-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ผลในการบรรเทาอาการโรคลำไส้แปรปรวน
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ผลในการบรรเทาอาการโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome) ของขมิ้นและว่านชักมดลูก
การศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome) ทั้งหญิงและชายอายุ 18-70 ปี จำนวน 99 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับแคปซูล (soft gel) ตำรับสมุนไพรIQP-CL-101 (Xanthofen) ที่มีส่วนผสมหลัก คือ สารเคอคิวมินอยด์ (curcuminoids) จากขมิ้น (Curcuma longa) และน้ำมันหอมระเหยจากว่านชักมดลูก (Curcuma xanthorrhiza) ปริมาณรวม 330 มก. และส่วนผสมอื่นๆ ได้แก่ น้ำมันปลา (fish oil) 70 มก. น้ำมันสะระแหน่ (peppermint oil) 15 มก. น้ำมันเมล็ดยี่หร่า (caraway oil) 8 มก. โฟลิกอะซิด (folic acid) 39 มคก. และวิตามิน D3 625 มคก. โดยรับประทานครั้งละ 2 แคปซูล 2 ครั้ง/วัน ก่อนอาหารมื้อหลัก เปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก เป็นเวลา 8 สัปดาห์ จากการประเมินด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับความรุนแรงของอาการต่างๆ ของโรคลำไส้แปรปรวน Irritable Bowel Syndrome Symptom Severity Score; IBS-SSS พบว่ากลุ่มที่ได้รับตำรับสมุนไพรมีคะแนนลดลง 113.0 ± 64.9 คะแนน มากกว่ากลุ่มยาหลอกซึ่งลดลง 38.7 ± 64.5 คะแนน โดยเริ่มแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของการทดสอบ และจากการประเมินความทนต่อยา (tolerability) ก็ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ชนิดร้ายแรง (serious adverse events) ใดๆ จากผลการทดสอบจึงสรุปได้ว่าตำรับสมุนไพร IQP-CL-101 สามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตจากการบรรเทาอาการปวดหรือไม่สบายท้องของโรคลำไส้แปรปรวนได้ อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในระยะเวลา 8 สัปดาห์จึงไม่สามารถบอกประสิทธิผลของการรักษาในระยะยาวได้ และมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุปผลว่าสมุนไพรตำรับดังกล่าวมีประสิทธิผลที่ดีต่อโรคลำไส้แปรปรวนชนิดใด ได้แก่ ชนิดที่มีอาการท้องเสียเด่น (diarrhea predominate IBS) ชนิดท้องผูกเด่น (constipation predominate IBS) ชนิดท้องเสียสลับท้องผูก (mixed IBS) หรือชนิดที่มีอาการไม่ชัดเจน (undetermined IBS) จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
Phytother Res 2017;31(7):1056-62.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าหญ้าแห้วหมู
สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าหญ้าแห้วหมูการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าหญ้าแห้วหมู พบว่าสารสำคัญส่วนใหญ่ในน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ α-cyperone (38.46%), cyperene (12.84%) และ α-selinene (11.66%) น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ดีในการต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH และ ABTS radicals scavenging และ Ferric reducing antioxidant power มีฤทธิ์ป้องกันความเสียหายของดีเอ็นเอที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย ferrous ion (Fe2+) และ 2,2′-azobi...
คุณสมบัติป้องกันผลข้างเคียงจากยารักษาโรคลมชักของพรมมิ
คุณสมบัติป้องกันผลข้างเคียงจากยารักษาโรคลมชักของพรมมิ ผู้ป่วยโรคลมชักมักมีปัญหาการเรียนรู้และความจำ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากพยาธิสภาพของโรคเอง และจากยาที่ใช้รักษา การทดลองให้ยารักษาโรคลมชัก เฟนิโตอิน (phenytoin) แก่หนูถีบจักรในขนาด 25 มก./กก. น้ำหนักตัว ติดต่อกันนาน 14 วัน มีผลลดการเรียนรู้และความจำ แต่เมื่อให้สารสกัดอัลกอฮอล์จากพรมมิ (Bacopa monnieri Pennell) ร่วมด้วยทุกวันในขนาด 40 มก./กก. น้ำหนักตัว โดยให้ตลอดสัปดาห์ที่สองของการให้ยาเฟนิโตอิน...
ฤทธิ์ต้านอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนังของสารสกัดอบเชยจีน
ฤทธิ์ต้านอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนังของสารสกัดอบเชยจีนศึกษาฤทธิ์ต้านอาการผื่นภูมิแพ้ผิหนังของอบเชยจีน ในหนูเมาส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการผื่นแพ้ที่ผิวหนังด้วยการทา DfE ointment ซึ่งเป็นแอนติเจนของไรฝุ่นบ้าน (House dust mite) 2 ครั้งต่อสัปดาห์ นาน 3 สัปดาห์ ในครั้งที่ 4 ของการทา DfE ointment (วันที่ 11 ของการทดลอง) เริ่มทาสารสกัดเอทานอลจากเปลือกของต้นอบเชยจีน และทาสารสกัดอบเชยจีนให้หนูต่อเนื่องไปทุกวัน วันละครั้ง เป็นเวลา 23 วัน สังเกตอาการผื่นภูมิแพ้ที่ผิวหนังของหนูและทำการบันทึกผล ผลการศึกษาพบว่...
