Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ลดไขมันในเลือดของสารสกัดน้ำจากเอื้องหมายนา

การศึกษาฤทธิ์ลดไขมันในเลือดของสารสกัดน้ำจากส่วนเหนือดินของเอื้องหมายนา (Costus speciosus) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงด้วยยา propylthiouracil ขนาด 0.01% โดยผสมในน้ำดื่มเป็นเวลา 14 วัน จากนั้นให้สารสกัดขนาด 50, 100 และ 200 มก./กก. เป็นเวลา 14 วัน เปรียบเทียบระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและจุลพยาธิวิทยาของตับกับหนูกลุ่มที่ได้รับยาลดไขมันในเลือด simvastatin ขนาด 7.2 มก./กก. หนูกลุ่มควบคุม และหนูปกติ (normal control) ผลการทดลองพบว่าสารสกัดขนาด 50, 100 มก./กก. ไม่สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและไม่สามารถปกป้องตับ ซึ่งพบเซลล์บวมน้ำขนาดใหญ่และพบไขมันแทรกระหว่างเซลล์ตับในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดขนาด 50 และ 100 มก./กก. ตามลำดับ ส่วนสารสกัดขนาด 200 มก./กก. สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้เทียบเท่ากับยา simvastatin 7.2 มก./กก. และเซลล์ตับไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยา โดยพบว่ามีลักษณะเช่นเดียวกับกลุ่มหนูปกติ

TJPS 2018;42(2):66-8.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

626

พิษต่อเซลล์มะเร็งของสารสกัดจากใบส้มโอ
พิษต่อเซลล์มะเร็งของสารสกัดจากใบส้มโอเมื่อนำสารสกัดเฮกเซน, คลอโรฟอร์ม, เอทิลอะซีเตท, บิวทานอล และน้ำจากใบส้มโอ ความเข้มข้น 50, 100, 200 มคก./มล. ทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง 5 ชนิด ได้แก่ เซลล์มะเร็งปอด NCI-H460, เซลล์มะเร็ง neuroblastoma SK-N-H460, เซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ HCT-15, เซลล์มะเร็งปากมดลูก Hela และเซลล์มะเร็งเต้านม MCF-7 พบว่าสารสกัดคลอโรฟอร์มมีฤทธิ์ดีที่สุด โดยมีค่า IC50 ต่อเซลล์มะเร็งทั้ง 5 ชนิด เท่ากับ 81.18, 129.56, 114.94, 56.54 และ 176.93 มคก./มล ตามลำดับ แต่ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ปกต...

725

ฤทธิ์ของสารสกัดจากใบมะรุมต่อการยับยั้งการแพร่กระจายและเหนี่ยวนำให้เกิดการตายแบบ
ฤทธิ์ของสารสกัดจากใบมะรุมต่อการยับยั้งการแพร่กระจายและเหนี่ยวนำให้เกิดการตายแบบ apoptosis ของเซลล์มะเร็งสารสกัดน้ำ ความเข้มข้น 25 - 200 มคก./มล. จากใบมะรุมมีฤทธิ์ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง KB ได้ โดยการยับยั้งเพิ่มขึ้นตามขนาดความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น สารสกัดมีผลเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็งแบบ apoptosis โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเซลล์ ได้แก่ เซลล์หดตัวเล็กลง หลุดออกจากพื้นผิวง่าย ผนังเซลล์เป็นตุ่ม ดีเอ็นเอหนาแน่น เกิดการแตกของดีเอ็นเอ และเพิ่มการสร้างอนุมูลอิสระ (reactiv...

246

ฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทจากสารสกัดจากหญ้าคา
ฤทธิ์ปกป้องเซลล์ประสาทจากสารสกัดจากหญ้าคา สารสกัดเมทานอลจากรากหญ้าคา ได้แก่ 5-hydroxy-2-(2-phenylethyl) chromone, 5-hydroxy-2-[2-(2-hydroxyphenyl) ethyl] chromone, flidersiachromone และ hydroxy-2-styrylchromone ความเข้มข้น 10 mM (ไมโครโมล) เมื่อนำไปทดสอบกับเซลล์เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทของหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดพิษด้วยสาร glutamate พบว่าสาร 5-hydroxy-2(2-phenylethy) chromone และ 5-hydroxy-2-[2-(2-hyroxyphenyl) ethyl] chromone สามารถป้องกันการเกิดพิษต่อเซลล์เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทได้ J Nat Prod 2006...

