-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ผลของสารสกัดกระชายดำต่อโรคข้อเข่าเสื่อม
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ผลของสารสกัดกระชายดำต่อโรคข้อเข่าเสื่อม
การศึกษาฤทธิ์ลดอาการข้อเข่าเสื่อมของสารสกัดกระชายดำในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดข้อเข่าอักเสบด้วยกรดโมโนไอโอโดอะซิติก (monoiodoacetic) โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเหง้ากระชายดำด้วย 60% เอทานอล ขนาด 100 มก./กก. น้ำหนักหนู และกลุ่มที่ได้รับยา diclofenac ขนาด 10 มก./กก. น้ำหนักหนู เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นในวันที่ 8 ทำการวัดระดับการทนต่อความเจ็บปวด (pain threshold) ด้วย von Frey algesiometry เปรียบเทียบผลกับกลุ่มควบคุม พบว่าหนูที่ได้รับสารสกัดกระชายดำ และยา diclofenac จะสามารถทนต่อความเจ็บปวดได้เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และในการตรวจพยาธิสภาพและการประเมินด้วย Mankin score พบว่าสารสกัดมีผลลดความรุนแรงของการเสื่อมของกระดูกอ่อนในข้อของหนูได้ นอกจากนี้การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดกระชายดำด้วย 60% เอทานอล และสารที่พบในกระชายดำกลุ่ม polymethoxyflavonoids ในเซลล์กระดูกอ่อนข้อเข่าของคน (human knee-derived chondrocytes) ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วย IL-1β (2.5 มคก./มล.) พบว่าสารสกัดกระชายดำความเข้มข้น 20 มคก./มล. และสาร 5,7-dimetho-xyflavone และ 5,7,4′-trimethoxyflavone ความเข้มข้น 5 ไมโครโมล่าร์ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยลดการแสดงออกของยีนของ metalloproteinase (MMP1) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายคอลลาเจนและมิวโคพอลีแซคคาไรด์ (mucopolysaccharide) ในกระดูกอ่อน สรุปได้ว่าสารสกัดกระชายดำมีผลช่วยลดการเสื่อมของข้อเข่าได้ โดยมีกลไกหนึ่งมาจากการยับยั้งเอนไซม์ MMPs ของสารที่เป็นองค์ประกอบ คือ 5,7-dimethoxyfla-vone และ 5,7,4′-trimethoxyflavone
J Nat Med 2018;72:136-44.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งของสารสกัดผลและสารฟีโนลิกซ์ของสมอไทย
ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งของสารสกัดผลและสารฟีโนลิกซ์ของสมอไทยเมื่อนำสารสกัดเมทานอล 70% ของผลสมอไทย (Terminalia chebula Retz) มาทดสอบฤทธิ์การแบ่งตัวของ breast cancer lines (MCF-7, S115) prostate cell lines (PC-3, NT1A)และ human osteosarcuma cell พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์แรงในการทำให้ cell มะเร็งเกิด necrosis และตาย ขนาดที่ฆ่าเซลล์ได้คือ 400 ไมโครกรัม/ซีซี การแยกหาสารออกฤทธิ์ โดยใช้ ATP assay ช่วยได้สารออกฤทธิ์ Chebulonic acid และ ellagic acid เมื่อทดสอบฤทธิ์เปรียบเทียบกับสารกลุ่ม phe...
ผลของการใช้สาร
ผลของการใช้สาร L-theanine อย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสาร L-theanine เป็นกรดอะมิโนที่พบได้เฉพาะในชาเขียว (green tea) และได้รับการยืนยันว่ามีผลต่อระบบประสาทและสมอง การศึกษาทางคลินิกแบบไม่ปกปิด (An open-label study) เพื่อศึกษาผลของการได้รับสาร L-theanine อย่างต่อเนื่อง ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (major depressive disorder; MDD) จำนวน 20 ราย เป็นเพศชาย 4 ราย อายุเฉลี่ย 41.0±14.1 ปี และเป็นเพศหญิง 16 ราย อายุเฉลี่ย 42.9±12.0 ปี โดยผู้ป่วยจะได้รับสาร L-theanine ในขนาด 250 มก./วัน ร่วมกั...
ประโยชน์ของโกโก้ต่อการเรียนรู้และความดันโลหิตในผู้สูงอายุ
ประโยชน์ของโกโก้ต่อการเรียนรู้และความดันโลหิตในผู้สูงอายุการศึกษาทางคลินิกถึงฤทธิ์ของสาร flavonol ในโกโก้ต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้สูงอายุที่ไม่มีอาการผิดปกติของพฤติกรรมการเรียนรู้และจดจำ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน ให้ดื่มโกโก้ที่มีส่วนประกอบของ flavonol 3 ขนาด คือ 993, 520 และ 48 มก. ดื่มวันละครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ทำการประเมินเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ทั้งก่อนและสิ้นสุดการศึกษา ผลการประเมินโดยใช้แบบทดสอบสภาพจิต mini mental status examination (MMSE) เพื่อประเมินปัญหาในเรื่องความจำ...
ฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางของหญ้าขัดใบป้อม
ฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางของหญ้าขัดใบป้อม เมื่อนำสารสกัดหญ้าขัดใบป้อมด้วย 70% อัลกอฮอล์มาทดสอบในหนูถีบจักร พบว่าปริมาณที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งคือ 2639 มก./กก. และขนาดที่ให้ผลต่อระบบประสาทส่วนกลางคือเมื่อฉีดสารสกัดเข้าช่องท้อง 1000 มก./กก. พบว่ามีอาการกดประสาท การเดินลดลง ลดการตอบสนองต่อการสัมผัส ปวด และปัสสาวะน้อยลง(J Ethnopharmacol 2005;98:275-9) ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
การศึกษาพิษต่อเซลล์และพิษต่อยีนของสารสกัดเอทานอลจากตำรับเบญจกูล
การศึกษาพิษต่อเซลล์และพิษต่อยีนของสารสกัดเอทานอลจากตำรับเบญจกูลตำรับเบญจกูลเป็นยาปรับธาตุนิยมใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ประกอบด้วยสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ ผลดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิงแดง และเหง้าขิง เมื่อนำสารสกัด 95% เอทานอลจากตำรับเบญจกูล ความเข้มข้น 50 100 200 400 และ 500 มคก./มล. มาทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์และพิษต่อยีนในเซลล์เม็ดเลือดขาวของมนุษย์ พบว่าสารสกัดที่ความเข้มข้น 500 มคก./มล. เป็นพิษต่อเซลล์ โดยพบเซลล์ในระยะไมโทซิสน้อยมาก สารสกัดที่ความเข้มข้น 100 - 400 มคก./มล. เป็นพิษต่อยีน...
ผลของสารสกัดขมิ้นในการบรรเทาอาการปวดเมื่อเปรียบเทียบกับยา
ผลของสารสกัดขมิ้นในการบรรเทาอาการปวดเมื่อเปรียบเทียบกับยา ibuprofen ในผู้ป่วยกระดูกข้อเข่าอักเสบการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย ในผู้ป่วยข้อเข่าอักเสบจำนวน 367 คน ที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 182 คน ให้รับประทานยาแก้ปวด ibuprofen ขนาด 1,200 มก./วัน กลุ่มที่ 2 จำนวน 185 คน ให้รับประทาน สารสกัดขมิ้นชัน 1,500 มก./วัน (สารสกัดขมิ้นชันแคปซูลละ 250 มก. รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล หลังอาหาร วันละ 3 ครั้ง) นาน 4 สัปดาห์ พบว่าในสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ...
ผลของสารสกัดหญ้าฝรั่นต่อคุณภาพการนอนหลับ
ผลของสารสกัดหญ้าฝรั่นต่อคุณภาพการนอนหลับการศึกษาทางคลินิกแบบปกปิดสองทาง มีการสุ่ม มียาหลอกเป็นกลุ่มควบคุมแบบคู่ขนาน (double-blind, randomized, placebo-controlled parallel study) เพื่อศึกษาผลของการได้รับสารสกัดหญ้าฝรั่น (Crocus sativus L.) ต่อคุณภาพการนอนหลับ ในอาสาสมัครจำนวน 66 คน อายุระหว่าง 25-70 ปี และมีความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับ (chronic primary sleep disorder) ในระดับอ่อนถึงปานกลาง (มีค่า Insomnia Severity Index ระหว่าง 7 และ 21) ร่วมกับมีอาการของโรควิตกกังวล (anxiety) ในระดับอ่อนถึงปาน...
ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดแผลในระบบทางเดินอาหารของไพล
ฤทธิ์ยับยั้งการเกิดแผลในระบบทางเดินอาหารของไพลศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการเกิดแผลในระบบทางเดินอาหารของสารสกัดเมทานอลจากไพล และสารสสกัดไพลที่สกัดแยกด้วยวิธี chromatographic fraction 7 ชนิด โดยทำการทดลองในหนูเมาส์ทั้งเพศผู้และเพศเมีย แบ่งหนูออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 ตัว ป้อนสารสกัดเมทานอลจากไพลให้หนูขนาด 200 และ 400 มก./กก. และสารสกัดไพล 7 ชนิดที่ได้จากการแยกด้วยวิธี chromatographic fraction ขนาด 40 มก./กก. หนูในกลุ่มควบคุมและกลุ่มอ้างอิงป้อนด้วย น้ำขนาด 10 มล./กก. และ ยา omeprazole ขนาด 30 มก./กก. ตามลำดับ ...
ฤทธิ์ปกป้องกล้ามเนื้อหัวใจของสาร
ฤทธิ์ปกป้องกล้ามเนื้อหัวใจของสาร allicin ในหนูแรทที่เป็นเบาหวานการทดสอบฤทธิ์ปกป้องกล้ามเนื้อหัวใจของสาร allicin (AL) จากกระเทียมในหนูแรทที่เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยการฉีดสาร streptozotocin (STZ) เข้าทางช่องท้องของหนูแรทขนาด 40 มก./กก. โดยฉีดหนูด้วยสาร AL เข้าทางช่องท้องในขนาด 4 มก./กก., 8 มก./กก. และ 16 มก./กก. ทุกวัน เป็นเวลา 28 วัน หลังจากเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานแล้ว 3 วัน พบว่า สาร AL ที่ทุกขนาด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของหนูแรทลดลง โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ น้ำหนักตัวที่ลดลงจากภาวะเบ...