Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ต้านอาการวิตกกังวลและช่วยให้หลับของดาวเรืองใหญ่

การทดสอบฤทธิ์ต้านอาการวิตกกังวลและช่วยให้หลับของดาวเรืองใหญ่ (Tagetes erecta L.) ในหนูเม้าส์ โดยฉีดสารสกัดน้ำ เอทานอล ส่วนสกัดเอธิลอะซีเตต และส่วนสกัดเอทานอลจากดอกดาวเรืองใหญ่เข้าทางช่องท้อง (i.p.) ในขนาด 10, 30, 100 มก./กก. หรือ 300 มก./กก. (เฉพาะสารสกัดเอทานอล) ทำการทดสอบด้วยวิธี open-field, exploration cylinder และ hole-board โดยศึกษาความเป็นไปได้ของกลไกการออกฤทธิ์ด้วยการใช้ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งตัวรับต่าง ๆ เช่น WAY100635 (0.32 มก./กก., i.p.) และ flumazenil (10 มก./กก., i.p.) ซึ่งเป็น ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งตัวรับ 5-HT1A และ GABA/BDZs ตามลำดับ การวิเคราะห์ทางเคมีพบว่าสารสำคัญในดอกดาวเรืองใหญ่เป็นสารในกลุ่ม flavonoids เช่น rutin, kaempferol, quercetin, kaempferitrin, และสารในกลุ่ม terpenoid เช่น β-sitosterol จากผลการทดลองพบว่าสารสกัดทั้งหมดทำให้สัตว์ทดลองสงบและอยู่นิ่งมากขึ้น ทำให้ระยะเวลาก่อนหลับ (sleep latency) ลดลง และมีระยะเวลาในการนอนหลับ (sleep duration) ยาวนานขึ้น ซึ่งประสิทธิภาพของสารสกัดส่วนใหญ่จะขึ้นกับขนาดที่ให้ และพบว่ากลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัดต่างๆ เกี่ยวข้องกับตัวรับ 5-HT1A แต่ไม่มีผลกับตัวรับ BDZs ทำให้สามารถสรุปได้ว่า สารในกลุ่ม flavonoids และ terpenoid ในดอกดาวเรืองใหญ่มีฤทธิ์ต้านอาการวิตกกังวล และช่วยให้หลับ โดยมีกลไกการออกฤทธิ์เกี่ยวข้องกับ serotonergic neurotransmission

Biomed Pharmacother 2017;93:383-90.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1543

ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดจากเนื้อและเยื่อหุ้มเมล็ดของผลฟักข้าว
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดจากเนื้อและเยื่อหุ้มเมล็ดของผลฟักข้าวการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดเอทานอลจากเนื้อผลและเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในเซลล์macrophage RAW 264.7 ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วย lipopolysaccharide (LPS) พบว่าสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ด ความเข้มข้น 0.5-2.0 มก./มล. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ดีกว่าสารสกัดจากเนื้อผล โดยยับยั้งไนตริกออกไซด์ เอนไซม์ inducible nitric oxide synthase (iNOS), cyclooxygenase-2 (COX-2), tumor necrosis factor alpha (TNF-α) และ interleukin-6 (IL-6)...

556

ผลของสาร
ผลของสาร oligosaccharides ในถั่วเหลืองต่อระดับไขมัน น้ำตาลในลือด และการทำงานของเอนไซม์ต้านการเกิดออกซิเดชั่นในหนูที่ไขมันสูงการศึกษาในหนูแรท 50 ตัว ที่เหนี่ยวนำให้มีไขมันในเลือดสูงโดยให้กินอาหารที่มีไขมันสูง แบ่งหนูออกเป็น 5 กลุ่มๆ ละ 10 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ให้กินอาหารปกติ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มไขมันสูงโดยให้กินอาหารที่มีไขมันสูงอย่างเดียว กลุ่มที่ 3-5 เป็นกลุ่มที่กินอาหารที่มีไขมันสูงร่วมกับสาร oligosaccharides จากถั่วเหลือง ขนาด 150, 300 และ 450 มก./กก. ตามลำดับ นาน 45 วัน พบว่ากล...

136

ฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้หนูตะเภาของยี่หร่า
ฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้หนูตะเภาของยี่หร่า นักวิจัยจากบราซิลได้ทดลองนำเอาน้ำมันหอมระเหยจากยี่หร่า ไปทดสอบกับลำไส้หนูตะเภาที่ตัดแยกจากลำตัว พบว่าในขนาด 0.1-1000 มคก./มล. มีผลคลายกล้ามเนื้อลำไส้ และต้านการหดเกร็งที่เกิดจาก KCl และ acetylcholine ค่าที่ทำให้คล้ายกล้ามเนื้อได้ 50% (IC50) คือ 23.8 มคก./มล. และที่ต้าน KCl และ acetylcholine 50% คือ 18.6 และ 70 มคก./มล. หลักฐานการทดลองนี้สนับสนุนการใช้ในเรื่องท้องอืดเฟ้อ J Ethnopharmacol 2002;81(1):1-4 ข้อมูลอ...

