามลำดับ) หลังจากให้อาหารที่มี Grz ...

618

ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์
ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ lipase จากตับอ่อนของสารโพลีฟีนอลในชาการทดลองในหลอดทดลองพบว่าสารโพลีฟีนอลจากชาขาว ชาเขียว และชาดำมีผลยับยั้งเอนไซม์ lipase (เอนไซม์ย่อยไขมัน) จากตับอ่อน โดยชาขาวมีฤทธิ์ยับยั้งได้มากกว่าชาเขียว และชาดำ เมื่อเปรียบเทียบในขนาดที่มี gallic acid 200 มคก./มล.เท่ากัน โดยค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งเอนไซม์ lipase ได้ 50% (EC50) ของชาขาวและชาเขียวเท่ากับ 22 และ 35 มคก./มล. ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ปริมาณสารโพลีฟีนอลโดยวิธี Liquid chromatography-mass spectrometry (LC-MS) พบว่าชาทั้งสองชนิดมี...

269

Recall
Recall of proprietary Chinese medicine with harmful ingredientกระทรวงสาธารณสุขของฮ่องกง ประกาศเตือนประชาชนไม่ให้ซื้อหรือใช้ยาจีนชื่อ Jie Jie Pills ซึ่งประกอบด้วยสาร Aristolochic acid ที่เป็นสารอันตราย เนื่องจากว่ามีการศึกษาพบว่าการกินสาร aristolochic acid มีความสัมพันธ์กับการเกิดไตวายและมะเร็งในระบบทางเดินปัสสาวะ และกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีสารชนิดนี้มาตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2547 แล้ว นอกจากนี้ได้สั่งให้บริษัท Luen Shing Med. Co. Ltd เรียกเก็บผลิตภัณฑ์ดังกล่าวออกจากท้องตลา...

1433

ฤทธิ์ยับยั้งการลุกลามและการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็งเต้านมของสารสกัดจากใบงาขี้ม้อน
ฤทธิ์ยับยั้งการลุกลามและการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็งเต้านมของสารสกัดจากใบงาขี้ม้อนการศึกษาผลของสารสกัด 70% เอทานอลจากใบงาขี้ม้อน (Perilla frutescens) ในการยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเต้านม ชนิด MDA-MB-231 โดยทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการลุกลาม (cell invasion) และการเคลื่อนที่ (cell migration) ของเซลล์มะเร็ง พบว่าสารสกัดความเข้มข้น 12.5-50 มคก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้งการลุกลามและการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็งได้ โดยมีค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่มีฤทธิ์ยับยั้งได้ร้อยละ50 (IC50) เท่ากับ 24.0±1.2 และมากกว่...

1421

การทดสอบความเป็นพิษและความทนต่อกลูโคสของสารสกัดจากใบมะยม
การทดสอบความเป็นพิษและความทนต่อกลูโคสของสารสกัดจากใบมะยมการศึกษาความเป็นพิษของสารสกัด 80% เอทานอลจากใบมะยมในหนูแรท โดยป้อนสารสกัด ขนาด 1,000, 1,500 และ 2,000 มก./กก. เพียงครั้งเดียว สำหรับความเป็นพิษเฉียบพลัน และป้อนติดต่อกันทุกวันนาน 14 วัน สำหรับความเป็นพิษกึ่งเฉียบพลัน รวมทั้งการทดสอบความทนต่อกลูโคส (oral glucose tolerance test, OGTT) โดยป้อนสารสกัด ขนาด 250 มก./กก. เป็นเวลา 30 นาที ก่อนให้กลูโคส ขนาด 2 ก./กก. ซึ่งวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่เวลา -30, 0, 30, 60, 120 และ 240 นาที เปรียบเทียบกับกลุ...

1145

ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสายน้ำผึ้ง
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสายน้ำผึ้งการศึกษาฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสายน้ำผึ้ง (Lonicera japonica Thunb.) ในหนูแรทที่ป้อนอาหารที่มีไขมันสูงและฉีดสาร streptozotocin เพื่อเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวาน จากนั้นป้อนสารสกัด 70% เอทานอลจากต้นสายน้ำผึ้ง ขนาด 100 มก./กก.น้ำหนักตัว เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดจากต้นสายน้ำผึ้งช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และปรับปรุงภาวะดื้ออินซูลินในหนูที่เป็นเบาหวาน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มน้ำหนักตัว และความอยากอาหารที่ลดลงจากการเกิดเบาหวานให้กลับสู่ค่าปกติ และยังช่วยป้องกันความเสียหายต่อ...

1645

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของมังคุด
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของมังคุดการทดสอบฤทธิ์ของเครื่องดื่มน้ำมังคุด (Garcinia mangostana; mangosteen) เข้มข้นต่อความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและการลดลงของสารแลคเตท (lactate clearance) ในหนูแรทที่ออกกำลังกายโดยการวิ่ง โดยแบ่งหนูแรท 40 ตัวออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ไม่ได้รับสารใด ๆ กลุ่มควบคุม และกลุ่มที่ได้รับน้ำมังคุดขนาด 0.9, 4.5 และ 9 มล./วัน ตามลำดับ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ และกำหนดให้หนูออกกำลังกายด้วยการวิ่งบนลู่วิ่ง 30 นาที ผลจากการวิเคราะห์ค่า lactate, triglyceride, cholesterol, glucos...

936

ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัด
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัด Ethyl Acetate จากเมล็ดของสมุนไพรราชดัดการแพทย์แผนจีนมีการใช้เมล็ดของราชดัดในการรักษาโรคต่างๆได้แก่ ภาวะการอักเสบ โรคบิด ไข้มาลาเรีย และมะเร็ง แต่อย่างไรก็ตามฤทธิ์ต้านการอักเสบของราชดัดนั้นยังไม่เป็นที่ชัดเจน การศึกษานี้จึงเป็นการทดสอบฤทิ์ต้านการอักเสบของสารสกัด Ethyl Acetate จากเมล็ดของราชดัดในหลอดทดลองและในร่างกายหรือเซลล์ โดยการประเมินสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบได้แก่ Nitric Oxide (NO), Prostaglandin2(PGE2), Tumor Necrosis Factor-Alpha (TNF-α) และ Inte...

1567

การศึกษาทางคลินิกผลของแบล็คเคอร์แรนต์ต่อสภาวะอารมณ์และคลื่นสมอง
การศึกษาทางคลินิกผลของแบล็คเคอร์แรนต์ต่อสภาวะอารมณ์และคลื่นสมองการศึกษาทางคลินิก (randomized, double-blind and placebo controlled crossover) ในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 9 คน ทั้งเพศหญิงและชาย อายุเฉลี่ย 23 ปี โดยให้ดื่มน้ำคั้นแบล็คเคอร์แรนต์ (Ribes nigrum L.; blackcurrant) ที่อุดมไปด้วยสารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) และสารประกอบโพลีฟีนอล (polyphenols) 500 มก. เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและวิตามินซี หลังจากนั้นสลับการทดสอบ โดยมีระยะพัก (washout period) อย่างน้อย 5 วัน...