781

ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดมะเร็งและปรับภูมิต้านทานของสาร
ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดมะเร็งและปรับภูมิต้านทานของสาร polysaccharides จากหญ้าต้มต๊อกสาร polysaccharides ส่วนที่สกัดโดยใช้น้ำ (water-extractable fraction) และส่วนที่สกัดโดยใช้ด่าง (alkali-extractable fraction) จากหญ้าต้มต๊อก (Solanum nigrum L.) ได้แก่ SNLWP และ SNLAP ตามลำดับ นำมาสกัดแยกต่อด้วยวิธี ตกตะกอนด้วยเอทานอล (ethanol precipitation), ไดอะไลซิส (Dialysis), anion-exchange และ gel filtration chromatography ได้เป็นสารย่อย 4 ชนิดคือ SNLWP-1, SNLWP-2, SNLAP-1 และ SNLAP-2 นำสารดังกล่าวมาทดสอบฤท...

263

สารออกฤทธิ์ยับยั้งพรอสตาแกลนดินจากหญ้าหัวโต
สารออกฤทธิ์ยับยั้งพรอสตาแกลนดินจากหญ้าหัวโต สาร diterpenes จากสารสกัดจากทั้งต้นของหญ้าหัวโต มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ พรอสตาแกลนดินอี 1 (PGE1) และพรอสตาแกลนดินอี 2 (PGE2) ที่เหนี่ยวนำให้เกิดการหดตัวของลำไส้เล็กหนูตะเภา สารที่ออกฤทธิ์ดีที่สุดคือ leucasperoside B สามารถยับยั้งทั้ง PGE1 และ PGE2 ด้วยความเข้มข้น 16 และ 48 โมโครโมลตามลำดับ สาร leucasperones A และ leucasperoside A ยับยั้ง PGE ทั้ง 2 ชนิดเช่นกันด้วยความเข้มข้น 126 และ 76 ไมโครโมล ตามลำดับ ขณะที่สาร linifolioside ยับยั้งเฉพาะ PGE1 ...

410

ชาดำลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
ชาดำลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงNutritional Research 2008;28:450-6 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

887

ฤทธิ์ลดวามเครียดของสารสกัดจากโหระพาช้าง
ฤทธิ์ลดวามเครียดของสารสกัดจากโหระพาช้างการทดสอบผลของสารสกัด 95% เอทานอลจากส่วนเหนือดินของโหระพาช้างต่อการลดความเครียดในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความเครียดด้วยการแช่ในน้ำเย็น อุณหภูมิ 10 C นาน 1 ชม. โดยป้อนด้วยสารสกัด ขนาด 250 500 และ 1,000 มก./กก. เป็นเวลา 7 วัน ก่อนเหนี่ยวนำให้หนูเกิดความเครียด เปรียบเทียบผลกับหนูในกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับยา diazepam ขนาด 5 มก./กก. พบว่าสารสกัดจากโหระพาช้าง ขนาด 1,000 มก./กก. จะให้ผลดีที่สุดในการลดความเครียด โดยทำให้ระดับของสาร cortisol (ซึ่งหลั่...

244

ฤทธิ์ต้านการชักของน้ำมันหอมระเหยยี่หร่า
ฤทธิ์ต้านการชักของน้ำมันหอมระเหยยี่หร่า น้ำมันหอมระเหยยี่หร่า (Cuminum cyminum Linn., APIACEAE) ที่ได้จากการกลั่นด้วยน้ำ ขนาดความเข้มข้น 1% และ 3% v/v มีฤทธิ์ต้านการชักและป้องกันการชัก ที่เหนี่ยวนำโดยสาร pentylenetetrazol (PTZ) ในการทดลองต่อเยื่อบุของ F1 neurones ของ sub-oesophageal ganglia ของหอยทากอิหร่าน ซึ่งเป็นการศึกษาในหลอดทดลอง J Ethnopharmacology 2006; 104: 278-282. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลั...

1662

ผลของสารสกัดหญ้าฝรั่นต่อคุณภาพการนอนหลับ
ผลของสารสกัดหญ้าฝรั่นต่อคุณภาพการนอนหลับการศึกษาทางคลินิกแบบปกปิดสองทาง มีการสุ่ม มียาหลอกเป็นกลุ่มควบคุมแบบคู่ขนาน (double-blind, randomized, placebo-controlled parallel study) เพื่อศึกษาผลของการได้รับสารสกัดหญ้าฝรั่น (Crocus sativus L.) ต่อคุณภาพการนอนหลับ ในอาสาสมัครจำนวน 66 คน อายุระหว่าง 25-70 ปี และมีความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับ (chronic primary sleep disorder) ในระดับอ่อนถึงปานกลาง (มีค่า Insomnia Severity Index ระหว่าง 7 และ 21) ร่วมกับมีอาการของโรควิตกกังวล (anxiety) ในระดับอ่อนถึงปาน...