Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ยับยั้งความเป็นพิษต่อตับที่เกิดจากยาด็อกโซรูบิซินของสารสกัดผักบุ้ง

การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งความเป็นพิษต่อตับที่เกิดจากยาด็อกโซรูบิซิน (doxorubicin; DOX) ของสารสกัดด้วยน้ำ (ที่มีคลอโรฟอร์มเป็นส่วนประกอบ 1%) ของใบผักบุ้ง (Ipomoea aquatica Forssk.) ซึ่งสามารถรับประทานได้ (aqueous leaf extract of I. aquatic; AEIA) โดยทำการทดสอบในเซลล์ตับที่แยกได้จากหนูแรท พบว่า AEIA ที่ขนาด 400 มคก./มล. สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของเซลล์ตับที่ได้รับ DOX ขนาด 1 ไมโครโมลาร์ได้ดี และสามารถยับยั้งการเพิ่มขึ้นของ reactive oxygen species (ROS) ความไม่สมดุลของการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอน (redox imbalance) การออกซิเดชันของไขมัน (lipidperoxidation) การลดลงของเอนไซม์และสารต้านออกซิเดชันในร่างกายได้แก่ superoxide dismutase, catalase, glutathione peroxidase, glutathione-S-transferase, glutathione reductase และ reduced glutathione การกระตุ้น mitogen activated protein kinases (MAPK) และการตายของเซลล์แบบ apoptosis โดยยับยั้งการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนของ pro-apoptotic/anti-apoptotic factor (Bad/Bcl 2 ratio), cleaved caspase 9, และ cleaved caspase 3 ภายในเซลล์ตับที่ถูกเนี่ยวนำด้วย DOX ได้ การทดสอบในหนูแรทโดยป้อนหนูด้วย AEIA ขนาด 100 มก./กก./วัน ติดต่อกัน 14 วัน ร่วมกับการฉีด DOX ขนาด 3 มก./กก. เข้าทางช่องท้องแบบวันเว้นวัน (รวม 7 วัน) ก็พบว่า AEIA สามารถยับยั้งการเกิดออกซิเดชันที่ผิดปกติ (oxidative impairment) การแตกหักของดีเอ็นเอ (DNA fragmentation) และการสร้างเอทีพี (ATP formation) นอกจากนี้ยังเพิ่มการสร้าง co-enzymes Qs ของไมโตคอนเดรีย (mitochondrial co-enzymes Qs) ในเนื้อเยื่อตับของหนูด้วย แสดงให้เห็นว่าผักบุ้งสามารถยับยั้งความเป็นพิษต่อตับของยาด็อกโซรูบิซินได้ ซึ่งคาดว่ากลไกการออกฤทธิ์จะเกี่ยวข้องกับฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน และการวิเคราะห์ทางเคมีพบว่า AEIA ประกอบด้วยสารที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันได้แก่ สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ สารประกอบฟีโนลิก และวิตามินซี

Food Chemical Toxicol 2017;105:322-36.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

880

ฤทธิ์บรรเทาอาการของโรคแผลในกระเพาะอาหารของของเหลวจากถั่วหมัก
ฤทธิ์บรรเทาอาการของโรคแผลในกระเพาะอาหารของของเหลวจากถั่วหมักJ Agric Food Chem 2011;59(12):6730 - 39 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

1410

ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสำคัญจากหล่อฮั่งก๊วย
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสำคัญจากหล่อฮั่งก๊วยการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ต้านเบาหวานของสาร cucurbitane glycosides ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม mogrosides ที่แยกได้จากผลหล่อฮั่งก๊วย (Siraitia grosvenori) จำนวน 18 ชนิด ในหลอดทดลอง โดยใช้เซลล์มะเร็งตับของมนุษย์ (HepG2 cells) และเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน metformin พบว่าสารทุกตัวมีฤทธิ์ทำให้การเก็บกลูโคสเข้าสู่เซลล์ (glucose uptake) เพิ่มขึ้น โดยมีประสิทธิภาพสูงสุดที่ความเข้มข้น 1 μmol/L ซึ่งผลดังกล่าวเทียบเท่าหรือดีกว่ายา metformin ที่ความเข้มข้นเดียวกัน แสดงให้เห็...

72

ฤทธิ์ยาชาเฉพาะที่ของสาร
ฤทธิ์ยาชาเฉพาะที่ของสาร menthol จากการทดลองในหลอดทดลองโดยใช้กระบังลมของหนู พบว่าเมื่อให้สาร(+) และ (-) menthol ในขนาด 10-4 - 1 ไมโครกรัม/ มิลลิลิตร ทำให้การหดตัวของกระบังลมที่ถูกกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าลดลง ในขณะที่สาร (-) menthone และ thymol ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของ menthol ไม่แสดงฤทธิ์ดังกล่าว เมื่อทดลองในสัตว์ทดลอง โดยศึกษาผลการเกิดรีเฟลกซ์ของเยื่อบุตากระต่าย พบว่าเมื่อให้สาร (+) และ (-) menthol ขนาด 30-100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร มีผลท...

