Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ของสารสกัดจากชาเขียวในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์

การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากชาเขียวในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ น้ำหนักเกินและไม่มีประวัติเบาหวานร่วมด้วย ทำการศึกษาด้วยการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้รับประทานแคปซูลสารสกัดจากชาเขียว ขนาด 500 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 12 สัปดาห์ กลุ่มที่สอง ได้รับยาหลอก เป็นกลุ่มควบคุม ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากชาเขียว สามารถลดน้ำหนักตัว ลดระดับดัชนีที่คำนวณจากการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลกลูโคส (HOMA-IR) ลดระดับเอนไซม์ alanine aminotransferase และ aspartate aminotransferase และลดระดับไขมันในเลือดชนิดต่างๆ ได้แก่ คอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอลชนิด LDL อย่างมีนัยสำคัญ ควบคู่กับการเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิด HDL เมื่อทำการตรวจสอบโดยการอัลตราซาวน์พบว่าการสะสมไขมันในตับของกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากชาเขียวลดลงกว่า 67% ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาหลอกพบการเปลี่ยนแปลงเพียง 25% แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากชาเขียวมีผลต่อเมตาบอลิสม ระดับค่าทางชีวเคมีในเลือด ในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ น้ำหนักเกินและไม่มีประวัติเบาหวานร่วมด้วย

Pak J Med Sci. 2017;33(4):931-6.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1133

ฤทธิ์ต้านภาวะโรคไตที่เกิดจากเบาหวานของสาร
ฤทธิ์ต้านภาวะโรคไตที่เกิดจากเบาหวานของสาร thymoquinone จากเมล็ดเทียนดำการศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะโรคไตที่เกิดจากเบาหวานของสาร thymoquinone (TQ) จากเมล็ดเทียนดำ(Nigella sativa ) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยการฉีดสาร streptozotocin (STZ) ขนาด 60 มก./กก. น้ำหนักตัว เข้าทางช่องท้อง พบว่าการป้อนสาร TQ วันละ 50 มก./กก. น้ำหนักตัว ติดต่อกันนาน 8 สัปดาห์ มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดหนูลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับสาร TQ และผลจากการตรวจวิเคราะห์เซลล์ไตด้วยเทคนิค immunohistochemical ...

739

ผลต่อการเพิ่มภูมิต้านทานของสารสกัดจากใบกะเพราในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี
ผลต่อการเพิ่มภูมิต้านทานของสารสกัดจากใบกะเพราในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีการศึกษาแบบข้ามกลุ่มแบบอำพรางทั้งสองฝ่าย (double blind crossover) ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี จำนวน 22 คน อายุระหว่าง 18 - 60 ปี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่1 รับประทานสารสกัด 70% เอทานอลของใบกะเพราชนิดแคปซูล ขนาด 300 มก./วัน ในขณะท้องว่าง นาน 4 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 รับประทานยาหลอกซึ่งเป็นน้ำเชื่อมที่มีลักษณะและขนาดเท่ากัน จากนั้นทำการสลับกลุ่มโดยมีช่วงหยุดพัก 3 สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดเอทานอลของใบกะ...

633

การใช้หอมแดงรักษาหวัด
การใช้หอมแดงรักษาหวัดการศึกษาการใช้หอมแดงรักษาหวัดในกลุ่มเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 3 ปี จำนวน 20 คน โดยนำหอมแดงแห้ง 3 - 4 หัว มาปอกเปลือกตัดรากทำความสะอาด ทุบหรือตำให้หยาบแล้วใช้ผ้าบางๆ ห่อเป็นกระจุก นำมาประคบหรือสุมไว้ตรงกระหม่อมเด็ก หรือวางไว้ห่างๆ เวลาเด็กนอน เพื่อสูดดมไอระเหยเข้าไปทางลมหายใจ เปรียบเทียบผลกับเด็กที่ใช้ยา chlorpheniramine syrup พบว่าหอมแดงสามารถรักษาหวัดในเด็กได้ดี ผู้ปกครองของเด็กมีความพึงพอใจ ร้อยละ 95.2 และไม่ปฏิเสธการรักษา ทำให้ลดต้นทุนการสั่งซื้อยารักษาโรคหวัดได้ คิดเป็นร้อยละ...

286

ฤทธิ์แก้แพ้ของสารสกัดที่ได้จากเปลือกของต้นขันทองพยาบาท
ฤทธิ์แก้แพ้ของสารสกัดที่ได้จากเปลือกของต้นขันทองพยาบาทสกัดสารจากเปลือกของต้นขันทองพยาบาทด้วยไดคลอโรมีเทน แล้วมาแยกสารให้บริสุทธิ์ พบสารไดเทอร์ปีน 7 ชนิด คือ ent -kaurene-3β,15β,18-diol, ent -3-oxo-16-kaurene-15β,18-diol, ent -16-kaurene-3β,15β-diol, abbeokutone, helioscopinolide A, helioscopinolide C และ helioscopinolide I นำสารแต่ละชนิดมาทดสอบฤทธิ์แก้แพ้ พบว่าสารทั้งหมดมีฤทธิ์ยับยั้งการปล่อยเอนไซม์ β-Hexosaminidase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ถูกปล่อยออกมาเมื่อกระตุ้นให้เ...

