-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านเชื้อราของสารสกัดจากผักบุ้งไทยพันธุ์ก้านแดง
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านเชื้อราของสารสกัดจากผักบุ้งไทยพันธุ์ก้านแดง
การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อราของสารสกัด 95% เมทานอลจากยอดและดอกของผักบุ้งไทยพันธุ์ก้านแดงทั้งแบบสดและแห้ง โดยทดสอบในเชื้อราโรคกลาก 3 สายพันธุ์ (Tricophyton rubrum, Epidermophyton floccosum และ Microsporum gypseum) และโรคเกลื้อน 2 สายพันธุ์ (Malassezia furfur และ M. globosa) พบว่าสารสกัดจากยอดแห้งและดอกแห้งสามารถยับยั้งเชื้อ T. rubrum, E. floccosum, M. gypseum และ M. globosa ได้ สารสกัดจากยอดสดสามารถยับยั้งเชื้อ E. floccosum และ M. globosa ส่วนสารสกัดจากดอกสดสามารถยับยั้งได้เพียงเชื้อ E. floccosum เท่านั้น อย่างไรก็ตามสารสกัดทั้ง 4 ชนิด ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ M. furfur ซึ่งค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดทั้ง 4 ชนิดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ (minimal inhibitory concentration; MIC) อยู่ในช่วง 25-50 มก./มล. ยกเว้นเชื้อ M. globosa ที่มีค่า MIC มากกว่า 50 มก./มล. สรุปได้ว่าสารสกัดจากยอดแห้งและดอกแห้งของผักบุ้งไทยพันธุ์ก้านแดงมีฤทธิ์ดีที่สุดในการยับยั้งเชื้อราโรคกลากและเกลื้อนในหลอดทดลอง
Thai Pharm Health Sci J 2018;13(2):75-79.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ผลทางคลินิกเบื้องต้นของมะแว้งเครือในผู้ป่วยหอบหืด
ผลทางคลินิกเบื้องต้นของมะแว้งเครือในผู้ป่วยหอบหืด การศึกษาทางคลินิกเบื้องต้นเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของมะแว้งเครือ (Solanum trilobatum L.) ในผู้ป่วยหอบหืดที่มีอาการระดับอ่อนถึงปานกลาง โดยให้ในรูปผงขนาด 300 มิลลิกรัม รับประทานครั้งเดียวพบว่ามีผลเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบหายใจของผู้ป่วยและไม่พบผลข้างเคียงแต่ประสิทธิภาพนี้ต่ำกว่า ซาลบิวทามอล (salbutamol) 4 มิลลิกรัม และ deriphylline 200 มิลลิกรัมJ Ethnopharmacol 1999;66:205-10 ...
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสาบเสือ
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสาบเสือการทดสอบฤทธิ์ในต้านการอักเสบของสารสกัด 70% เอทานอล และสารสำคัญที่พบในใบสาบเสือ ได้แก่ scutellarein tetramethyl ether, stigmasterol และ isosakuranetin ในเซลล์ macrophages RAW 264.7 ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยสารไลโปโพลีแซคคาไรด์ พบว่าสารสกัด ความเข้มข้น 684 มคก./มล. สาร scutellarein tetramethyl ether ความเข้มข้น 50 และ 100 ไมโครโมล และ stigmasterol ความเข้มข้น 50 ไมโครโมล มีผลต้านการอักเสบได้ โดยลดระดับและลดการแสดงออกของยีนของเอนไซม์ cyclooxygenase-2 (COX-2) และ inducible nitr...
ฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์ของโสม
ฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์ของโสม สารประกอบ acetylenic 16 ชนิด ได้แก่ panaxynol , panaxydol , panaxydol chlorohydrin , panaxytriol , panaxyne epoxide , ginsenoynes A , C , D, E , H , I , J , K , panaxynol linoleate , panaxydol linoleate , ginsenoyne A linoleate ซึ่งแยกได้จากรากโสม ( Panax ginseng CA. Meyer ) แสดงฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของหนูและคนในหลอดทดลอง ( in vitro ) และพบว่าสาร panaxydol มีฤทธิ์แรงกว่า 5-fluorourasil และ ci...
