Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของราสพ์เบอร์รีแดงในหนูเม้าส์ที่เป็นเบาหวานและมีภาวะอ้วน

การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของราสพ์เบอร์รีแดง (Red raspberry; Rubus idaeus L.) โดยให้หนูเม้าส์ที่เป็นเบาหวานและมีภาวะอ้วน กินอาหารที่มีส่วนผสมของผงแห้งของผลราสพ์เบอร์รีแดง (freeze-dried raspberry) ร้อยละ 5.3 เป็นเวลานาน 8 สัปดาห์ พบว่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระภายในร่างกายดีขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และมีระดับ interleukin (IL)-6 ซึ่งเป็นสารก่อการอักเสบในเลือดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับราสพ์เบอร์รีแดง นอกจากนี้ยังพบว่าการได้รับราสพ์เบอร์รีแดงยังส่งผลเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ glutathione peroxidase ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในตับและในเลือดได้ดีกว่ากลุ่มควบคุมถึง 4.3 และ 2.1 เท่าตามลำดับ (p<0.05) แต่ไม่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ superoxide dismutase และ catalase (p>0.05) สำหรับตัวชี้วัดทางชีวภาพ (Biomarkers) ต่อความผิดปกติอื่นๆ ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม โดยพบว่าระดับของ total cholesterol, LDL และ resistin ในเลือดของหนูที่ได้รับราสพ์เบอร์รีแดงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่ในขณะเดียวกันระดับของ HDL ก็เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งทางผู้วิจัยให้เหตุผลว่าน่าจะเกิดจากการปรับสภาพของร่างกายเมื่อร่างกายมีการกำจัดไขมันออก (counter-compensate) และการศึกษาทางเคมีพบว่าสารออกฤทธิ์ที่พบในราสพ์เบอร์รีแดงน่าจะเป็นสารกลุ่มโพลีฟีนอลิก (polyphenolics) และใยอาหาร จากผลการทดลองในสัตว์ทดลองนี้สรุปได้ว่า การรับประทานผลราสพ์เบอร์รีแดงที่มีสารต้านอนุมูลอิสระน่าจะช่วยป้องกันภาวะเครียดออกซิเดชันและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดจากสารอนุมูลอิสระซึ่งมีสาเหตุมาจากเบาหวานและภาวะอ้วนได้

Food Chem 2017;227:305-14.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

862

ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเมลานินของสาร
ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเมลานินของสาร mangosenone F จากมังคุดสาร mangostenone F ที่แยกได้จากเมล็ดมังคุด มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase โดยมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งฤทธิ์เอนไซม์ได้ 50% (IC50) เท่ากับ 21 ไมโครโมลาร์ แต่ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทซิเนส (IC50) > 200 ไมโครโมลาร์) เมื่อทดลองในหลอดทดลอง สำหรับการทดสอบในเซลล์มะเร็ง B16F10 (mouse melanoma) ที่ถูกกระตุ้นให้มีการสร้างเมลานินด้วย α-melanocyte-stimulating hormone พบว่าสาร mangostenone F ความเข้มข้น 20 - 60 ไมโครโมลาร์ มีฤทธิ์ยับยั...

481

ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ แก้ปวด จากสารในรากมะรุมสาร aurantiamide acetate และ 1,3-dibenzyl urea จากรากมะรุม (Moringa oleifera  ) มีฤทธิ์ยับยั้งสาร tumor necrosis factor-alpha (TNF-α) และสาร interleukin 2 (IL-2) ในหลอดทดลอง โดยสารทั้ง 2 ชนิดนี้ จะเพิ่มขึ้นเมื่อเกิดการอักเสบ นอกจากนี้ สาร 1,3-dibenzyl urea ยังแสดงฤทธิ์บรรเทาปวด ซึ่งการออกฤทธิ์ขึ้นกับขนาดที่ให้เมื่อทดสอบในหนูแรท จากผลดังกล่าวทำให้สามารถสรุปได้ว่าสาร aurantiamide acetate และ 1,3-dibenzyl urea มีฤทธิ์ต้านการอักเสบซึ่งอาจจะเป็นปร...

165

ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์และพิษฆ่าแมลงของสารฟลาโวนอยด์จากน้อยหน่า
ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์และพิษฆ่าแมลงของสารฟลาโวนอยด์จากน้อยหน่า สารสกัดใบน้อยหน่า วงศ์ Annonaceae ได้ถูกนำไปตรวจสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในเมล็ดพืชและฤทธิ์ฆ่าแมลงCallosobruchus chinensis ที่เป็นศัตรูของเมล็ดพืช การสกัดแยกพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดพืชได้ทั้งหมด และมีฤทธิ์ฆ่าแมลงปีกแข็งได้ 80% ที่ความเข้มข้น 0.07 มก./ มล. ซึ่งสารกลุ่มฟลาโวนอยด์นี้มีฟลาโวนอล การศึกษานี้ชี้ให้เห็นประโยชน์ของสารสกัดใบน้อยหน่าที่ใช้เป็นยาฆ่าแมลงที่สามารถนำไ...

998

ฤทธิ์ยับยั้งลำไส้อักเสบของทับทิม
ฤทธิ์ยับยั้งลำไส้อักเสบของทับทิมศึกษาฤทธิ์ยับยั้งลำไส้อักเสบทั้งในภาวะเฉียบพลันและเรื้อรังของสาร ellagic acid จากทับทิม ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะลำไส้อักเสบด้วยการป้อน dextran sulphate sodium (DSS) ทั้งระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยการศึกษาในระยะเฉียบพลัน ใช้หนูเม้าส์สายพันธุ์ Balb/C 3 กลุ่ม (กลุ่มละ 7 - 10 ตัว) กลุ่มที่ 1 เลี้ยงด้วยอาหารและน้ำปกติ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 เลี้ยงด้วยอาหารปกติและน้ำที่มี DSS ผสมอยู่ 5% กลุ่มที่ 3 เลี้ยงด้วยอาหารที่มีสาร ellagic acid ผสมอยู่ 2% โดยน้ำหน...

