-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต่อระดับไขมันของเคอร์คูมินอยด์ในผู้ป่วยเบาหวาน
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต่อระดับไขมันของเคอร์คูมินอยด์ในผู้ป่วยเบาหวาน
การทดสอบฤทธิ์ของเคอร์คูมินอยด์สารสำคัญที่พบในขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) ต่อระดับไขมันของผู้ป่วยเบาหวาน โดยศึกษาแบบ randomized double-blind placebo-controlled trial ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 118 คน เมื่อให้ผู้ป่วยรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเคอร์คูมินอยด์แคปซูล (ประกอบด้วยเคอร์คูมินอยด์ 1,000 มก และสารไพเพอรีน 10 มก. ต่อวัน) ร่วมกับการรักษาเบาหวานตามปกติ เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยารักษาเบาหวาน เมื่อครบ 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มเคอร์คูมินอยด์มีระดับไขมันในเลือดได้แก่ คอเลสเตรอลรวม, non-HDL-cholesterol และ lipoprotein (a) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการรับประทาน ระดับ HDL เพิ่มขึ้นในกลุ่มเคอร์คูมินอยด์เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก ส่วนระดับไตรกลีเซอไรด์และ LDL-choloesterol มีค่าไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มเคอร์คูมินอยด์และกลุ่มยาหลอก การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการเสริมอาหารเคอร์คูมินอยด์สามารถทำให้ระดับไขมันที่เป็นตัวบ่งชี้การเกิดหลอดเลือดแข็งตัว ได้แก่ non-HDL-cholesterol และ lipoprotein (a) ลดลง จึงช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติร่วมกับการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้
Complement Ther Med 2017;33:1-5ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
สารอาหารและสารสำคัญในผลไม้พื้นเมืองของไทย
สารอาหารและสารสำคัญในผลไม้พื้นเมืองของไทยการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลไม้พื้นเมืองของไทย 3 ชนิด ที่เก็บรวบรวมจากพื้นที่อนุรักษ์ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ได้แก่ มะขามป้อม มะเม่า และมะกอก ในแง่ของสารอาหาร สารสำคัญ และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ เมื่อวัดด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH), Ferric reducing antioxidant power (FPAP) และ Oxygen radical absorbance capacity (ORAC) พบว่ามะขามป้อมจะมีปริมาณของวิตามินซี สารฟีนอลิกรวม และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุด ขณะที่มะเม่าจะมีปริมาณของสารอาหาร คาโร...
ฤทธิ์ปกป้องสมองและต้านการเกิดภาวะออกซิเดชั่นของพรมมิ
ฤทธิ์ปกป้องสมองและต้านการเกิดภาวะออกซิเดชั่นของพรมมิ การศึกษาฤทธิ์ปกป้องสมอง และต้านการเกิดภาวะออกซิเดชั่นของพรมมิในหนูแรท โดยเสริมผงใบพรมมิ (BM leaf powder) ลงไปในอาหารของหนูแรทขนาด 0.5-1% ให้หนูกินต่อเนื่องนาน 30 วัน พบว่าสามารถปกป้องสมองจากการเกิดภาวะออกซิเดชั่นได้ โดยสามารถลดระดับของผลิตภัณฑ์จากอนุมูลอิสระซึ่งได้แก่ malodialdehyde (MDA) ระดับสารก่อปฏิกิริยาที่ประกอบด้วยอะตอมออกซิเจนที่เป็นสารอนุมูลอิสระ (reactive oxygen species, ROS) และโปรตีนคาร์บอนิล (proitein carbonyls content) ใน...
ฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบของสารสกัดเมล็ดเทียนดำ
ฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบของสารสกัดเมล็ดเทียนดำ สารสกัดเมล็ดเทียนดำด้วยน้ำออกฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบที่เหนี่ยวนำด้วยพาราเซตามอลในหนูขาว เมื่อให้ในขนาด 150 มก./กก. ทุกวันเป็นเวลา 7 วัน โดยตรวจพบว่าค่า SGOT, SGPT และ ALP ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่จะมีค่าสูงเมื่อมีการอักเสบของตับ มีค่าลดลง และปริมาณบิลลิรูบินก็ลดลงด้วย Indian Drug 2002;39(7):399-400 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ลดการสะสมไขมันในตับของสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง
ฤทธิ์ลดการสะสมไขมันในตับของสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง (Glycine max L.) ช่วยลดการสะสมไขมันในตับไม่มีสาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease: NAFLD) ในสัตว์ทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไขมันในตับด้วยการกินอาหารไขมันสูง ทำการทดลองโดยแบ่งหนูแรท ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับอาหารไขมันสูงเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 และ 3 ได้รับอาหารไขมันสูงร่วมกับสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองในขนาด วันละ 10 และ 20 มก./กก. ตามลำดับ ติดต่อกันเป็นเวลา 12 สั...
