Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

น้ำมันคาร์โมมายด์ช่วยบรรเทาอาการของโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือในผู้ป่วยระดับอ่อนและปานกลาง

การศึกษาฤทธิ์ของน้ำมันคาร์โมมายด์ที่ได้จากการต้มและสกัดน้ำมันจากดอกคาร์โมมายด์เยอรมัน (German chamomile, Matricaria chamomilla L. วงศ์ Asteraceae) ด้วยน้ำมันงา ต่อภาวะภาวะเส้นประสาท Median ถูกกดทับในอุโมงค์ข้อมือ (carpal tunnel syndrome: CTS) โดยใช้การศึกษาคลินิกแบบ randomized double-blind placebo-controlled trial ในผู้ป่วย CTS ระดับอ่อนและปานกลาง จำนวน 86 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการทาน้ำมันดอกคาร์โมมายด์ หรือยาหลอก (น้ำมันคาร์โมมายด์ 0.1% ในน้ำมันงา 10% ในพาราฟิน) ครั้งละ 5 หยดบริเวณฝ่ามือและข้อมือ วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยไม่มีการนวด ร่วมกับการสวมอุปกรณ์พยุงข้อมือเฉพาะช่วงกลางคืน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ จากนั้นทำการประเมินความรุนแรงของโรค (symptom severity score, BQ SYMPT) ความสามารถในการใช้ข้อมือ (functional status score, BQ FUNCT) และการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยการวัดแรงบีบมือ (dynamometry) พบว่าการใช้น้ำมันคาร์โมมายด์ร่วมกับอุปกรณ์พยุงข้อมือช่วยลดความรุนแรงของโรคอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทีได้รับยาหลอก โดยค่า BQ SYMPT ลดลงจาก 2.37 ± 0.96 คะแนน เป็น 1.65 ± 0.60 คะแนน รวมถึงเพิ่มความสามารถในการทำงานของข้อมือและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ผลการตรวจประสาทกล้ามเนื้อของผู้ป่วยด้วยไฟฟ้าแสดงให้เห็นว่าค่า compound latency ในผู้ป่วยลดลงจาก 2.54 ± 0.09 มิลลิวินาที เป็น 2.15 ± 0.31 มิลลิวินาที แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยมีความไวของกล้ามเนื้อในการตอบสนองต่อการกระตุ้นดีขึ้น โดยไม่พบการเปลี่ยนแปลงนี้ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของน้ำมันดอกคาร์โมมายด์ในบรรเทาอาการโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือใช้ร่วมกับการใช้อุปกรณ์พยุงข้อมือในผู้ป่วย CTS ระดับอ่อนและปานกลาง

Complement Ther Clin Pract 2017;26:61-7

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

273

ฤทธิ์ต้านมาลาเรียของสาร
ฤทธิ์ต้านมาลาเรียของสาร Sesquiterpene lactones จากหญ้าละออง (หญ้าดอกขาว)เมื่อทำการทดสอบฤทธิ์ต้านมาลาเรียของสาร 8α-tigloyloxy-hirsutinolide13-0 -acetate, 8α-(4-hydroxymethacryloyloxy)-hirsutinolide-13-0 -acetate และ vernolide D ซึ่งเป็นสารสกัดน้ำจากต้นหญ้าละออง พบว่าสารดังกล่าวสามารถต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ที่ทำให้เกิดโรคมาลาเรียที่ดื้อต่อยาคลอโรควิน โดยที่ค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) มีค่าเท่ากับ 3.9, 3.7 และ 3.5 ไมโครโมล ตามลำดับ เมื่อเปรีย...

1166

ฤทธิ์ปกป้องเซลล์สมองของหยูเฮียง
ฤทธิ์ปกป้องเซลล์สมองของหยูเฮียงการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ปกป้องเซลล์สมองของสารสกัดเมทานอลจากส่วนใบของหยูเฮียง (Pistacia lentiscus L.; Pl-M) ในเซลล์ SH-5YSY และ SK-N-BE(2)-C ซึ่งเป็นเซลล์ประสาทของมนุษย์ และเซลล์ค้ำจุน C6 mouse glial cell line จากหนูเม้าส์ พบว่าสารสกัดหยูเฮียงมีฤทธิ์ปกป้องเซลล์จากการถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระ ในการทดสอบด้วยวิธี 2,2-Diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging capacity, 2,2′-azinobis(3-ethylbenzothiazolin-6-sulfonic acid) radical cation (ABTS) ...

1319

ฤทธิ์คลายกังวลของน้ำมันหอมระเหยจากกระดังงาไทย
ฤทธิ์คลายกังวลของน้ำมันหอมระเหยจากกระดังงาไทยศึกษาฤทธิ์คลายกังวลของกระดังงาไทย (Cananga odorata) ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยในการศึกษาแบบเฉียบพลัน ให้หนูเม้าส์สูดดมกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงาไทยที่ความเข้มข้น 0.1, 1 และ 10% ตามลำดับ นาน 10 นาที จากนั้น 1 ชั่วโมงนำหนูไปทดสอบพฤติกรรมที่แสดงออกถึงภาวะเครียดและวิตกกังวลด้วยวิธี open field test (OF), elevated plus maze test (EPM) และ light and dark box test (LDB) ส่วนการศึกษาแบบเรื้อรัง ให้หนูเม้าส์สูดดมน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงาที่ควา...

