-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของสารสำคัญจากขิง
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของสารสำคัญจากขิง
การทดสอบฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของสาร zingerone (ZGR) ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม phenolic alkanone ที่พบได้ในขิง (Zingiber officinale) ในหลอดทดลอง (in vitro) และนอกร่างกาย (ex vivo) ของหนูเม้าส์ โดยการให้ ZGR มีความเข้มข้นในเลือด 10, 25 และ 50 ไมโครโมลาร์ (เทียบเท่ากับการให้ ZGR ในขนาด 0.14, 0.36, และ 0.72 มก./กก.) เปรียบเทียบผลกับการได้รับยาต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด rivaroxaban จากนั้นจึงประเมินความสามารถในการยับยั้ง factor Xa (FXa) และการยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ด้วยการเฝ้าติดตามระยะเวลาที่เลือดใช้สำหรับการแข็งตัว (clotting time), ลักษณะการแข็งตัวของเลือด (platelet aggregation), การสร้างและการออกฤทธิ์ของ FXa และการเกิดลิ่มเลือด (thrombus formation) จากผลการทดลองพบว่า ZGR ทำให้ระยะเวลาในการเกิดลิ่มเลือดยาวนานขึ้น ยับยั้งการทำงานของ FXa และยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย adenosine diphosphate (ADP) และ U46619 แต่ไม่มีผลต่อระยะเวลาการไหลของเลือด (bleeding time) นอกจากนี้ ZGR ยังยั้บยั้งการเกิด phosphorylation ที่ถูกกระตุ้นด้วย ADP และ U46619 ของ myristolated alanine-rich C-kinase substrate (MARCKS) รวมทั้งการแสดงออกของ P-selectin และ PAC-1 ในเกล็ดเลือดด้วย การทดสอบในร่างกายของหนูเม้าส์ (in vivo) โดยการฉีดสารทดสอบเข้าทางหลอดเลือดในขนาด 150 ไมโครโมลาร์ เปรียบเทียบผลกับการได้รับยาต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด aspirin พบว่า ZGR มีฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดและยับยั้งการแข็งตัวของเลือด ทำให้สามารถสรุปได้ว่า ZGR มีฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดและยับยั้งการทำงานของ FXa ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาเป็นยาต้านการทำงานของ FXa และยาต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด
Food Chem Toxicol 2017;105:186-193ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ต้านมาลาเรียจากสารสกัดเปลือกต้นกระถินเทศ
ฤทธิ์ต้านมาลาเรียจากสารสกัดเปลือกต้นกระถินเทศการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดเปลือกต้น และใบกระถินเทศด้วยเอทานอลร้อยละ 70 ต่อการต้านมาลาเรียจากเชื้อ Plasmodium falciparum ที่ดื้อต่อยาคลอโรควิน พบว่าสารสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ต้านมาลาเรียจากเชื้อดังกล่าว โดยความเข้มข้นที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) มีค่าเท่ากับ 1.3±0.2 มคก./มล. ในขณะที่สารสกัดจากใบกระถินเทศไม่สามารถต้านมาลาเรียจากเชื้อดังกล่าวได้ นอกจากนี้สารสกัดเปลือกต้นกระถินเทศ ยังสามารถต้านมาลาเรียจากเชื้อ Plasmodium berghei ได...
สารสกัดจากใบข่อยมีฤทธิ์ลดจำนวนเชื้อ
สารสกัดจากใบข่อยมีฤทธิ์ลดจำนวนเชื้อ S. mutans ในช่องปาก Streptococcus mutans เป็นเชื้อแบคทีเรียสำคัญที่ทำให้เกิดหินปูน ( plaque ) และฟันผุ การศึกษาแบบ Single blind crossover ในอาสาสมัครจำนวน 30 คน เพื่อประเมินประสิทธิภาพของสารสกัดใบข่อยเตรียมในรูปยาน้ำบ้วนปากต่อการทำลายเชื้อ S. mutans เปรียบเทียบกับน้ำกลั่น พบว่าเมื่อให้อาสาสมัครบ้วนปากด้วยตัวอย่างทดสอบ 20 มล. นาน 60 วินาที สารสกัดใบข่อยมีผลลดปริมาณเชื้อ S. mutans ในช่องปากได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเที...
ฤทธิ์ต้านภาวะสมองอักเสบจากรากมะเดื่อหอม
ฤทธิ์ต้านภาวะสมองอักเสบจากรากมะเดื่อหอมการศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะสมองอักเสบของสาร ficuside A และสาร methyl 2-hydroxybenzoate-2-O-β-D-apiofuranosyl-(1 → 2)-O-β-D-glucopyranoside ซึ่งแยกได้จากรากมะเดื่อหอม (Ficus hirta Vahl.) ในเซลล์ไมโครเกลีย (microglia cell) ชนิด BV2 พบว่า สารทั้ง 2 ชนิดสามารถยับยั้งกระบวนการ phosphorylation ของ AKT, JNK, และ ERK1/2 ได้ นอกจากนี้ สาร methyl 2-hydroxybenzoate-2-O-β-D-apiofuranosyl-(1 → 2)-O-β-D-glucopyranoside ยังสามารถยับยั้งกระบวนการ ...
