Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

สารสกัดจากมะรุมลดความเป็นพิษเฉียบพลันที่เกิดจากการเหนี่ยวนำด้วย aluminium phosphide ต่อหัวใจของหนูแรท

สารสกัดมะรุม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้และตัวทำละลาย) ขนาด 100 มก./กก. น้ำหนักตัว ถูกป้อนให้หนูแรทในเวลา 1 ชม. หลังจากหนูแรทถูกเหนี่ยวนำให้เกิดพิษเฉียบพลันต่อหัวใจด้วยสาร aluminium phosphide ซึ่งเป็นสารกำจัดศัตรูพืช ในขนาด 2 มก./กก. น้ำหนักตัว โดยการป้อน ผลการศึกษาพบว่าการให้ aluminium phosphide มีผลทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงของเส้นใยกล้ามเนื้อหัวใจ การบวมของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ การตายของเนื้อเยื่อหัวใจ รวมถึงเกิดการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของระดับสาร malondialdehyde (MDA) ซึ่งเป็นสารที่บ่งชี้การเกิดขบวนการออกซิเดชันของไขมัน และทำให้เกิดการลดลงของเอนไซม์ต้านออกซิเดชัน catalase และ glutathione reductase อย่างไรก็ตาม การให้สารสกัดมะรุมมีผลปกป้องเนื้อเยื่อหัวใจของหนูที่ได้รับสารพิษ aluminium phosphide โดยลดระดับความรุนแรงของการบวมและความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ เพิ่มระดับเอนไซม์ catalase และ glutathione reductase และลดระดับ MDA

Toxicology Reports 2018;5:209-12.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

165

ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์และพิษฆ่าแมลงของสารฟลาโวนอยด์จากน้อยหน่า
ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์และพิษฆ่าแมลงของสารฟลาโวนอยด์จากน้อยหน่า สารสกัดใบน้อยหน่า วงศ์ Annonaceae ได้ถูกนำไปตรวจสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในเมล็ดพืชและฤทธิ์ฆ่าแมลงCallosobruchus chinensis ที่เป็นศัตรูของเมล็ดพืช การสกัดแยกพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดพืชได้ทั้งหมด และมีฤทธิ์ฆ่าแมลงปีกแข็งได้ 80% ที่ความเข้มข้น 0.07 มก./ มล. ซึ่งสารกลุ่มฟลาโวนอยด์นี้มีฟลาโวนอล การศึกษานี้ชี้ให้เห็นประโยชน์ของสารสกัดใบน้อยหน่าที่ใช้เป็นยาฆ่าแมลงที่สามารถนำไ...

14

ตำรับยารักษาแผลในปากจากใบบัวบก
ตำรับยารักษาแผลในปากจากใบบัวบก การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาตำรับเจลรักษาแผลในปากจากสารสกัดใบบัวบกสด (Centella asiatica Linn. Urban) พบว่าตำรับที่ใช้ยาพื้นซึ่งเตรียมจาก C934P มีคุณสมบัติทางกายภาพและมีความคงตัวดีการศึกษาทางคลินิกโดยใช้ตำรับเจลที่มีความเข้มข้น0.5,1.0 และ 2.0% เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบัน triamcinolone acetonide (TA) และยาหลอกในผู้ป่วย 87 คน พบว่าตำรับเจล ของสารสกัดใบบัวบกทั้งสามความเข้มข้นและตำรับTA ให้ผลใกล้เ...

1439

การบริโภคสตรอว์เบอร์รีต้านกระบวนการแก่ชราผ่านการทำงานของไมโตคอนเดรียและการต้านออกซิเดชัน
การบริโภคสตรอว์เบอร์รีต้านกระบวนการแก่ชราผ่านการทำงานของไมโตคอนเดรียและการต้านออกซิเดชันการประเมินตัวชี้วัดทางชีวภาพของความเสียหายที่เกิดจากกระบวนการออกซิเดชัน (biomarkers of oxidative damage) รวมถึงการลดลงของการสร้างและการทำงานของไมโตครอนเดรีย อันเนื่องมาจากความแก่ชรา ของการบริโภคสตรอว์เบอร์รี (Fragaria ananassa สายพันธุ์ Alba) โดยทำการทดสอบในหนูแรทชราเพศผู้ อายุ 19 - 21 เดือน จำนวน 16 ตัว โดยแบ่งหนูเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว กลุ่มที่ 1 ให้กินอาหารมาตรฐาน และกลุ่มที่ 2 ให้กินอาหารมาตรฐานที่มีส่...

217

การป้องกันรังสีจากลูกใต้ใบ
การป้องกันรังสีจากลูกใต้ใบ หนูถีบจักรที่กินสารสกัด 75% เมทานอลจากส่วนเหนือดินของลูกใต้ใบขนาด 750 และ 250 มก./กก. ก่อนฉายรังสี 5 วัน และกินต่อหลังจากฉายรังสีอีก 1 เดือน พบว่าสารสกัดจากลูกใต้ใบป้องกันผลจากการฉายรังสีได้ หนูถีบจักรจะมีปริมาณเม็ดเลือดขาวเซลล์ไขกระดูก และการทำงานของ alpha-esterase เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่ไม่ได้รับสารสกัด นอกจากนี้ยังช่วยต้านการเกิดออกซิเดชั่น โดยเพิ่มเอนไซม์ superoxide dismutase, catalase, glutathione-S-transferase, glutathione peroxidase และ glutath...

