-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านภาวะไขมันพอกตับของเทียนสัตตบุษย์
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านภาวะไขมันพอกตับของเทียนสัตตบุษย์
การศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากแอลกอฮอล์ (Nonalcoholic fatty liver disease; NAFLD) ที่มีความผิดปกติในการสะสมไขมันในเนื้อเยื่อตับ ของเมล็ดเทียนสัตตบุษย์ (Pimpinella anisum L.) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะ NAFLD ด้วยการให้กินอาหารที่ไม่มีสารโคลีน (choline-deficient diet) เป็นเวลา 90 วัน จากนั้นจึงป้อนหนูด้วยสารสกัดน้ำ-เอธานอล (hydroethanolic extract; AE) ขนาด 25, 50, 100, และ 200 มก./กก./วัน หรือน้ำมันหอมระเหยของเมล็ดเทียนสัตตบุษย์ (essential oil; AO*) ขนาด 0.125, 0.25, และ 0.5 มก./กก./วัน เป็นเวลานาน 30 วัน พบว่ากลุ่มที่ได้รับ AE และ AO มีระดับผลรวมคอเลสเตอรอล, low-density lipoprotein (LDL), และไตรกลีเซอไรด์ลดลง และมีระดับ high-density lipoprotein (HDL) เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ เช่นเดียวกับระดับ aminotransferase (AST), alanine aminotransferase (ALT) ในเลือดและตัวบ่งชี้ภาวะเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) ซึ่งพบว่าลดลง และการตรวจสอบเนื้อเยื่อตับพบว่า AE และ AO สามารถลดการอักเสบจากภาวะที่มีถุงไขมันสะสมอยู่ในตับ (macrovesicular steatohepatitis) ได้ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์สำหรับบรรเทาภาวะตับอักเสบที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากแอลกอฮอล์ต่อไป
*น้ำมันหอมระเหยของเมล็ดเทียนสัตตบุษย์ ประกอบด้วย trans-anethole (89.24%) γ-himachalene (2.89%), methyl chavicol (2.72%), และ limonene (1.88%)
ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์บรรเทาอาการปวดประจำเดือนจากน้ำมันหอมระเหยของเทียนข้าวเปลือก
ฤทธิ์บรรเทาอาการปวดประจำเดือนจากน้ำมันหอมระเหยของเทียนข้าวเปลือกการศึกษาทางคลินิกแบบ randomized parallel-group clinical trial เปรียบเทียบฤทธิ์บรรเทาอาการปวดของน้ำมันหอมระเหยจากเทียนข้าวเปลือก (Fennel drop 2%) และยาแก้ปวดประจำเดือน mefenamic acid ในเด็กนักเรียนหญิงจำนวน 59 คน อายุระหว่าง 18 - 25 ปี และมีอาการปวดประจำเดือนในระดับปานกลางถึงรุนแรง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (n = 29) รับประทาน Fennel drop 2% จำนวน 25 หยด (1 มล. มีสาร anethole 15.5 มก.) และกลุ่มที่ 2 (n = 30) รับประทานยา mefenamic...
ผลของสารสกัดจากเห็ดหลินจือต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ไขมัน
ผลของสารสกัดจากเห็ดหลินจือต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ไขมัน (adipocyte) และการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวของกับการสร้าง adiponectin ในเซลล์ 3T3-L1การศึกษาผลของสารสกัดเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum ) (GE) ต่อกลุ่มอาการความผิดปกติของระบบเผาผลาญอาหารของร่างกาย (metabolic syndrome) ในเซลล์ murine pre-adipocyte cell line (3T3-L1) ซึ่งกลุ่มอาการดังกล่าวประกอบด้วยความผิดปกติของไขมันในเลือด ความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด พบว่า GE มีฤทธิ์กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ไขมัน (adipocyte differentiation) และ...
ฤทธิ์ลดความดันโลหิตของสารสกัดจากหญ้าฝรั่น
ฤทธิ์ลดความดันโลหิตของสารสกัดจากหญ้าฝรั่นศึกษาผลของสารสกัดน้ำจากหญ้าฝรั่น และสารสำคัญสองชนิดในหญ้าฝรั่น ได้แก่ crocin และ safranal ต่อความดันโลหิต โดยทำการทดลองในหนูแรทสองกลุ่ม หนูกลุ่มแรกมีความดันโลหิตเป็นปกติ และหนูกลุ่มที่สองเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงด้วยการฉีด desoxycorticosterone acetate ให้สารสกัดหญ้าฝรั่นแก่หนูแรททั้งสองกลุ่มโดยการสอดท่อเข้าเส้นเลือดดำใหญ่ที่คอด้านขวา (right jugular vein) และทำการวัดความดันโลหิตโดยสอดท่อเข้าเส้นเลือดแดงใหญ่ที่คอด้านซ้าย (left carotid artery) วัดค...