ผลของสารสกัดขมิ้นในการบรรเทาอาการปวดเมื่อเปรียบเทียบกับยา
ผลของสารสกัดขมิ้นในการบรรเทาอาการปวดเมื่อเปรียบเทียบกับยา ibuprofen ในผู้ป่วยกระดูกข้อเข่าอักเสบการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย ในผู้ป่วยข้อเข่าอักเสบจำนวน 367 คน ที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 182 คน ให้รับประทานยาแก้ปวด ibuprofen ขนาด 1,200 มก./วัน กลุ่มที่ 2 จำนวน 185 คน ให้รับประทาน สารสกัดขมิ้นชัน 1,500 มก./วัน (สารสกัดขมิ้นชันแคปซูลละ 250 มก. รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล หลังอาหาร วันละ 3 ครั้ง) นาน 4 สัปดาห์ พบว่าในสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ...
สารสกัดจากทับทิมส่งเสริมการสร้างกระดูกในลูกหนูในครรภ์
สารสกัดจากทับทิมส่งเสริมการสร้างกระดูกในลูกหนูในครรภ์การศึกษาผลของสารสกัดจากน้ำและเปลือกผลทับทิมต่อกระดูกในลูกหนูเม้าส์ในครรภ์ โดยหนูเม้าส์ ท้องถูกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว คือ กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสารใด กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากน้ำทับทิม (PJE) ขนาด 3.3 มล./กก./วัน กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากเปลือกผลทับทิม (PHE) ขนาด 1.0 ก./กก./วัน และกลุ่มที่ได้รับทั้งสารสกัดจากน้ำทับทิมและเปลือกผลทับทิม (PME) โดยจะได้รับการป้อนวันละ 1 ครั้ง ตั้งแต่อายุครรภ์ 8 วันจนถึง 18 วันและในวันที่ 19 ของอายุครรภ์ ลูก...
ฤทธิ์ป้องกันเซลล์และเพิ่มภูมิคุ้มกันของผลมะขามป้อม
ฤทธิ์ป้องกันเซลล์และเพิ่มภูมิคุ้มกันของผลมะขามป้อม ผลมะขามป้องมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่แรง จึงอาจจะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทดลองโดยใช้ chromium ซึ่งกดภูมิคุ้มกัน เป็นพิษต่อเซลล์ เกิดอนุมูลอิสระ และการเกิด lipid peroxidation ลด glutathione peroxidase และ glutathione พบว่าเมื่อให้สารสกัดผลมะขามป้อม จะสามารถยับยั้งพิษต่างๆ ข้างต้นที่เกิดจาก chromium ลดการทำลายเซลล์ และ DNA จึงนับว่าสารสกัดจากมะขามป้อมมีประโยชน์ J Ethnopharmacol 2002;81(1):5-10 ข้อมูลอ้างอิงจาก :...
ผลการรับประทานโสมแดงต่อภาวะความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในหญิงวัยหมดประจำเดือน
ผลการรับประทานโสมแดงต่อภาวะความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในหญิงวัยหมดประจำเดือนการศึกษาผลของการรับประทานโสมแดงต่อความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในอาสาสมัครหญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีอายุระหว่าง 45-60 ปี จำนวน 72 คน โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม (กลุ่มละ 36 คน) กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานแคปซูลโสมแดง 500 มก. (ประกอบด้วยสารสกัด ginsenosides 10 มก.) ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง นาน 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มที่สองให้รับประทานยาหลอก (กลุ่มควบคุม) เมื่อครบ 12 สัปดาห์ทำการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจวัดค่าชีวเคมีในเลือดที่...
ชาเขียวช่วยบรรเทาอาการโรคแพ้ภูมิตัวเอง
ชาเขียวช่วยบรรเทาอาการโรคแพ้ภูมิตัวเองการศึกษาผลของสารสกัดชาเขียวต่อความรุนแรงของโรคและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคลูปัส (systemic lupus erythematosus; SLE) โดยศึกษาแบบสุ่ม ในผู้ป่วยโรค SLE จำนวน 68 คนที่เข้าร่วมการศึกษาครบระยะเวลา 12 สัปดาห์ อายุเฉลี่ย 39.1 ± 10.3 ปี และมีค่าดัชนีมวลร่างกาย (BMI) เฉลี่ยเท่ากับ 25.7 ± 5.21 กก/ม2 แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานแคปซูลสารสกัดชาเขียว 2 แคปซูล (1,000 มก./วัน ซึ่งมีปริมาณสารโพลีฟีนอล 22%) และกลุ่มที่...
ฤทธิ์ของสารสำคัญจากเมล็ดพริกไทยในการฆ่าลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก
ฤทธิ์ของสารสำคัญจากเมล็ดพริกไทยในการฆ่าลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกเมื่อนำสารสำคัญที่แยกได้จากเมล็ดพริกไทย ได้แก่ pipilyasine (1), pipzubedine (2) pipyaqubine (3), pellitorine (4), pipericine (5) และ piperine (6) มาทดสอบฤทธิ์ในการฆ่าลูกน้ำยุงลายบ้าน (Aedes aegypti ) ซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกและไข้เหลือง พบว่า สารทุกตัวมีฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุงลายบ้านในระยะที่ 4 ได้ โดยสาร piperine จะมีฤทธิ์แรงสุด ซึ่งค่าความเข้มข้นที่ทำให้ยุงตายไปครึ่งหนึ่ง (LC50) เท่ากับ 10 ppm (ส่วนในล้านส่วน) ...