Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ลดความดันโลหิตของชาเขียว

ศึกษาฤทธิ์ลดความดันโลหิตของชาเขียวในอาสาสมัครเพศหญิงที่มีภาวะอ้วนและมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 20 คน (อายุเฉลี่ย 41.1 ± 8.4 ปี) โดยแบ่งอาสาสมัครเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานแคปซูลสารสกัดชาเขียวขนาด 500 มก. (มีปริมาณสารโพลีฟีนอล 260 มก.) วันละ 3 แคปซูล นานติดต่อกัน 4 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 ให้รับประทานยาหลอก (placebo) จากนั้นเว้นช่วงระหว่างการทดลอง 2 สัปดาห์ (wash out period) แล้วสลับกลุ่มการทดลอง และให้รับยาในขนาดและระยะเวลาเช่นเดียวกับการทดลองช่วงแรก ก่อนเริ่มและสิ้นสุดการทดลองวัดค่าความดันโลหิต ประเมินการทำงานของเยื่อบุชั้นในของหลอดเลือด (endothelial function) และเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจวิเคราะห์ค่าทางชีวเคมีต่างๆ ได้แก่ lipid profil กลูโคสและอินซูลิน สารบ่งชี้ของการอักเสบ ผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มสารสกัดชาเขียวมีค่าความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure) ที่ 24 ชั่วโมง ช่วงเวลากลางวัน (06.00-18.00 hours) และช่วงเวลากลางคืน (18.00-06.00 hours) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มยาหลอก ส่วนความดันโลหิตช่วงหัวใจคลายตัว (diastolic blood pressure) มีค่าลดลงเช่นกัน แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก และพบว่าสารสกัดชาเขียวไม่มีผลเปลี่ยนแปลงค่าทางชีวเคมีอื่นๆและไม่มีผลต่อทำงานของเยื่อบุชั้นในของหลอดเลือด จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การรับประทานสารสกัดชาเขียวทุกวันเป็นระยะเวลาสั้นๆ (4 สัปดาห์) อาจช่วยลดความดันโลหิตได้ในหญิงอ้วนที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูง

J Am Coll Nutr. 2017; 36(2): 108-115.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

135

การเหนี่ยวนำapoptosisของ
การเหนี่ยวนำapoptosisของ WBC 2สายพันธุ์ในคนโดยใช้ ar-turmerone จากขมิ้นชัน ar-turmerone จากขมิ้นชัน บน DNA ของเซลล์เม็ดเลือดขาวสายพันธุ์ Molt 4B, HL-60 และเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร KATO III พบว่า ar-turmerone เหนี่ยวนำ apoptosisในเซลล์เม็ดเลือดขาวสายพันธุ์ Molt 4B และ HL-60 แต่ไม่เหนี่ยวนำในเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร KATO III โครงสร้างของ apoptosis เปลี่ยนในเซลล์เม็ดเลือดขาวสายพันธุ์ Molt 4B และ HL-60 เมื่อให้ ar-turmerone DNA ถูกแยกชิ้นส่วนเป็น oligonucleosome ดูได้จากค่าความเข้มข้นแล...

270

ฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง
ฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง melanin ของสาร artocarpanone จากขนุนสาร artocarpanone ที่แยกได้จากเปลือกต้นขนุน สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ tyrosinase และการสร้าง melanin ในเซลล์ B16 melanoma ได้ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 80.8 และ 89.1 μM ซึ่ง artocarpanone จะมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ดีกว่าสาร arbatin แต่อ่อนกว่ากรด kojic แต่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง melanin ดีกว่าสารทั้ง 2 ชนิดนี้ และพบว่า artocarpanone มีความเป็นพิษต่อเซลล์ B16 melanoma ต่ำ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธ...

1041

ชาอู่หลงลดความเสี่ยงการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
ชาอู่หลงลดความเสี่ยงการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงBr J Nutr 2014; 111(8): 1421-9 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

1009

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อจุลชีพของสะตอ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อจุลชีพของสะตอการศึกษาสารสำคัญและฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อจุลชีพของสารสกัดจากฝักสะตอ 2 ชนิด ได้แก่ สะตอข้าว และสะตอดาน พบว่าสะตอดานจะมีปริมาณของสารฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์สูงกว่าสะตอข้าว สารสกัด 50% เอทานอลจากฝักสะตอทั้ง 2 ชนิด มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH, ABTS และ metal ion chelating assay โดยสารสกัดจากสะตอข้าวจะมีฤทธิ์ดีกว่า นอกจากนี้สารสกัดทั้งสองยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในอาหาร (Bacillus cereus, Escherichia coli, Listeri...