ฤทธิ์ปกป้องตับและต้านออกซิเดชันของเห็ดหลินจือในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี
ฤทธิ์ปกป้องตับและต้านออกซิเดชันของเห็ดหลินจือในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีการศึกษาแบบสุ่มปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย และข้ามกลุ่ม (double blind placebo-controlled crossover study) ในอาสาสมัครสุขภาพดี จำนวน 42 คน เป็นผู้ชาย 22 คน ผู้หญิง 20 คน อายุระหว่าง 40-54 ปี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละเท่าๆ กัน กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานเห็ดหลินจือชนิดแคปซูลวันละ 1 แคปซูล (ขนาด 225 มก. ประกอบด้วย สารไตรเทอร์พีนอยด์ (triterpenoids) 7% ได้แก่ ganoderic acids A-G และโพลีแซคคาไรด์ 6%) หลังอาหารกลางวันและอาหารเย็น กลุ่มที่ 2 ให้รั...
ฤทธิ์ปกป้องกล้ามเนื้อหัวใจของสาร
ฤทธิ์ปกป้องกล้ามเนื้อหัวใจของสาร allicin ในหนูแรทที่เป็นเบาหวานการทดสอบฤทธิ์ปกป้องกล้ามเนื้อหัวใจของสาร allicin (AL) จากกระเทียมในหนูแรทที่เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยการฉีดสาร streptozotocin (STZ) เข้าทางช่องท้องของหนูแรทขนาด 40 มก./กก. โดยฉีดหนูด้วยสาร AL เข้าทางช่องท้องในขนาด 4 มก./กก., 8 มก./กก. และ 16 มก./กก. ทุกวัน เป็นเวลา 28 วัน หลังจากเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานแล้ว 3 วัน พบว่า สาร AL ที่ทุกขนาด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของหนูแรทลดลง โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ น้ำหนักตัวที่ลดลงจากภาวะเบ...
ฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องเดินของสารสกัดรากสบู่ดำ
ฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องเดินของสารสกัดรากสบู่ดำ จากการทดลองในหนูขาวที่ทำให้เกิดอาการท้องเดินด้วยน้ำมันละหุ่ง พบว่าสารสกัด methanol จากรากของสบู่ดำ (Jatropha curcus L.) แสดงฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องเดิน โดยขนาดของสารสกัดที่ให้ผลอย่างมีนัยสำคัญคือมากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวคาดว่ากลไกการออกฤทธิ์เกิดจากการยับยั้งการสร้าง prostaglandin และฤทธิ์ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็กJ Ethnopharmacol 2000;70:183-7 ...
ฤทธิ์ของสารสกัดจากชาเขียวในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์
ฤทธิ์ของสารสกัดจากชาเขียวในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากชาเขียวในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ น้ำหนักเกินและไม่มีประวัติเบาหวานร่วมด้วย ทำการศึกษาด้วยการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้รับประทานแคปซูลสารสกัดจากชาเขียว ขนาด 500 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 12 สัปดาห์ กลุ่มที่สอง ได้รับยาหลอก เป็นกลุ่มควบคุม ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากชาเขียว สามารถลดน้ำหนักตัว ลดระดับดัชนีที่คำนวณจากการทดสอบความท...
ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดน้ำจากใบอ้อย
ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดน้ำจากใบอ้อยสารสกัดน้ำจากใบอ้อย ความเข้มข้น 1 - 10 มก./แผ่น มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ในเชื้อ Salmonella typhimurium TA98 และ TA100 ที่เหนี่ยวนำด้วยสารก่อกลายพันธุ์ benzo[a]-pyrene และ N-methyl-N′-nitrosoguanidine ได้ สารสกัดที่ความเข้มข้น 0.05 - 0.4 มก./มล. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อวัดโดยดูจากการจับอนุมูลอิสระซูเปอร์ออกไซด์ (superoxide) และไนตริกออกไซด์ (nitric oxide) ความสามารถในการรีดิวซ์ (reducing power) ของสารสกัด และการต้านการเกิด lipid pe...
คุณสมบัติป้องกันผลข้างเคียงจากยารักษาโรคลมชักของพรมมิ
คุณสมบัติป้องกันผลข้างเคียงจากยารักษาโรคลมชักของพรมมิ ผู้ป่วยโรคลมชักมักมีปัญหาการเรียนรู้และความจำ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากพยาธิสภาพของโรคเอง และจากยาที่ใช้รักษา การทดลองให้ยารักษาโรคลมชัก เฟนิโตอิน (phenytoin) แก่หนูถีบจักรในขนาด 25 มก./กก. น้ำหนักตัว ติดต่อกันนาน 14 วัน มีผลลดการเรียนรู้และความจำ แต่เมื่อให้สารสกัดอัลกอฮอล์จากพรมมิ (Bacopa monnieri Pennell) ร่วมด้วยทุกวันในขนาด 40 มก./กก. น้ำหนักตัว โดยให้ตลอดสัปดาห์ที่สองของการให้ยาเฟนิโตอิน...