1072

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการแบ่งตัวของเซลล์จากเมล็ดทับทิม
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการแบ่งตัวของเซลล์จากเมล็ดทับทิมการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์ ของสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดทับทิม (Punica granatum L., PSEE) ในเซลล์มะเร็งหลายๆ ชนิดของมนุษย์ พบว่า PSEE มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดกระบวนการออกซิเดชั่นของไขมัน (lipid peroxidation) ที่ดี มีฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากชนิด LNCaP ได้ดีกว่าสาร vinblastine ที่เป็นสารต้านมะเร็งถึงสามเท่า และการทดสอบกับเซลล์มะเร็งเต้านม พบว่ามีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวได้ 50% (...

1502

การศึกษาความปลอดภัยของเครื่องดื่มจากต้นอ่อนของบร็อคโคลี่
การศึกษาความปลอดภัยของเครื่องดื่มจากต้นอ่อนของบร็อคโคลี่สาร sulforaphane เป็นสารสารสำคัญที่พบได้ในพืชผักตระกูลกะหล่ำ (Cruciferous vegetables) โดยเฉพาะในต้นอ่อนของบร็อคโคลี่ ซึ่งสารดังกล่าวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเซลล์มะเร็ง ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมาย อย่างไรก็ตามมีรายงานการวิจัยบางส่วนระบุว่าสาร sulforaphane มีฤทธิ์กระตุ้น transcription factor ชนิด Nrf2 ที่ส่งผลให้การทำงานของต่อมไทรอยด์เกิดความผิดปกติ ซึ่งการได้รับสารดังกล่าวเป็นเวลานาน อาจเป็นสาเหตุของโรค hypo...

1665

ฤทธิ์คลายความกังวลของโสมอินเดีย
ฤทธิ์คลายความกังวลของโสมอินเดียการศึกษาฤทธิ์คลายความกังวลของของสาร docosanyl ferulate (DF) จากรากโสมอินเดีย (Withania somnifera (WS) (L.) Dunal) ด้วยการฉีดสาร DF ขนาด 0.05, 0.25 และ 2 มก./กก. เข้าใต้ผิวหนังให้แก่หนูเม้าส์ เปรียบเทียบกับยา diazepam ขนาด 2 มก./กก. เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านความวิตกกังวลด้วยวิธี elevated plus maze ผลการทดสอบพบว่าสาร DF มีฤทธิ์คลายความกังวลและถูกยับยั้งได้โดยยา flumazenil ยากลุ่ม benzodiazepine antagonist ได้เช่นเดียวกับกลุ่มที่ได้รับยา diazepam นอกจากนี้ยังสาร DF ไม่มีผลต...

79

ผลส้มเกลี้ยงยับยั้งการติดเชื้อไวรัส
ผลส้มเกลี้ยงยับยั้งการติดเชื้อไวรัส โรต้าไวรัส ( rotavirus ) เป็นสาเหตุสำคัญของอาการท้องเดินในทารกและเด็กเล็ก สารสกัดน้ำเดือดจากผลส้มเกลี้ยง ( Citrus aurantium L. ) มีผลยับยั้งการติดเชื้อชนิดนี้เมื่อทดลองในเซลล์เพาะเลี้ยง ( in vitro ) สารสำคัญที่แสดงฤทธิ์คือเฮสเพอริดิน ( hesperidin ) และนีโอเฮสเพอริดิน ( neohesperidin ) ค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งการติดเชื้อไวรัส 50% ( IC50 ) เท่ากับ 10 และ 25 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับBiol Pharm Bull 2000 ...

413

ฤทธิ์ของสารสกัดใบมะรุมป้องกันความเป็นพิษต่อตับ
ฤทธิ์ของสารสกัดใบมะรุมป้องกันความเป็นพิษต่อตับการป้อนสารสกัดใบมะรุมด้วย 80% hydroalcoholic ให้หนูขาวเพศผู้ ขนาด 200 และ 800 มก. / น้ำหนักตัว 1 กก.เป็นเวลา 14 วัน ก่อนเหนี่ยวนำให้เกิดการทำลายตับด้วยการป้อนสาร acetaminophen ใน 40% sucrose buffer ขนาด 3 กรัม / น้ำหนักตัว 1 กก.ในวันที่ 15 ของการศึกษา เมื่อวิเคราะห์ทางพยาธิวิทยาพบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ป้องกันความเป็นพิษต่อตับอย่างมีนัยสำคัญและช่วยลดระดับเอนไซม์ในตับ alanine aminotranferase (ALT), aspartate aminotranferase (AST) และ alkaline phos...

630

การศึกษาและพัฒนาลูกอมสารสกัดหญ้าดอกขาวเพื่อช่วยในการเลิกบุหรี่
การศึกษาและพัฒนาลูกอมสารสกัดหญ้าดอกขาวเพื่อช่วยในการเลิกบุหรี่การศึกษาพัฒนาลูกอมที่มีส่วนประกอบของสารสกัดหญ้าดอกขาว (หญ้าละออง) ซึ่งเตรียมโดยวิธีการตอกอัดโดยตรงหรือการทำแกรนูลเปียก โดยทำการศึกษาชนิดและปริมาณของสารปรุงแต่งในตำรับ รวมทั้งการทดสอบความแข็ง ความกร่อน ความแปรปรวนของน้ำหนัก การปลดปล่อยสารสกัดหญ้าดอกขาวจากลูกอม และการประเมินความพึงพอใจด้านกลิ่น รสชาติ ลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์โดยอาสาสมัครที่สูบบุหรี่ ในตำรับประกอบด้วย สารสกัดหญ้าดอกขาว (เตรียมโดยการแช่ผงสมุนไพรในน้ำ และนำสารละลายไปให้...