1448

ฤทธิ์บรรเทาภาวะเครียดของกลิ่นหอมจากชาดำ
ฤทธิ์บรรเทาภาวะเครียดของกลิ่นหอมจากชาดำการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม ปกปิดทางเดียว และมีการไขว้กลุ่ม (cross-over, single-blind, randomized design) เพื่อศึกษาฤทธิ์บรรเทาภาวะเครียดของกลิ่นหอมจากชาดำ 2 ชนิดคือ ชาดาร์จีลิ่ง(Darjeeling) และชาอัสสัม (Assam) ในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 18 คน (เพศชาย 5 คน และเพศหญิง 13 คน) อายุเฉลี่ย 20.4 ± 0.81 ปี อาสาสมัครแต่ละคนจะถูกทดสอบ 3 ครั้ง แต่ละครั้งได้รับเครื่องดื่มต่างชนิดกัน ห่างกันครั้งละ 24 ชั่วโมง โดยในแต่ละรอบของการทดลองเมื่ออาสาสมัครมาถึงสถา...

1356

ฤทธิ์ปรับปรุงสมรรถภาพทางเพศชายที่ได้รับยาเมทาโดนของน้ำมันกุหลาบมอญ
ฤทธิ์ปรับปรุงสมรรถภาพทางเพศชายที่ได้รับยาเมทาโดนของน้ำมันกุหลาบมอญการศึกษาแบบ double-blind, randomized, placebo-controlled trial ในอาสาสมัครเพศชายที่มีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการได้รับยาเมทาโดน (methadone) เพื่อบำบัดอาการติดฝิ่น จำนวน 50 คน (อายุเฉลี่ย 40 ปี) โดยสุ่มให้อาสาสมัครรับประทานน้ำมันหอมระเหยจากดอกกุหลาบมอญ (Rosa Damascena) ในรูปแบบหลอดหยด วันละ 2 มล. (ใน 1 ดรอป ประกอบด้วย citronellol 17 มก.) หรือยาหลอก เป็นเวลา 8 สัปดาห์ จากนั้นให้อาสาสมัครตอบแบบประเมินตนเอง Self-...

791

รากอัญชันต้านโรคหอบหืดและอาการแพ้ทางผิวหนัง
รากอัญชันต้านโรคหอบหืดและอาการแพ้ทางผิวหนังการศึกษาฤทธิ์ต้านโรคหอบหืด และการแพ้ทางผิวหนัง (passive cutaneous anaphylaxis) ของสารสกัดเอทานอลรากอัญชัน โดยศึกษาฤทธิ์ต้านหอบหืดด้วยการฉีดสารสกัดเอทานอลรากอัญชันให้แก่หนูเมาส์เข้าทางช่องท้อง ขนาด 100 125 และ 150 มก./กก. หลังจากนั้น 30 นาที ฉีดนมสุกที่เย็นแล้วเข้าทางใต้ผิวหนังขนาด 4 มล./กก. เพื่อกระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิด leucocyte และ eosinophil ซึ่งเป็นสื่อกลาง (mediator) ของการเกิดอาการหอบหืด และทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเกิดกระบวนการ degranulation ของ mast ...

969

ฤทธิ์ลดน้ำหนักและน้ำตาลในเลือดของฮอพ
ฤทธิ์ลดน้ำหนักและน้ำตาลในเลือดของฮอพการศึกษาฤทธิ์ลดน้ำหนักและน้ำตาลในเลือดของสารสกัด xanthohumol จากฮอพ ในหนูแรทที่มีภาวะอ้วน (zucker fa/fa) ทั้งเพศผู้และเพศเมียจำนวน 48 ตัว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 12 ตัว (เพศผู้ 6 ตัว / เพศเมีย 6 ตัว) กลุ่มที่ 1-3 ป้อนสารรสกัด xanthohumol ขนาดวันละ 1.86 5.64 และ 16.9 มก. / กก. ของน้ำหนักตัว (ระดับต่ำ ระดับกลาง และระดับสูง) และกลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มควบคุม อาหารที่ใช้เลี้ยงหนูใน 3 สัปดาห์แรกเป็นอาหารชนิดที่มีไขมันสูง และอีก 3 สัปดาห์ถัดมาใช้อาหารปกติ ทำการเก็บ...

589

ผลของการบริโภคน้ำมันมะพร้าวต่อค่าชีวเคมีและสัดส่วนของร่างกาย
ผลของการบริโภคน้ำมันมะพร้าวต่อค่าชีวเคมีและสัดส่วนของร่างกายการศึกษาแบบ Randomized, double-blind, clinical trial ในผู้หญิงที่มีภาวะอ้วนจำนวน 40 คน อายุระหว่าง 20-40 ปี แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน ให้รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันถั่วเหลืองหรือน้ำมันมะพร้าว วันละ 30 มล. ร่วมกับการรับประทานอาหารแคลอรี่ต่ำและการออกกำลังกายโดยการเดินวันละ 50 นาที เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เมื่อทำการวัดค่าชีวเคมีและสัดส่วนของอาสาสมัครหลังจบการทดลอง 1 สัปดาห์พบว่าทั้งสองกลุ่มมีดัชนีมวลกาย (BMI) ลดลง แต่เฉ...