Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

เปรียบเทียบผลของการสูดดมยูคาลิปตัสและหอมแดงด้วยไอน้ำร้อนต่ออาการคัดจมูกในผู้ป่วยโรคหวัด

การศึกษาวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มไปข้างหน้าและมีกลุ่มควบคุม (Randomized prospective controlled trial) เพื่อเปรียบเทียบผลของการสูดดมยูคาลิปตัสและหอมแดงด้วยไอน้ำร้อนต่ออาการคัดจมูกในผู้ป่วยโรคหวัดจำนวน 37 คน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สูดดมยูคาลิปตัสจำนวน 19 คน และกลุ่มที่สูดดมหอมแดงด้วยไอน้ำร้อนจำนวน 18 คน ให้ผู้ป่วยสูดดมยูคาลิปตัสหรือหอมแดงด้วยไอน้ำร้อนอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 10 นาที และประเมินอาการคัดจมูกของผู้ป่วยโดยให้ผู้ป่วยให้คะแนนความรุนแรงของอาการคัดจมูกด้วยตนเอง และการใช้เครื่องมือตรวจวัดแรงต้านทานในจมูกโดยเทคนิคไรโนมาโนเมตรีทั้งก่อนและหลังสูดดมไอระเหยเป็นเวลา 40 นาที พบว่าหลังการสูดดมยูคาลิปตัสและหอมแดงด้วยไอน้ำร้อน คะแนนประเมินอาการคัดจมูกของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มดีขึ้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 99.9% โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนอาการคัดจมูกของผู้ป่วยกลุ่มที่สูดดมยูคาลิปตัสลดลงจาก 54.44±10.42% เป็น 40.50±14.94% และในกลุ่มที่สูดดมหอมแดงด้วยไอน้ำร้อนลดลงจาก 55.72±10.59% เป็น 39.72±13.17% ในขณะที่ค่าแรงต้านทานในจมูกของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มเพิ่มขึ้นจากเดิมเล็กน้อยโดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงจากการสูดดมทั้งสองวิธี แสดงว่าการสูดดมหอมแดงด้วยไอน้ำทำให้ผู้ป่วยรู้สึกโล่งจมูกได้ใกล้เคียงกับการสูดดมยูคาลิปตัส และทั้งสองวิธีมีความปลอดภัย จึงอาจใช้หอมแดงทดแทนยูคาลิปตัสซึ่งมีราคาแพงกว่าได้

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2560:15(2; ฉบับเสริม):92.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

490

ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสาร
ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของสาร bisdemethoxycurcumin และ curcumin จากขมิ้นสาร bisdemethoxycurcumin และ curcumin จากขมิ้น ความเข้มข้น 3, 10 และ 30 ไมโครโมล มีผลยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ เอนไซม์ inducible nitric oxide synthase (iNOS) และลดการแสดงออกของยีน iNOS mRNA ในเซลล์ macrophage RAW 264.7 ที่ถูกกระตุ้นด้วย lipopolysaccharide สาร curcumin มีผลยับยั้ง tumor necrosis factor-alpha (TNF-α) และลดการแสดงออกของยีน TNF-α mRNA ขณะที่ bisdemethoxycurcumin ไม่มีผล สำหรับการทดล...

1513

ผลของสารสกัดข่าตาแดงต่อคุณภาพของอสุจิในชายที่ประสบปัญหามีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ
ผลของสารสกัดข่าตาแดงต่อคุณภาพของอสุจิในชายที่ประสบปัญหามีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุการศึกษาทางคลินิกแบบไปข้างหน้า ปกปิดสองทาง และมีการสุ่ม (A prospective double‐blinded randomised clinical trial) ในอาสาสมัครเพศชายที่ประสบปัญหามีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ จำนวน 76 คน โดยสุ่มแยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 38 คน กลุ่มที่ 1 รับประทานสารสกัด 70% เอทานอลจากเหง้าข่าตาแดง (Alpinia officinarum Hance) ขนาด 300 มก./วัน และกลุ่มที่ 2 รับประทานยาหลอก ทำการศึกษาเป็นเวลานาน 3 เดือน เมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ไ...

83

ความเป็นพิษต่อเซลล์
ความเป็นพิษต่อเซลล์ และฤทธิ์ฆ่าหนอนตัวอ่อนของน้ำมันหอมระเหยมะม่วงหิมพานต์ การกลั่นน้ำมันหอมระเหยด้วยไอน้ำ ของใบมะม่วงหิมพานต์ (Anacardium occidentale L.) ให้ปริมาณน้ำมัน 0.78% v/w เมื่อนำไปวิเคราะห์หาองค์ประกอบเคมีด้วยวิธี Gas Chromatography - Mass Spectroscopy (GC-MS) พบว่ามีสารประกอบอย่างน้อย 14 ชนิด โดยเป็นสารกลุ่มโมโนเทอร์ปีนส์ 78.1% และสารกลุ่มเซสควิเทอร์ปีนส์ 15.7% สารประกอบที่พบเด่นชัดเป็นส่วนใหญ่ คือ tran-beta-ocimene 76.0%, alpha-copaene 4.8%, gamma-cadinene ...