1078

ฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมาและเชื้อมาลาเรียของโหระพาช้าง
ฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมาและเชื้อมาลาเรียของโหระพาช้างการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมา (Trypanosoma brucei brucei ) เชื้อมาลาเรีย (Plasmodium falciparum ) รวมทั้งความเป็นพิษต่อเซลล์ของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดเอทานอลจากส่วนใบ ลำต้น และเมล็ดของโหระพาช้าง (Ocimum gratissimum Linn) พบว่าน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดเอทานอลมีฤทธิ์ต้านเชื้อทั้งสองชนิด แต่มีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเลียค่อนข้างต่ำ (IC50 >40 มคก./มล.) โดยสารสกัดเอทานอลจากส่วนใบจะมีฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมาดีที่สุด (IC50 = 1.66 ± 0.48 มคก....

287

สาร
สาร 3-O - β -D-Glucosyl-kaempferol จากผักหวานบ้านมีฤทธิ์ช่วยลดน้ำหนักในหนูทดลองป้อนสาร 3-O - β -D-Glucosyl-(1→6)-β -D-glucosyl-kaempferol (GKK) ที่สกัดได้จากกิ่งอ่อนและใบของต้นผักหวานบ้าน ให้หนูปริมาณ 60 มก./กก. เป็นเวลา 28 วัน พบว่าหนูที่ได้รับสารดังกล่าวมีการกินอาหารน้อยลงถึง 15% เมื่อเปรียบเทียบกับหนูปกติ ทำให้หนูมีน้ำหนักน้อยลง ผลการลดน้ำหนักยังสามารถเห็นได้ในหนูที่ได้รับ GKK เพียง 6 มก./กก. นอกจากนี้ในหนูที่กินอาหารที่มีไขมันสูง เมื่อได้รับ GKK ทั้งสองความเข้มข้นจะทำให้...

897

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในมันฝรั่ง
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในมันฝรั่ง และฤทธิ์ลดความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงการศึกษาในผู้ที่มีสุขภาพดี 8 คน โดยให้รับประทานมันฝรั่งขนาดเล็กอบด้วยไมโครเวฟทั้งผิว 6-8 ลูก (ประมาณ 138 กรัม) ครั้งเดียว เปรียบเทียบกับผู้ที่รับประทานคุกกี้มันฝรั่งในปริมาณที่เท่ากัน พบว่ามันฝรั่งอบช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในเลือดและในปัสสาวะ ในขณะที่กลุ่มที่รับประทานคุกกี้มันฝรั่งลดสารต้านอนุมูลอิสระในเลือดและในปัสสาวะ จากนั้นได้ทำการศึกษาแบบข้ามกลุ่มต่อในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 18 คน โดยให้รับประทานมันฝรั่งม...

507

สารสกัดใบมะรุมลดระดับน้ำตาลในเลือด
สารสกัดใบมะรุมลดระดับน้ำตาลในเลือดการศึกษาฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดและฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดใบมะรุมด้วยน้ำ โดยการป้อนสารสกัดมะรุมด้วยน้ำขนาด 100, 200 และ 300 มก./กก. ให้หนูแรทปกติและหนูแรทซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยการฉีดสาร streptozotocin (STZ) ขนาด 55 มก./กก. เข้าภายในช่องท้อง โดยแบ่งระดับความรุนแรงในการเป็นเบาหวาน 3 กลุ่ม ได้แก่ ระดับเกือบเป็นเบาหวาน (sub diabetic), เป็นเบาหวานอย่างอ่อน (mild diabetic) และเป็นเบาหวานขั้นรุนแรง (severely diabetic) หลังจากนั้นตรวจระดับน้ำตาลในเลือด...

177

ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและฤทธิ์ลดการอักเสบของลูกใต้ใบ
ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารและฤทธิ์ลดการอักเสบของลูกใต้ใบ เมื่อนำสารสกัดเมทานอลของส่วนที่อยู่เหนือดินของลูกใต้ใบมาทดสอบในขนาด 50, 200 และ 1,000 มก./กก. พบว่ายับยั้งการเกิดแผลซึ่งเหนี่ยวนำโดย absolute ethanol พบว่าอัตราการตายลดลง น้ำหนักกระเพาะเพิ่ม การเกิดแผลและเลือดออกในกระเพาะลดลง โดยกระบวนการออกฤทธิ์เกิดจากไปยับยั้ง glutathione ของเนื้อเยื่อบุกระเพาะ ทั้งสารสกัดด้วยน้ำและเมทานอลยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอาจเกิดจาก tannin J Ethnopharmacol 2003;87:193-7 ...