831

ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของรากสามสิบในการยับยั้งการย่อย
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของรากสามสิบในการยับยั้งการย่อย การดูดซึมคาร์ไฮเดรต และเพิ่มการทำงานของอินซูลินการศึกษาในหนูแรทของสารสกัดรากด้วยเอทานอลต้นรากสามสิบ แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเฉียบพลัน และช่วงยาวต่อเนื่อง โดยการศึกษาในระยะเฉียบพลันป้อนสารสกัดเอทานอลต้นรากสามสิบขนาด 1.25 กรัม/กก. ให้กับหนูแรทที่ไม่เป็นเบาหวาน และหนูแรทที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และ ชนิดที่ 2 พบว่าไม่มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ช่วยให้ทนต่อการเพิ่มขึ้นของกลูโคส (glucose tolerance) ในนาทีที่ 30 ดีขึ้น และการศึกษาช่วงยาวต่อเนื่อง...

1350

ฤทธิ์สมานแผลไฟไหม้ของสมอไทย
ฤทธิ์สมานแผลไฟไหม้ของสมอไทยศึกษาฤทธิ์สมานแผลไฟไหม้ของสารสกัดเอทานอลสมอไทย (Terminalia chebula) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นแผลไฟไหม้ระดับที่ 2 ด้วยวิธีการลวกผิวหนังด้วยกระแสไฟฟ้าบริเวณหลัง (ที่อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส นาน 15 วินาที) โดยทดลองทาสารสกัดเอทานอลสมอไทยความเข้มข้น 100 มก./มล. ลงบนแผลโดยตรงวันละ 2 ครั้ง นานติดต่อกัน 14 วัน เปรียบเทียบกับการทายา siver sulfadiazine เข้มข้น 1% ผลจากการศึกษาพบว่า ในวันที่ 14 ของการทดลอง ขนาดแผลของหนูแรทกลุ่มที่ทาสารสกัดสมอไทยมีขนาดเล็กลงอย่างมีนัยสำคัญ เม...

1182

ฟักทองช่วยบรรเทาอาการโรคซึมเศร้า
ฟักทองช่วยบรรเทาอาการโรคซึมเศร้าการศึกษาฤทธิ์ของฟักทอง (Cucurbita moschata Duch.) ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของหนูแรทที่มีภาวะซึมเศร้า โดยแบ่งป้อนฟักทองอบ (มีเบต้าแคโรทีน 0.163 มคก./ก.) ขนาด 1 ก./กก. น้ำหนักตัว หรือเบต้าแคโรทีน ขนาด 0.1, 1, และ 10 มก./กก. ให้แก่หนูแรท วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 28 วัน จากนั้นประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยการทดสอบพฤติกรรมบังคับว่ายน้ำ (forced swimming test) ซึ่งเป็นโมเดลที่วัดอารมณ์ซึมเศร้าในหนู พบว่าทั้งฟักทองอบและเบต้าแคโรทีนมีผลลดระยะเวลาการลอยตัวอยู่นิ่ง (immob...

1554

ผลของการดื่มน้ำเสาวรสต่อระบบประสาทอัตโนมัติของหัวใจและหลอดเลือดและระดับน้ำตาลในเลือด
ผลของการดื่มน้ำเสาวรสต่อระบบประสาทอัตโนมัติของหัวใจและหลอดเลือดและระดับน้ำตาลในเลือดการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มและมีการไขว้กลุ่ม (a randomized cross-over trial) เพื่อศึกษาผลของการดื่มน้ำเสาวรส (Passiflora edulis) ต่อระบบประสาทอัตโนมัติของหัวใจและหลอดเลือด (cardiac autonomic function) และระดับน้ำตาลในเลือดในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 14 คน ทั้งเพศชายและหญิง (อายุเฉลี่ย 21.29±0.73 ปี) โดยสุ่มแยกอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้ดื่มน้ำเสาวรสเข้มข้น 50% ปริมาณ 3.5 มล./น้ำหนักตัว 1 กก. เพียงครั้ง...

1249

การดื่มน้ำส้มหมัก
การดื่มน้ำส้มหมัก (orange fermented) ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจศึกษาผลการดื่มน้ำส้มหมักต่อความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในหนูเม้าส์ โดยทดลองป้อนน้ำส้มหมักให้แก่หนูในขนาดที่เทียบเท่ากับการดื่มในคนคือ 250 และ 500 มล./วัน เปรียบเทียบกับการป้อนน้ำส้มคั้น และน้ำเปล่า (กลุ่มควบคุม) นาน 12 สัปดาห์ พบว่าการดื่มน้ำส้มหมักมีผลเพิ่มระดับเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต้านอนุมูลอิสระได้แก่ catalase, superoxide dismutase, glutathione reductase และ glutathione peroxidase เมื่อเทียบกับกลุ่ม...

144

สารลดการอักเสบจากเทียนบ้าน
สารลดการอักเสบจากเทียนบ้าน การศึกษาพบว่า 1,4-naphthoquinoue จากดอกเทียนบ้านสีขาวมีฤทธิ์ยับยั้ง cyclooxygenase-2 (COX-2) ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบได้ แสดงให้เห็นว่าผลของดอกเทียนบ้านในการลดปวด และบวม น่าจะเนื่องมาจากฤทธิ์ดังกล่าวข้างต้น Biol Pharm Bull 2002;25(5):658-60 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...