-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านภูมิแพ้บริเวณทางเดินหายใจของใบพญาสัตบรรณ
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านภูมิแพ้บริเวณทางเดินหายใจของใบพญาสัตบรรณ
การทดสอบฤทธิ์ต้านภูมิแพ้บริเวณทางเดินหายใจของสารแอลคาลอยด์รวม (มี scholaricine, 19-epischolaricine, vallesamine, และ picrinine เป็นส่วนประกอบหลัก) ซึ่งแยกได้จากสารสกัด 90% เอทานอลของใบพญาสัตบรรณ (Alstonia scholaris (L.) R. Br.) ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการภูมิแพ้ด้วยโอแวลบูมิน (ovalbumin) โดยเปรียบเทียบการให้สารแอลคาลอยด์รวมเข้าทางกระเพาะอาหารของหนูวันละ 3 ครั้ง (ขนาด 8.3 และ 16.7 มก./กก./ครั้ง) และวันละครั้ง (ขนาด 25 และ 50 มก./กก.) และใช้ยา dexamethasone ขนาด 2 มก./กก./วัน เป็น positive control ใช้เวลาในการทดสอบทั้งหมด 22 วัน (ป้อนสารทดสอบในวันที่ 15 - 21) ผลการทดลองพบว่า การให้สารแอลคาลอยด์วันละ 3 ครั้ง ให้ผลดีกว่าการให้วันละครั้งเล็กน้อย (คาดว่าเกิดจากการคงของระดับยาในเลือดมากกว่า จึงทำให้การออกฤทธิ์ดีกว่า) จากการตรวจดูน้ำล้างปอดพบว่าจำนวนของ eosinophils ลดลงอย่างชัดเจน ระดับของ interleukin-4 (IL-4) ลดลง และ ระดับของ interleukin-10 (IL-10) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากการตรวจซีรัมพบว่าระดับของ immunoglobulin E (IgE) และ eotaxin ซึ่งเป็น cytokine ที่กระตุ้นและดึงดูดเซลล์อักเสบลดลง นอกจากนี้สารทดสอบทั้งหมดยังทำให้การทำงานของ superoxide dismutase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำลายอนุมูลอิสระ เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน และทำให้ระดับของ malondialdehyde ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการเกิด lipid peroxidation ลดลง จากผลการทดลองทำให้สรุปได้ว่า สารในกลุ่มแอลคาลอยด์ซึ่งแยกได้จากใบพญาสัตบรรณมีฤทธิ์ต้านภูมิแพ้บริเวณทางเดินหายใจ โดยการแบ่งให้วันละ 3 ครั้งจะให้ผลดีกว่าการให้วันละครั้ง และคาดว่าสาร scholaricine และ vallesamine เป็นสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ต้านภูมิแพ้
Phytomedicine 2017;27:63-72.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ต้านการอาเจียนจากการได้รับยารักษามะเร็งของสารสกัดพรมมิ
ฤทธิ์ต้านการอาเจียนจากการได้รับยารักษามะเร็งของสารสกัดพรมมิการศึกษาฤทธิ์ต้านการอาเจียนที่เกิดจากการได้รับยารักษามะเร็ง cisplatin ของสารสกัดมาตรฐานเมทานอลและส่วนสกัดเอ็น-บิวทานอลที่อุดมไปด้วยสาร bacoside จากส่วนเหนือดินของพรมมิ (Bacopa monnieri ) ในนกพิราบ ซึ่งเคยมีรายงานการใช้เพื่อศึกษาผลต่อการอาเจียนของยาหลายชนิด โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับสารสกัดมาตรฐานเมทานอลขนาด 10 - 40 มก./กก. กลุ่มที่ได้รับส่วนสกัดเอ็น-บิวทานอลขนาด 5 - 20 มก./กก. หรือกลุ่มที่ได้รับสาร N-(2-mercaptopropionyl) glycine (สารต้า...