957

ฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์
ฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ acethylcholinesterase และฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นของกุหลาบมอญการศึกษาครั้งนี้เป็นการทดสอบฤทธิ์ป้องกันการทำงานของระบบประสาทจากน้ำมันและสารที่มีกลิ่นหอมที่สกัดได้จากกุหลาบมอญโดยทำการทดสอบในหลอดทดลองและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ acetylcholinesterase (AChE) และ butyrylcholinesterase (BChE) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำลายสารสื่อประสาท acetylcholine และทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นโดยการวัดปฏิกิริยาต้านออกซิเดชั่นต่างๆได้แก่ DPPH radical scavenging, me...

1574

ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของเจลสารสกัดมะขามป้อม
ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของเจลสารสกัดมะขามป้อมการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของเจลบำรุงผิวซึ่งมีส่วนประกอบของสารสกัด 50% เอ-ทานอลจากกิ่งมะขามป้อมที่เตรียมในรูปแบบนาโนอิมัลชัน (nanoemulsion) (emblica nanogel) ในอาสา สมัคร จำนวน 40 โดยให้อาสาสมัครแต่ละคนทา emblica nanogel ขนาด 0.3 ก. บนใบหน้า และขนาด 0.15 ก. บริเวณปลายแขนด้านหนึ่ง ในตอนเช้าและเย็น ขณะที่ใบหน้าและปลายแขนอีกด้านหนึ่งให้ทาเจล หลอก (placebo nanogel) เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าทั้ง emblica nanogel และเจลหลอก ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง...

1014

ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี
ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี (melanin) ของหญ้าเกล็ดปลาการศึกษาฤทธิ์ของสารยูปาโฟลิน (eupafolin) ฟลาโวนอยด์ที่แยกได้จากต้นหญ้าเกล็ดปลา (Phyla nodiflora (L.) Greene) ในการยับยั้งการสร้างเม็ดสี (melanin) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการมีเอนไซม์ไทโรซิเนสที่เป็นเอนไซม์สำคัญในการกระตุ้นการสังเคราะห์เม็ดสีมากเกินไป โดยทำการทดสอบในเซลล์มะเร็งผิวหนัง (melanoma) B16F10 ของหนูเม้าส์ ให้สารยูปาโฟลินความเข้มข้น 0.01, 0.1, 1 และ 10 ไมโครโมลาร์ แก่เซลล์มะเร็ง ทดสอบวัดปริมาณเม็ดสี การทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส และระดับโปรตีนท...

305

สารสกัดจากหญ้าใต้ใบสามารถต้านเชื้อไวรัส
สารสกัดจากหญ้าใต้ใบสามารถต้านเชื้อไวรัส Herpes simplex   Type 1 และ 2สารสกัด geraniin และ 1,3,4,6-tetra-O- galloyl-β-D-glucose (1346TOGDG) จากต้นหญ้าใต้ใบ เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัส Herpes simplex   type I และ II (HSV I, II) ในหลอดทดลอง พบว่าสารสกัด geraniin และ 1346TOGDG สามารถต้านเชื้อ HSV type I และ II ได้ โดยค่าความเข้มข้นในการยับยั้งเชื้อ HSV type I และ II ได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) ของ geraniin และ 1346TOGDG มีค่าเท่ากับ 35.0±4.2, 18.4±2.0 และ 19.2±...

1097

ฤทธิ์ต้านการอาเจียนจากการได้รับยารักษามะเร็งของสารสกัดพรมมิ
ฤทธิ์ต้านการอาเจียนจากการได้รับยารักษามะเร็งของสารสกัดพรมมิการศึกษาฤทธิ์ต้านการอาเจียนที่เกิดจากการได้รับยารักษามะเร็ง cisplatin ของสารสกัดมาตรฐานเมทานอลและส่วนสกัดเอ็น-บิวทานอลที่อุดมไปด้วยสาร bacoside จากส่วนเหนือดินของพรมมิ (Bacopa monnieri ) ในนกพิราบ ซึ่งเคยมีรายงานการใช้เพื่อศึกษาผลต่อการอาเจียนของยาหลายชนิด โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับสารสกัดมาตรฐานเมทานอลขนาด 10 - 40 มก./กก. กลุ่มที่ได้รับส่วนสกัดเอ็น-บิวทานอลขนาด 5 - 20 มก./กก. หรือกลุ่มที่ได้รับสาร N-(2-mercaptopropionyl) glycine (สารต้า...

1589

ผลของขี้ผึ้งสารสกัดเทียนกิ่งในการรักษาแผลฝีเย็บ
ผลของขี้ผึ้งสารสกัดเทียนกิ่งในการรักษาแผลฝีเย็บการศึกษาในหญิงหลังคลอดบุตรซึ่งมีแผลฝีเย็บ จำนวน 160 คน อายุ 18 - 40 ปี แบ่งออกเป็น กลุ่มที่ให้ทาแผลด้วยขี้ผึ้งซึ่งมีส่วนผสมของสารสกัด 70% เอทานอลจากใบเทียนกิ่ง 5% กลุ่มที่ให้ทาขี้ผึ้งซึ่งมีส่วน ผสมของสารสกัด 70% เอทานอลจากเมล็ด Persian oak (Quercus persica) 2% กลุ่มที่ทายาหลอก และกลุ่มควบคุม โดยให้ทาแผล เป็นเวลา 14 วัน ประเมินผลการรักษาด้วยแบบประเมินลักษณะแผลฝีเย็บหลังคลอด (REEDA scale) และแบบประเมินความปวด Visual Analog Scale (VAS) ก่อนเริ่มการศึกษ...