Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ถั่งเช่าสีทองช่วยบรรเทาความเสียหายของตัวกรองกั้นระหว่างเลือดและไขสันหลังจากการบาดเจ็บของไขสันหลัง

การศึกษาผลของถั่งเช่าสีทองต่อตัวกรองกั้นระหว่างเลือดและไขสันหลังจากการบาดเจ็บของไขสันหลังในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้ไขสันหลังเกิดความเสียหายด้วยการผ่าตัด โดยป้อน WIB-801C ซึ่งเป็นสารสกัดมาตรฐานจากเห็ดถังเช่า (Cordyceps militaris) และมี cordycepin ปริมาณสูง ให้ WIB-801C ขนาด 50 มก./กก. ในชั่วโมงที่ 2 และชั่วโมงที่ 8 หลังจากการบาดเจ็บของไขสันหลัง และป้อนวันละครั้ง ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ พบว่า สามารถบรรเทาความเสียหายของตัวกรองกั้นระหว่างเลือดและไขสันหลัง (blood-spinal cord barrier disruption) โดยมีผลยับยั้งการแสดงออกและการทำงานของเอนไซม์ metalloproteinase-9 (MMP-9) ยับยั้งการรวมกลุ่มของเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil และ macrophage และมีผลยับยั้งการแสดงออกของโปรตีนและเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการอักเสบได้แก่ tumor necrosis factor-α (TNF-α), interleukin-1β, interleukin-6, cyclooxygenase-2 (COX-2), inducible nitric oxide synthase (iNOS), growth related oncogene-alpha (Gro-α) และ macrophage inflammatory protein-2alpha (Mip-2α) นอกจากนี้ สาร WIB-801C ยังมีผลยับยั้งการตายของเซลล์ประสาท (neurons) และ oligodendrocytes และยับยั้งทำงานของกลุ่มเอนไซม์ p38 mitogen activated protein kinase (p38MAPK) และการผลิต proNGF ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงภาวะการอักเสบและการตายของเซลล์สมอง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า WIB-801C จากเห็ดถั่งเช่าสีทอง สามารถพิจารณาใช้เป็นสารรักษาเมื่อมีการบาดเจ็บของไขสันหลัง โดยมีฤทธิ์บรรเทาความเสียหายของตัวกรองกั้นระหว่างเลือดและไขสันหลัง ลดการอักเสบ และยับยั้งการตายของเซลล์ประสาทได้

J Ethnopharmacol. 2017; 203: 90-100.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

466

การรักษาฝ้าขาวในปากผู้ป่วยเอดส์ด้วยน้ำมะนาวฝรั่ง
การรักษาฝ้าขาวในปากผู้ป่วยเอดส์ด้วยน้ำมะนาวฝรั่ง ชาชงตะไคร้และยาป้ายปาก gentian violetการศึกษาแบบ randomized control trial ในผู้ป่วยเอดส์ 90 คน อายุน้อยกว่า 34 ปี ทั้งเพศชายและหญิง ที่ในปากเป็นฝ้าขาวที่เกิดจากเชื้อ Candida albicans   โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่มๆละ 30 คน กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ได้รับยาป้ายปากด้วย 0.5% Gentian violet aqueous วันละ 3 ครั้ง นาน 2-10 วัน กลุ่มที่ 2 ให้อมกลั้วปากด้วยน้ำมะนาวฝรั่งนาน 5 นาที แล้วค่อยกลืน จากนั้นให้หยดน้ำมะนาวฝรั่ง 2-3 หยด วันละ 3 ครั้ง/ว...

1464

กลไกการออกฤทธิ์ของสารแอนโทไซยานินในพืชที่มีสีม่วงแดงในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่
กลไกการออกฤทธิ์ของสารแอนโทไซยานินในพืชที่มีสีม่วงแดงในการยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิด HCT-116 และ HT-29 ของสารสกัด*จากพืชที่มีสารแอนโทไซยานินในปริมาณสูงจำนวน 11 ชนิด ได้แก่ (1) องุ่นแดง, (2) องุ่นม่วง, (3) มันม่วง, (4) แครอทม่วง, (5) ถั่วดำ, (6) ถั่วแขกม่วง, (7) ถั่วเลนทิลดำ, (8) ถั่วลิสงดำ, (9) ข้าวฟ่าง, (10) ข้าวดำ และ (10) ข้าวสาลีสีฟ้า พบว่าสารสกัดจากถั่วเลนทิลดำ, ข้าวฟ่าง, และองุ่นแดงมีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งล...

444

ชาเขียวช่วยลดพิษจากยาฆ่าแมลง
ชาเขียวช่วยลดพิษจากยาฆ่าแมลงเมื่อป้อนสารสกัดจากชาเขียวให้หนูขาวทางปาก ขนาด 60 มก./ตัว/วัน ในหนูปกติ (ไม่ได้รับยาฆ่าแมลง) และหนูที่ได้รับยาฆ่าแมลง fenitrothion organophosphate ขนาดต่ำและขนาดสูง (10 และ 20 มก./กก. ตามลำดับ) โดยให้สารสกัด 1 ชม. ก่อนได้ยาฆ่าแมลง เป็นเวลานาน 28 วัน พบว่า หนูขาวปกติที่ได้รับสารสกัดชาเขียว ไม่มีความผิดปกติใดๆของเซลล์ตับและไต ส่วนหนูขาวที่ได้ยาฆ่าแมลงจะมีการทำลายของเซลล์ตับ ไต และเกิดอนุมูลอิสระสูงขึ้น (lipid peroxidation สูงขึ้น, ระดับ glutathione (GSH) และเอนไซม์ g...