ผลของใบบัวบกต่อปริมาณไขมันในหนูที่ชักนำให้เกิดความเครียด
ผลของใบบัวบกต่อปริมาณไขมันในหนูที่ชักนำให้เกิดความเครียดการศึกษาผลของใบบัวบกต่อไขมันในหนูที่ชักนำให้เกิดความเครียด โดยแบ่งหนูออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่1 ได้รับอาหารปกติ (ชุดควบคุม) กลุ่มที่2 ได้รับอาหารร่วมกับ 0.1% hydrogen peroxide (H2O2) กลุ่มที่ 3 ได้รับอาหารร่วมกับ 0.1% H2O2) และ 0.3% (w/w) สารสกัดเมทานอลจากใบบัวบก กลุ่มที่ 4 ได้รับอาหารร่วมกับ 0.1% H2O2) และ 5% (w/w) ผงใบบัวบก (มีสารประกอบฟีนอลลิกเทียบเท่ากับ 0.3% สารสกัดเมทานอลจากใบบัวบก) และกลุ่มที่ 5 ได้รับอาหารร่วมกับ 0.1% H2O2) และ 0....
ผลของ
ผลของ exogenous ATP ของมะระ (Momordica charantia Linn.) ต่อการชักนำให้เกิดการยับยั้งการขนส่งน้ำตาล D-glucose, สาร L-tyrosine และของเหลวผ่านผนังลำไส้ของหนูขาวมะระ (Momordica charantia ) เป็นผักพื้นบ้านที่ทราบโดยทั่วกันว่ามีฤทธิ์ต้านเบาหวาน ฤทธิ์ช่วยระบาย และมีฤทธิ์ต้านเชื้อ งานวิจัยซึ่งศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดน้ำจากผลของมะระเกี่ยวกับการขนส่งน้ำตาล D-glucose, L-tyrosine และของเหลวผ่านผนังของลำไส้ของหนูขาว พบว่าการให้ ATP ร่วมกับการให้สารสกัดของมะระ จะทำให้ฤทธิ์ในการยับยั้งการขนส่ง D-glucose, L-...
ผลการปกป้องระบบประสาทของสารสกัดเอทานอลของผลส้มกุ้งต่อการขาดเลือดไปเลี้ยงที่สมองของหนู
ผลการปกป้องระบบประสาทของสารสกัดเอทานอลของผลส้มกุ้งต่อการขาดเลือดไปเลี้ยงที่สมองของหนูการศึกษาในหนูขาวเพศผู้ 60 ตัว แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 10 ตัว กลุ่มที่ 1-3 ต้องทำ sham operation คือการผ่าตัดเปิดเส้นเลือด carotid artery เพื่อใส่ลวดเข้าไปแต่ลวดยังไม่ได้ใส่ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่ม sham + vehicle คือกลุ่มที่ได้รับ 1% Tween 80 ในน้ำกลั่น นาน 30 วัน + sham operated กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่ม sham + ER-100 คือกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเอทานอลของผลส้มกุ้ง 100 มก./กก. ป้อนทางปากนาน 30 วัน + sham operated กล...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบมะม่วง
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบมะม่วง สาร mangiferin ที่สกัดได้จากใบมะม่วง เมื่อนำมาทดสอบในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด (myocardial infarction) ด้วยการฉีดสาร isoproterenol (ISPH) ขนาด 200 มก./กก. เข้าใต้ผิวหนังหนูขาว พบว่าการฉีดสาร mangiferin ขนาด 100 มก./กก.ที่แขวนลอยใน dimethyl sulphoxide (DMSO) ปริมาตร 2 มล. เข้าในช่องท้องหนูขาว วันละ 2 ครั้งติดต่อกันนาน 28 วัน สามารถป้องกันการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดได้ โดยมีผลยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ...