ผลของสารสกัดเมล็ดแตงกวาต่อระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง
ผลของสารสกัดเมล็ดแตงกวาต่อระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีระดับไขมันในเลือดสูงการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มและปกปิดสองฝ่ายที่มีกลุ่มควบคุม (randomized double - blind placebo controlled clinical trial) ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีระดับไขมันในเลือดสูงจำนวน 47 คน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 24 คน ได้รับสารสกัดเมล็ดแตงกวาแห้ง ขนาด 500 มก. จำนวน 1 แคปซูล โดยรับประทานพร้อมอาหาร วันละ 1 ครั้ง นาน 6 สัปดาห์ และกลุ่มที่ 2 จำนวน 23 คน ให้รับประทานยาหลอก (placebo) พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดเมล...
ผลการปกป้องระบบประสาทของสารสกัดเอทานอลของผลส้มกุ้งต่อการขาดเลือดไปเลี้ยงที่สมองของหนู
ผลการปกป้องระบบประสาทของสารสกัดเอทานอลของผลส้มกุ้งต่อการขาดเลือดไปเลี้ยงที่สมองของหนูการศึกษาในหนูขาวเพศผู้ 60 ตัว แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 10 ตัว กลุ่มที่ 1-3 ต้องทำ sham operation คือการผ่าตัดเปิดเส้นเลือด carotid artery เพื่อใส่ลวดเข้าไปแต่ลวดยังไม่ได้ใส่ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่ม sham + vehicle คือกลุ่มที่ได้รับ 1% Tween 80 ในน้ำกลั่น นาน 30 วัน + sham operated กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่ม sham + ER-100 คือกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเอทานอลของผลส้มกุ้ง 100 มก./กก. ป้อนทางปากนาน 30 วัน + sham operated กล...
ช็อกโกแลตดำกับคนอ้วน
ช็อกโกแลตดำกับคนอ้วนการศึกษาผลของช็อกโกแลตดำ (dark chocolate) ที่เสริมด้วยสารโพลีฟีนอลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ความดัน คอเลสเตอรอล และระดับของกลูโคคอร์ติโซนในคนอ้วนชาย-หญิง (ค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย 27.7 ± 2.5 กก./ตร.ม2) จำนวน 14 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกรับประทานช็อกโกแลตดำ ขนาด 20 ก. ที่เสริมสารโพลีฟีนอล 500 มก. เป็นเวลา 2 สัปดาห์ หยุดพัก 1 สัปดาห์ จากนั้นให้รับประทานช็อกโกแลตดำ ขนาด 20 ก. ที่เสริมสารโพลีฟีนอล 1,000 มก. อีก 2 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 จะทดลองเช่นเดียวกับกลุ่มแรก แต่จะสลับให...
ฤทธิ์ยับยั้งลำไส้อักเสบของทับทิม
ฤทธิ์ยับยั้งลำไส้อักเสบของทับทิมศึกษาฤทธิ์ยับยั้งลำไส้อักเสบทั้งในภาวะเฉียบพลันและเรื้อรังของสาร ellagic acid จากทับทิม ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะลำไส้อักเสบด้วยการป้อน dextran sulphate sodium (DSS) ทั้งระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยการศึกษาในระยะเฉียบพลัน ใช้หนูเม้าส์สายพันธุ์ Balb/C 3 กลุ่ม (กลุ่มละ 7 - 10 ตัว) กลุ่มที่ 1 เลี้ยงด้วยอาหารและน้ำปกติ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 เลี้ยงด้วยอาหารปกติและน้ำที่มี DSS ผสมอยู่ 5% กลุ่มที่ 3 เลี้ยงด้วยอาหารที่มีสาร ellagic acid ผสมอยู่ 2% โดยน้ำหน...
ฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมาและเชื้อมาลาเรียของโหระพาช้าง
ฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมาและเชื้อมาลาเรียของโหระพาช้างการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมา (Trypanosoma brucei brucei ) เชื้อมาลาเรีย (Plasmodium falciparum ) รวมทั้งความเป็นพิษต่อเซลล์ของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดเอทานอลจากส่วนใบ ลำต้น และเมล็ดของโหระพาช้าง (Ocimum gratissimum Linn) พบว่าน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดเอทานอลมีฤทธิ์ต้านเชื้อทั้งสองชนิด แต่มีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเลียค่อนข้างต่ำ (IC50 >40 มคก./มล.) โดยสารสกัดเอทานอลจากส่วนใบจะมีฤทธิ์ต้านเชื้อทริพาโนโซมาดีที่สุด (IC50 = 1.66 ± 0.48 มคก....
รากอัญชันต้านโรคหอบหืดและอาการแพ้ทางผิวหนัง
รากอัญชันต้านโรคหอบหืดและอาการแพ้ทางผิวหนังการศึกษาฤทธิ์ต้านโรคหอบหืด และการแพ้ทางผิวหนัง (passive cutaneous anaphylaxis) ของสารสกัดเอทานอลรากอัญชัน โดยศึกษาฤทธิ์ต้านหอบหืดด้วยการฉีดสารสกัดเอทานอลรากอัญชันให้แก่หนูเมาส์เข้าทางช่องท้อง ขนาด 100 125 และ 150 มก./กก. หลังจากนั้น 30 นาที ฉีดนมสุกที่เย็นแล้วเข้าทางใต้ผิวหนังขนาด 4 มล./กก. เพื่อกระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิด leucocyte และ eosinophil ซึ่งเป็นสื่อกลาง (mediator) ของการเกิดอาการหอบหืด และทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเกิดกระบวนการ degranulation ของ mast ...