1218

ฤทธิ์กระตุ้นกำหนัดของเมล็ดมะรุม
ฤทธิ์กระตุ้นกำหนัดของเมล็ดมะรุมการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ soluble epoxide hydrolase (sEH) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวขององคชาต (penile erection) ในหลอดทดลอง ของสารสกัดเมทานอลและสารสกัดน้ำของพืชจำนวน 30 ชนิด พบว่าสารสกัดเมทานอลของเมล็ดมะรุม (Moringa oleifera Lam.; MEMO) มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเอนไซม์ดังกล่าวได้ดีที่สุด ที่ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งได้ 50% (IC50) เท่ากับ 1.7 ± 0.1 มคก./มล. เมื่อนำสารสกัดดังกล่าวมาทดสอบกับกล้ามเนื้อเรียบส่วนคอร์ปัส คาเวอร์โนซัม (c...

985

ฤทธิ์ป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของอบเชยจีน
ฤทธิ์ป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของอบเชยจีนศึกษาฤทธิ์ป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดฉียบพลันของสารสกัด cinnamic aldehyde (CA) และ cinnamic acid (CD) จากอบเชยจีน (Cinnamomum cassia ) โดยทำการทดลองในหนูแรทเพศผู้ 9 กลุ่ม (กลุ่มละ 10 ตัว) กลุ่มที่ 1 และ 2 เลี้ยงด้วยอาหารและน้ำปกติ กลุ่มที่ 2-4 ป้อนสารสกัด CA ขนาดวันละ 22.5, 45 และ 90 มก./กก./ตัว ตามลำดับ กลุ่มที่ 5 - 7 ป้อนสารสกัด CD ขนาดวันละ 37.5, 75 และ 150 มก./กก./ตัว ตามลำดับ กลุ่มที่ 8 ป้อนยา propranolol ขนาดวันละ 30 มก./กก/ตัว เมื่อเลี้ยง...

1285

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารโพลีฟีนอลจากมะกอกในหนูที่มีภาวะการติดแอลกอฮอล์เรื้อรัง
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารโพลีฟีนอลจากมะกอกในหนูที่มีภาวะการติดแอลกอฮอล์เรื้อรังการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระซึ่งเกิดจากภาวะการติดแอลกอฮอล์เรื้อรังของสารโพลีฟีนอลที่แยกได้จากเนื้อผลมะกอกซึ่งเหลือจากกระบวนการผลิตน้ำมันมะกอกบริสุทธ์ (extra virgin olive oil) โดยให้หนูเม้าส์กินสารโพลีฟีนอลในขนาด 20 มก./กก./วัน โดยนำมาละลายในน้ำที่มีเอทานอลความเข้มข้น 11% เป็นเวลานาน 2 เดือน จากการวิเคราะห์ทางเคมีพบว่าสารโพลีฟีนอลที่นำมาทดสอบมีสารไฮดรอกซีไทโรซอล (Hydroxytyrosol) และอนุพันธ์เป็นส่วนประกอบหลัก (30 และ 2...

1559

ฤทธิ์ยับยั้งการดื้อยาต้านมะเร็งของสาร
ฤทธิ์ยับยั้งการดื้อยาต้านมะเร็งของสาร β-sitosterol จากพืชสาร β-sitosterol เป็นสารสำคัญที่สามารถพบได้ในพืชหลายชนิด เช่น ในน้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช ผลไม้ต่างๆ และในพืชตระกูลเบอร์รี่ การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการดื้อยาต้านมะเร็งของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ชนิด HCT116 ซึ่งเป็นเซลล์ชนิดดื้อยา (drug-resistant colorectal cancer; CRC) โดยการบ่มเซลล์มะเร็งร่วมกับสาร β-sitosterol และยาต้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ oxaliplatin (OXA) พบว่าสาร β-sitosterol ออกฤทธิ์กระตุ้น p53 โดยรบกวนการจับกันของ...

1604

ผลของสารสกัดมาตรฐานฮอพต่อการทำงานของเอนไซม์
ผลของสารสกัดมาตรฐานฮอพต่อการทำงานของเอนไซม์ cytochrome P450การศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครเพศหญิงสุขภาพดีที่อยู่ในวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือน (peri- and postmenopausal women) อายุ 40-72 ปี จำนวน 16 คน เพื่อศึกษาผลของสารสกัดมาตรฐานฮอพ (standardized hop extract) ต่อการทำงานของเอนไซม์ cytochrome P450 ชนิด CYP2C9, CYP1A2, CYP2D6, และ CYP3A4/5 โดย probe substrate ที่ใช้คือ tolbutamide, caffeine, dextromethorphan, และ alprazolam ตามลำดับ โดยเริ่มต้นอาสาสมัครจะได้รับ tolbutamide 250 มก., caffeine 100 มก....

1131

ฤทธิ์ลดไขมันของเมล็ดเทียนดำในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
ฤทธิ์ลดไขมันของเมล็ดเทียนดำในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนการศึกษาทางคลินิกในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนอายุ 45-60 ปี ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง โดยแบ่งออกเป็น กลุ่มแรก จำนวน 19 คน ให้รับประทานแคปซูลผงเมล็ดเทียนดำ (Nigella sativa ) ขนาด 1 กรัม หลังอาหารเช้าทุกวัน และกลุ่มที่ 2 จำนวน 18 คน ให้รับประทานยาหลอก ทดสอบเป็นเวลา 2 เดือน ทำการวัดระดับไขมันในเลือดก่อนเริ่มการทดสอบ ช่วงระหว่างการทดสอบ 1 เดือน เมื่อสิ้นสุดการทดสอบ และหลังจากสิ้นสุดการทดสอบ 1 เดือน ผลการทดสอบพบว่า เทียนดำช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลรวม ไตร...