สารออกฤทธิ์ยับยั้งพรอสตาแกลนดินจากหญ้าหัวโต
สารออกฤทธิ์ยับยั้งพรอสตาแกลนดินจากหญ้าหัวโต สาร diterpenes จากสารสกัดจากทั้งต้นของหญ้าหัวโต มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ พรอสตาแกลนดินอี 1 (PGE1) และพรอสตาแกลนดินอี 2 (PGE2) ที่เหนี่ยวนำให้เกิดการหดตัวของลำไส้เล็กหนูตะเภา สารที่ออกฤทธิ์ดีที่สุดคือ leucasperoside B สามารถยับยั้งทั้ง PGE1 และ PGE2 ด้วยความเข้มข้น 16 และ 48 โมโครโมลตามลำดับ สาร leucasperones A และ leucasperoside A ยับยั้ง PGE ทั้ง 2 ชนิดเช่นกันด้วยความเข้มข้น 126 และ 76 ไมโครโมล ตามลำดับ ขณะที่สาร linifolioside ยับยั้งเฉพาะ PGE1 ...
ผลของสารสกัดจากเปลือกเมล็ดลูกซัดต่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน
ผลของสารสกัดจากเปลือกเมล็ดลูกซัดต่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และอาการวัยทองในหญิงวัยหมดประจำเดือนการศึกษาแบบสุ่มชนิดปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย ในหญิงวัยหมดประจำเดือน จำนวน 88 คน อายุระหว่าง 48 - 58 ปี ซึ่งตรวจแล้วพบว่ามีอาการไม่สบายตัวของหญิงวัยหมดประจำเดือน ด้วย Green Climacteric Scale (GCS) โดยมีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 25 และมีอาการร้อนวูบวาบ (hot flashes) อย่างน้อย 3 ครั้ง/วัน แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 44 คน กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานสารสกัดจากเปลือกเมล็ดลูกซัด (FenuSMART) ขนาด 250 มก/1 แคปซูล. ครั...
ฤทธิ์ปกป้องเบต้าเซลล์ในตับอ่อนของใบหม่อน
ฤทธิ์ปกป้องเบต้าเซลล์ในตับอ่อนของใบหม่อนการศึกษาฤทธิ์ของใบหม่อน (Morus alba L.) ต่อมวลของเบต้าเซลล์ในตับอ่อน (pancreatic β-cell mass) ของหนูเม้าส์เบาหวาน (obese/type 2 diabetes mellitus mouse) ในการศึกษาแบ่งสัตว์ทดลองเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม (ป้อนด้วยอาหารปกติ) และกลุ่มทดลองที่ป้อนอาหารที่มีส่วนผสมของใบหม่อนแห้ง 5% โดยน้ำหนัก โดยเริ่มป้อนที่อายุ 7 สัปดาห์ไปจนถึง 10, 15 และ 20 สัปดาห์ ตามลำดับ จากนั้นทำการประเมินความทนต่อน้ำตาลของสัตว์ทดลองเมี่ออายุครบ 10, 15 และ 20 สัปดาห์ พบว่าระดับน้ำ...
ฤทธิ์ต้านมาลาเรียจากสารสกัดเปลือกต้นกระถินเทศ
ฤทธิ์ต้านมาลาเรียจากสารสกัดเปลือกต้นกระถินเทศการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดเปลือกต้น และใบกระถินเทศด้วยเอทานอลร้อยละ 70 ต่อการต้านมาลาเรียจากเชื้อ Plasmodium falciparum ที่ดื้อต่อยาคลอโรควิน พบว่าสารสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ต้านมาลาเรียจากเชื้อดังกล่าว โดยความเข้มข้นที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) มีค่าเท่ากับ 1.3±0.2 มคก./มล. ในขณะที่สารสกัดจากใบกระถินเทศไม่สามารถต้านมาลาเรียจากเชื้อดังกล่าวได้ นอกจากนี้สารสกัดเปลือกต้นกระถินเทศ ยังสามารถต้านมาลาเรียจากเชื้อ Plasmodium berghei ได...