732

ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพซึ่งเป็นสาเหตุของการบูดเน่าในอาหารจากน้ำมันยูคาลิป
ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพซึ่งเป็นสาเหตุของการบูดเน่าในอาหารจากน้ำมันยูคาลิปการทดสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพของน้ำมันหอมระเหยจากยูคาลิปต่อเชื้อแบคทีเรีย เช่น Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, P. fluorescens, Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus เชื้อรา เช่น Penicillium digitatum, Aspergillus flavus, A. niger, Mucor spp., Rhizopus nigricans, Fusarium oxysporum และยีสต์ เช่น Candida albicans, Sacchromyces cerevisiae  ด้วยวิธี agar dilution/well diffusion และ disc volatilization พบว่าน้ำมันยูค...

851

สาร
สาร Kuguacin J จากใบมะระช่วยลดการดื้อยาของเซลล์มะเร็งการศึกษาในเซลล์มะเร็งปากมดลูกที่ดื้อยา (KB-V1) พบว่าสาร Kuguacin J (สารสำคัญที่แยกได้จากใบมะระ) ช่วยให้เซลล์มะเร็งมีความไวต่อยารักษามะเร็ง vinblastine และ paclitaxel ได้มากขึ้น จากการนับและแยกเซลล์ด้วยวิธี flow cytometry พบว่า Kuguacin J มีผลยับยั้งการขนส่งของ P-glycoprotein ทำให้มีเซลล์การสะสมสารเรืองแสง rhodamine 123 และ calcein AM เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่า Kuguacin J ช่วยเพิ่มการสะสมและลดปริมาณการขับยา [3H]-vinblatine ออ...

989

เทคนิคการปรับปรุงชีวประสิทธิผล
เทคนิคการปรับปรุงชีวประสิทธิผล (Bioavailability) ของสารเคอร์คูมินเพื่อประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็งสารเคอร์คูมินจากขมิ้นมีการใช้อย่างแพร่หลายเพื่อการรักษาโรคและอาการต่างๆ แต่ชีวประสิทธิผล (bioavailability) หรือสัดส่วนของสารที่เข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตซึ่งจะเป็นตัวพาสารไปสู่บริเวณที่ออกฤทธิ์ ของสารเคอร์คูมินยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอ เนื่องจากสารเคอร์คูมินมีความสามารถในการละลายในน้ำที่ต่ำ การศึกษาครั้งนี้จึงทดสอบนำสารเคอร์คูมินรวมตัวกับอนุภาคนาโนซิลิกาเพื่อปรับปรุงให้มีการละลายดีขึ้นส่งผลให้สารที่จะเ...

540

การบริโภคถั่วเหลืองลดภาวะเสี่ยงต่อโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรังและอาการทางระบบหายใจ
การบริโภคถั่วเหลืองลดภาวะเสี่ยงต่อโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรังและอาการทางระบบหายใจการศึกษาแบบ case control study ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง (COPD:Chronic Obstructive Pulmonary Disease) มานาน 4 ปี ซึ่งเป็นผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลในประเทศญี่ปุ่น 6 แห่ง จำนวน 278 คน เป็นผู้ชาย 244 คน ผู้หญิง 34 คน อายุเฉลี่ย 66.3 ปี ส่วนกลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกับกลุ่มผู้ป่วยจำนวน 340 คน เป็นผู้ชาย 272 คน ผู้หญิง 68 คน อายุเฉลี่ย 65.6 ปี ให้ทุกคนตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับข้...

982

ฤทธิ์ของสารอัลฟ่า-แมงโกสติน
ฤทธิ์ของสารอัลฟ่า-แมงโกสติน ในการยับยั้งเอนไซม์ DNA polymerase, topoisomerase และยับยั้งเซลล์มะเร็งในคนสารอัลฟ่า-แมงโกสติน และสารสกัดเอทานอลจากเปลือกผลมังคุด 5 ชนิด ได้แก่ 3-isomangostin, xanthone, 9,10-anthraquinone, 9-anthracenecarboxylic acid และ anthracene มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่ใช้ในการสังเคราะห์ DNA (DNA polymerase ; pol) และยับยั้งเซลล์มะเร็งในคน โดยสารอัลฟ่า-แมงโกสตินมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ DNA polymerase ได้มากที่สุด ซึ่งค่าความเข้มข้นในการยับยั้งได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) ) มีค่าเท่ากับ 14.8 ...

39

ฤทธิ์ทนต่อความเย็นจากสารซาโปนินในโสมอเมริกัน
ฤทธิ์ทนต่อความเย็นจากสารซาโปนินในโสมอเมริกัน การฉีดสารซาโปนินจากรากโสมอเมริกัน ( Panax quinquefolius Linn. ) เข้าทางช่องท้องหนูขาวที่มีอายุน้อย( 3-6 เดือน ) หรือหนูขาวที่มีอายุมาก ( 26-28 เดือน ) มีผลเพิ่มการสร้างความร้อนในร่างกาย และเพิ่มความสามารถในการทนต่อความเย็นจัด ( อุณหภูมิ-10 องศาเซลเซียส ภายใต้บรรยากาศของก๊าซออกซิเจน21% และก๊าซฮีเลียม73% นาน 2ชั่วโมง ) พบว่าสารสำคัญในการแสดงฤทธิ์ดังกล่าวคือ Rb1Planta Med 2000; 66 : 144-47 ...