314

สาร
สาร xanthorrhizol จากว่านชักมดลูกยับยั้งเชื้อราฉวยโอกาสสาร xanthorrhizol จากว่านชักมดลูก (Curcuma xanthorrhizol   ) มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราฉวยโอกาส ได้แก่ Aspergillus flavus, A. fumigatus, A. niger, Fusarium oxysporum, Rhizopus oryzae  และ Trichophyton mentagrophytes  ด้วยความเข้มข้นของสารต่ำสุดที่ยับยั้งเชื้อราได้ (MIC) เท่ากับ 2, 2, 2, 4, 1 และ 1 มคก./มล. ตามลำดับ และความเข้มข้นของสารต่ำสุดที่ฆ่าเชื้อราได้ (MFC) เท่ากับ 4, 4, 4, 8, 2 และ 2 มคก./มล.ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับย...

892

ฤทธิ์ปกป้องตับของผักบุ้งขัน
ฤทธิ์ปกป้องตับของผักบุ้งขันการศึกษาฤทธิ์ปกป้องและรักษาตับของใบผักบุ้งขัน โดยป้อนสารสกัดเมทานอลจากใบผักบุ้งขันขนาด 100, 200 และ 400 มก./กก. ให้แก่หนูแรทติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน ก่อนและหลังการกระตุ้นให้การทำลายตับในหนูแรทด้วยการป้อน carbon tetrachloride (CCl4) ขนาด 0.5 มล./กก. ต่อเนื่องกัน 5 วัน ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากผักบุ้งขันออกฤทธิ์ปกป้องการทำลายของตับได้ดีเมื่อป้อนก่อนการได้รับสาร CCl4 โดยมีผลลดปริมาณเอนไซม์ alanine aminotransferase, aspartate aminotransferase และ alkaline phosphatase รวมถึ...

1409

ฤทธิ์ฆ่าเชื้ออะมีบา
ฤทธิ์ฆ่าเชื้ออะมีบา Acanthamoeba ของน้ำมันหอมระเหยจากพืชการศึกษาฤทธิ์ฆ่าเชื้ออะมีบา Acanthamoeba sp. ของน้ำมันหอมระเหยจากพืช 10 ชนิด ได้แก่ดีปลี (Piper retrofractum), พริกไทย (Piper nigrum), ช้าพลู (Piper sarmentosum), มะกรูด (Citrus hystrix), ส้มเขียวหวาน (Citrus reticulata), แก้ว (Murraya paniculata), เร่วน้อย (Amomum uliginosum), ขมิ้น (Curcuma longa), ขมิ้นอ้อย (Curcuma zedoaria), กระชาย (Kaempferia pandurata) ที่ความเข้มข้น 50 มก./มล. พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากดีปลี พริกไทย มะกรูด ขมิ้น และกระช...

648

ขมิ้นชันกับการป้องกันกระดูกพรุน
ขมิ้นชันกับการป้องกันกระดูกพรุนผลของสารสกัดจากขมิ้นชันต่อการป้องกันภาวะกระดูกพรุนเนื่องจากการขาดฮอร์โมนเพศ (ภาวะกระดูกพรุนในวัยหมดประจำเดือน) โดยทำการศึกษาในหนูแรทเพศเมียอายุ 3 เดือน จำนวน 4 กลุ่ม หนูกลุ่มที่ 1 (กลุ่มหนูปกติ) ฉีดสาร dimethylsulfoxide (DMSO) ซึ่งเป็นตัวทำละลายของสารสกัด เข้าทางช่องท้อง ส่วนหนูกลุ่มที่ 2-4 ทำการตัดรังไข่ออกเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนเนื่องจากขาดฮอร์โมนเพศ หลังจากนั้น หนูกลุ่มที่ 2 (กลุ่มควบคุม) ฉีดสาร DMSO เข้าทางช่องท้อง หนูกลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 4 ฉีดส...

1237

ผลของการรับประทานสารสกัดใบแป๊ะก๊วยในผู้ป่วยที่มีภาวะบกพร่องในขบวนการรับรู้และมีอาการทางจิตเวชและประสาท
ผลของการรับประทานสารสกัดใบแป๊ะก๊วยในผู้ป่วยที่มีภาวะบกพร่องในขบวนการรับรู้และมีอาการทางจิตเวชและประสาทศึกษาผลของการรับประทานสารสกัด EGb 761 จากใบแป๊ะก๊วยในผู้ป่วยที่มีภาวะบกพร่องในขบวนการรับรู้ (mild cognitive impairment) และมีอาการทางจิตเวชและประสาท (neuropsychiatric symptoms) โดยทดลองให้ผู้ป่วยทั้งเพศชายและหญิงจำนวน 80 คน (อายุเฉลี่ย 65±7 ปี) รับประทานสารสกัด EGb 761 ขนาดวันละ 240 มก. นาน 24 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับผู้ป่วยกลุ่มควบคุมจำนวน 79 คนที่ได้รับยาหลอก วิเคราะห์อาการทางจิตเวชและประ...