870

สารสกัดจากดอกลำไยกับฤทธิ์ในการปกป้องระบบประสาท
สารสกัดจากดอกลำไยกับฤทธิ์ในการปกป้องระบบประสาทการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดน้ำจากดอกลำไย พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ในสมองหนู เมื่อทดลองในหลอดทดลอง โดยมีฤทธิ์ดีกว่ากลูตาไธโอน และ Trolox ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และในหนูแรทที่ได้รับสารสกัดน้ำจากดอกลำไย ขนาด 500 มก./วัน เป็นเวลา 7 วัน จะพบการเกิด lipid peroxidation ในสมองน้อยกว่าหนูที่ไม่ได้รับสารสกัด สำหรับการทดสอบผลในการปกป้องระบบประสาท โดยป้อนหนูด้วยสารสกัด ขนาด 125 250 และ 500 มก./กก. เป็นเวลา 1 ชม. ก่อนเห...

819

การศึกษาทางคลินิกถึงศักยภาพของเห็ดหลินจือในการป้องกันการเป็นโรคหัวใจ
การศึกษาทางคลินิกถึงศักยภาพของเห็ดหลินจือในการป้องกันการเป็นโรคหัวใจการศึกษาในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิต และไขมันในเลือดสูง (systolic blood pressure 130-150 mmHg, diastolic blood pressure 85-100 mmHg, คอเลสเตอรอลรวมมากกว่า 232 มก./ดล.) จำนวน 23 คน ทำการศึกษาแบบสุ่มและข้ามกลุ่มเปรียบเทียบกับยาหลอก นานทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ (ช่วงละ 4 สัปดาห์ รวมช่วงหยุดพัก) โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานสารสกัดเห็ดหลินจือ ชนิดแคปซูลครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง (1 แคปซูลมีสารสกัดเห็ดหลินจือ 36...

1117

ฤทธิ์ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารของขึ้นฉ่าย
ฤทธิ์ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารของขึ้นฉ่ายการศึกษาฤทธิ์ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัด 96% เอทานอลจากส่วนเหนือดินของขึ้นฉ่าย (Apium graveolens L.) ในหนูแรท พบว่าการให้หนูกินสารสกัดขึ้นฉ่ายสามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารจากการเหนี่ยวนำด้วยยา indomethacin ได้ โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดของสารสกัดที่ให้ และสารสกัดที่ขนาด 250 และ 500 มก./กก. สามารถลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารจากการเหนี่ยวนำด้วยแอลกอฮอล์และด่างแก่ได้ โดยที่ขนาด 500 มก./กก. สามารถลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารในอย่าง...

1250

ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตำรับยาเลือดงาม และส่วนประกอบในตำรับตำรับยาเลือดงาม เป็นยาที่ใช้ในการรักษาอาการปวดเวลามีประจำเดือนของเพศหญิง (ประกอบด้วย หัวกระเทียม เมล็ดเร่ว โกฐจุฬาลำพา (ทุกส่วน) เหง้ากระชาย ใบมะนาว ผิวมะกรูด ตะไคร้หอม (ทุกส่วน) รากชะเอมเทศ สะระแหน่ (ทุกส่วน) เมล็ดจันทน์เทศ ใบกะเพรา เปลือกเพกา เมล็ดพริกไทย ดอกดีปลี ช้าพลู (ทุกส่วน) รากเจตมูลเพลิงแดง ดอกกานพลู เหง้าไพล เหง้าขิง เหง้ากะทือ) เมื่อนำตำรับยา และส่วนประกอบในตำรับมาสกัดโดยการหมักด้วย 9...

400

ผลของอลูมินัมและสารโพลีฟีนอลในชาเขียวต่อปริมาณธาตุเหล็กและค่าโลหิตวิทยาในหนู
ผลของอลูมินัมและสารโพลีฟีนอลในชาเขียวต่อปริมาณธาตุเหล็กและค่าโลหิตวิทยาในหนูEur J Nutr 2007;46:453-9 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...