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของแฝกหอม
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของแฝกหอมศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวานของต้นแฝกหอม (Vertiveria zizanioides L.) โดยทำการทดลองในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงด้วยการฉีด alloxan monohydrate ขนาด 150 มก./กก. เข้าทางเส้นเลือดดำ จากนั้น 48 ชั่วโมง แบ่งหนูแรทออกเป็น 6 กลุ่ม (กลุ่มละ 6 ตัว) กลุ่มที่ 1 ป้อนด้วยน้ำเกลือ (normal saline) กลุ่มที่ 2 ป้อนด้วยยาต้านเบาหวาน glibenclamide ขนาด 10 มล./กก./วัน กลุ่มที่ 3, 4, 5 และ 6 ป้อนสารสกัดเอทานอลรากแฝกหอมขนาด 100, 250, 500 และ 750 มก./กก./วัน ตามลำดับ หลังจา...
ผลของสารสกัดจากมะระในการลดการดูดซึมกลูโคส
ผลของสารสกัดจากมะระในการลดการดูดซึมกลูโคส เมื่อนำผลมะระมาสกัดด้วยน้ำ นำสารสกัดไประเหยเอาน้ำออก ได้ผลึกตกออกมา นำผลึกไปละลายน้ำและทดสอบ พบว่ายับยั้งการดูดซึมกลูโคส โซเดียม และของเหลว แต่จะยับยั้ง Tyrosine เมื่อให้ขนาดสูง(Biol Pharm Bull 2004;27(2):216-8) ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ลดอาการมึนเมาของขมิ้นอ้อย
ฤทธิ์ลดอาการมึนเมาของขมิ้นอ้อยศึกษาฤทธิ์ลดอาการมึนเมาจากสารสกัดของขมิ้นอ้อย โดยทดลองป้อนสารสกัดขมิ้นอ้อย 5 ชนิดให้แก่หนูเม้าส์ผ่านทางหลอดสวนกระเพาะ ได้แก่ สารสกัด 30% เอทานอล (ขนาด 500 และ 1,000 มก./กก.) ส่วนสกัดของขมิ้นอ้อยที่ละลายในเฮกเซน (n-hexane) (ขนาด 100 และ 300 มก./กก.) ส่วนสกัดของขมิ้นอ้อยที่ละลายใน เมทานอล (ขนาด 150 และ 450 มก./กก.) ส่วนสกัดของขมิ้นอ้อยที่ไม่ละลายในเมทานอล (ขนาด 250 และ 500 มก./กก.) และสารสำคัญ curcumenone ที่สกัดแยกได้จากส่วนสกัดของขมิ้นอ้อยที่ละลายในเฮกเซน โดยวิ...
ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเส้นเลือดและการอักเสบของอินทผลัม
ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเส้นเลือดและการอักเสบของอินทผลัมศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเส้นเลือด (anti-angiogenic) และการอักเสบของสารโพลีฟีนอล (polyphenol) ในน้ำเชื่อมอินทผลัมบนเซลล์ human vascular endothelial cells (HECV) พบว่าสารโพลีฟีนอลขนาด 60 และ 600 มคก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเส้นเลือดในระยะต่างๆ ได้แก่ การเคลื่อนย้ายเซลล์ (cell migration) การแพร่กระจายของเซลล์ (cell invasion) และการสร้างหลอดเลือดใหม่ (tube formation) และมีผลยับยั้งเอนไซม์ matrix metalloproteinase ซึ่งมีบทบาทต่อการเคลื่อนที่และก...
ฤทธิ์ต้านภาวะการมีโปรตีนในปัสสาวะของหนูถีบจักรจากสาร
ฤทธิ์ต้านภาวะการมีโปรตีนในปัสสาวะของหนูถีบจักรจากสาร polyphenol ของชาเขียวมีรายงานว่าการใช้ยา cyclosporin ซึ่งเป็นยาที่ใช้กดภูมิคุ้มกันเพื่อต้านการปฏิเสธอวัยวะที่ถูกปลูกถ่ายเข้าไปในร่างกาย ส่งผลให้เกิดความเป็นพิษต่อไตและเกิดภาวะการมีโปรตีนในปัสสาวะ การทดลองในหนูถีบจักรที่ทำให้เกิดภาวะการมีโปรตีนในปัสสาวะ โดยการฉีดยา cyclosporin เข้าทางช่องท้อง เมื่อร่วมกับการฉีดสาร polyphenol ของชาเขียวเข้าใต้ผิวหนังในขนาด 100มก./กก. พบว่าทำให้ระดับโปรตีนในปัสสาวะ และระดับของ malondialdehyde ในเนื้อเยื่อของไตลดล...