พิษเฉียบพลันและเรื้อรังของน้ำมันเทียนดำ
พิษเฉียบพลันและเรื้อรังของน้ำมันเทียนดำ พิษของน้ำมันจากเมล็ดเทียนดำในหนูตะเภาและหนูขาววัดจากค่า LD50 และการทดสอบทางชีวเคมี โลหิตวิทยาและการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อเมื่อเกิดโรค การศึกษาพิษของน้ำมันจากเมล็ดเทียนดำในหนูตะเภาจากการกรอกน้ำมันเทียนดำ 2 mL/kg น.น.ตัว เข้าทางปาก และ 2.06 2mL/kg น.น.ตัว ฉีดเข้าทางหน้าท้อง การศึกษาพิษเรื้อรังของหนูขาวโดยการกรอกน้ำมันเทียนดำ 2 mL/kg น้ำหนักตัวเข้าทางปากทุกวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเอนไซม์ของตับรวมถึง aspartate-aminotrans...
สารแอนโทไซยานินสกัดจากมันม่วงกับฤทธิ์ป้องกันการเกิดตับอักเสบจากแอลกอฮอล์
สารแอนโทไซยานินสกัดจากมันม่วงกับฤทธิ์ป้องกันการเกิดตับอักเสบจากแอลกอฮอล์สารสกัดแอนโทไซยานินจากมันม่วง หรือ มันเทศสีม่วง ชนิด Ipomoea batatas cv. Ningzi 4 (purple sweet potatoes anthocyanins; PSPA) ถูกพบว่าส่วนมากเป็นสารไซยานิดิน (cyanidin) ซึ่งได้ถูกนำไปศึกษาฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ โดยมีการทดลองในหนูเม้าส์เพศผู้สายพันธุ์ C57BL/6 จำนวน 50 ตัว แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว โดยกลุ่มทดลองได้รับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผสมสาร PSPA ในขนาด 50 มก./นน.ตัว 1 กก. (ขนาดต่ำ), 100 มก./นน.ตัว 1 กก. (...
สารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองมีศักยภาพในการยับยั้งการสร้างสารเบต้าแอมีลอยด์
สารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองมีศักยภาพในการยับยั้งการสร้างสารเบต้าแอมีลอยด์ (beta-amyloid) ของโรคอัลไซเมอร์ในหลอดทดลองสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง (ได้แก่ genistein, daidzein, genistin, daidzin, equol) ที่ความเข้มข้น 10 - 200 ไมโครโมลาร์ มีฤทธิ์ต้านการก่อเส้นใยในการสร้างสารเบต้าแอมีลอยด์ (beta-amyloid) ในหลอดทดลอง (สารเบต้าแอมีลอยด์หากมีมากจะมีผลให้ความทรงจำในสมองลดลง) โดยเปรียบเทียบกับสารเคอร์คูมิน (curcumin ความเข้มข้น 10 ไมโครโมลาร์) ที่ใช้เป็นตัวควบคุม พบว่าที่ความเข้มข้น 50 ไมโครโมลาร์ สาร da...
เมล็ดน้อยหน่าต้านภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานมากผิดปกติ
เมล็ดน้อยหน่าต้านภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานมากผิดปกติเมื่อป้อนสารสกัดด้วยเอทานอล 90% จากเมล็ดน้อยหน่าที่เอาไขมันออกแล้ว ขนาด 200 มก./กก. หรือป้อน quercetin จากเมล็ดน้อยหน่า ขนาด 10 มก./กก. นาน 10 วันติดต่อกัน ให้หนูถีบจักรที่ฉีด L-thyroxine (T4) เข้าช่องท้องขนาด 0.5 มก./กก. นาน 12 วันติดต่อกัน เพื่อเหนี่ยวนำให้มีภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานมากผิดปกติ พบว่า ทั้งสารสกัดและสาร quercetin ทำให้ระดับ triiodothyroxine (T3), thyroxine (T4), เอนไซม์ glucose-6-phosphatase (G-6-Pase) ในตับ, 5′-mono-deiodinase (...
ผลของการรับประทานเมล็ดลินินต่อการอักเสบในผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อักเสบ
ผลของการรับประทานเมล็ดลินินต่อการอักเสบในผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อักเสบการศึกษาทางคลินิกแบบไม่ปกปิด มีการสุ่ม และมีกลุ่มควบคุม (open-labelled randomised controlled trial) เพื่อศึกษาผลของการรับประทานเมล็ดลินิน (Linum usitatissimum L.) ต่อการอักเสบของผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อักเสบ (ulcerative colitis; UC) ในระดับอ่อนถึงระดับปานกลาง (mild-to-moderate UC) จำนวน 90 คน โดยผู้ป่วยจะถูกสุ่มเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มที่ 1 ได้รับเมล็ดลินินบด (grounded flaxseed) 30 ก./วัน กลุ่มที่ 2 ได้รับน้ำมันเมล็ดลินิน ...
ผลของน้ำมันวอลนัทต่อระดับไขมันในผู้ป่วยเบาหวานที่มีไขมันในเลือดสูง
ผลของน้ำมันวอลนัทต่อระดับไขมันในผู้ป่วยเบาหวานที่มีไขมันในเลือดสูงการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับไขมันในเลือดสูง จำนวน 100 คน อายุ 35-75 ปี โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่รับประทานน้ำมันวอลนัท (Persian walnut oil) ครั้งละ 4 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง (1 แคปซูล ประกอบด้วยน้ำมันวอลนัท 1.25 ซีซี เท่ากับขนาด 15 ซีซี/วัน) ร่วมกับอาหาร เป็นเวลา 90 วัน เปรียบเทียบผลกับกลุ่มควบคุม พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับน้ำมันวอลนัทจะมีระดับของคอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอร์ไรด์ ไขมันชนิด LDL และอัตราส่วนของคอเลสเตอรอลรวม/ไขมันชนิด HDL ลด...