Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ผลของสาร piperine ต่อการเปลี่ยนแปลงทางเภสัชจลนศาสตร์ของยา diclofenac ในอาสาสมัครสุขภาพดี

การศึกษาผลของสาร piperine ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบในพริกไทยต่อการเปลี่ยนแปลงทางเภสัชจลนศาสตร์ของยา diclofenac ในอาสาสมัครสุขภาพดี เพศชาย จำนวน 12 คน อายุระหว่าง 25-32 ปี โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะควบคุม (control phase) และระยะทดสอบ (treatment phases) ซึ่งทั้ง 2 ระยะ จะทิ้งช่วงห่างกัน 1 สัปดาห์ สำหรับในระยะควบคุม จะให้อาสาสมัครรับประทานยา diclofenac ขนาด 100 มก. ร่วมกับน้ำ 240 มล. เพียงครั้งเดียวในตอนเช้า หลังจากที่อดอาหารมา 10 ชั่วโมง ส่วนในระยะทดสอบอาสาสมัครจะได้รับสาร piperine ขนาด 20 มก. วันละครั้ง หลังจากอดอาหารเช่นกัน เป็นเวลา 10 วัน จากนั้นในตอนเช้าของวันที่ 11 จะได้รับยา diclofenac แบบเดียวกับในระยะควบคุม และทำการเจาะเลือดของอาสาสมัคร พบว่าสาร piperine มีผลทำให้ค่า Cmax, AUC, T1/2 ของยาเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ระดับยาในเลือดสูงขึ้น และค่า Kel และ CL/F ของยาลดลง ทำให้ลดอัตราการกำจัดยาออกจากร่างกาย เมื่อเทียบกับระยะควบคุม แสดงว่า piperine มีผลเปลี่ยนแปลงเภสัชจลศาสตร์ของยา diclofenac โดยอาจผ่านการยับยั้งเอนไซม์ CYP2C9 และสาร piperine จะเพิ่มค่าชีวประสิทธิผล (bioavailability) ของยา ดังนั้นการใช้ยา diclofenac ร่วมกับ piperine อาจเป็นแนวทางใหม่ของการรักษาอาการอักเสบโดยช่วยลดขนาดของยาซึ่งจะช่วยลดโอกาสในการเกิดผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารจากการใช้ยาในขนาดสูงได้

Xenobiotica 2017;47(2):127-32.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

214

ฤทธิ์เพิ่มความจำของชะเอมเทศ
ฤทธิ์เพิ่มความจำของชะเอมเทศการศึกษาผลของสารสกัดน้ำชะเอมเทศในหนูถีบจักร พบว่าเมื่อให้หนูกินสารสกัดในขนาด 75, 150 และ 300 มก./กก. เป็นเวลา 4 วัน กลุ่มที่ได้รับ 150 มก./กก. มีการเรียนรู้และความจำเพิ่มขึ้น และยังช่วยทำให้การเสียความทรงจำเนื่องจาก diazepam และ scopolamine หายไป ซึ่งฤทธิ์นี้อาจเนื่องมากจากฤทธิ์ต้านการอักเสบ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ การที่ยับยั้งฤทธิ์ของ scopolamine อาจเนื่องจากมีผลต่อ cholinergic transmission ในสมองหนูJ Ethnopharmacol 2004;91(2-3):361-5 ข้อมู...

816

สารสกัดจากทับทิมส่งเสริมการสร้างกระดูกในลูกหนูในครรภ์
สารสกัดจากทับทิมส่งเสริมการสร้างกระดูกในลูกหนูในครรภ์การศึกษาผลของสารสกัดจากน้ำและเปลือกผลทับทิมต่อกระดูกในลูกหนูเม้าส์ในครรภ์ โดยหนูเม้าส์ ท้องถูกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว คือ กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสารใด กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากน้ำทับทิม (PJE) ขนาด 3.3 มล./กก./วัน กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากเปลือกผลทับทิม (PHE) ขนาด 1.0 ก./กก./วัน และกลุ่มที่ได้รับทั้งสารสกัดจากน้ำทับทิมและเปลือกผลทับทิม (PME) โดยจะได้รับการป้อนวันละ 1 ครั้ง ตั้งแต่อายุครรภ์ 8 วันจนถึง 18 วันและในวันที่ 19 ของอายุครรภ์ ลูก...

732

ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพซึ่งเป็นสาเหตุของการบูดเน่าในอาหารจากน้ำมันยูคาลิป
ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพซึ่งเป็นสาเหตุของการบูดเน่าในอาหารจากน้ำมันยูคาลิปการทดสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพของน้ำมันหอมระเหยจากยูคาลิปต่อเชื้อแบคทีเรีย เช่น Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, P. fluorescens, Bacillus subtilis, Staphylococcus aureus เชื้อรา เช่น Penicillium digitatum, Aspergillus flavus, A. niger, Mucor spp., Rhizopus nigricans, Fusarium oxysporum และยีสต์ เช่น Candida albicans, Sacchromyces cerevisiae  ด้วยวิธี agar dilution/well diffusion และ disc volatilization พบว่าน้ำมันยูค...

1326

สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าหญ้าแห้วหมู
สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าหญ้าแห้วหมูการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าหญ้าแห้วหมู พบว่าสารสำคัญส่วนใหญ่ในน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ α-cyperone (38.46%), cyperene (12.84%) และ α-selinene (11.66%) น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ดีในการต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH และ ABTS radicals scavenging และ Ferric reducing antioxidant power มีฤทธิ์ป้องกันความเสียหายของดีเอ็นเอที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย ferrous ion (Fe2+) และ 2,2′-azobi...

1170

ฤทธิ์ต้านอาการข้ออักเสบของโกฐก้านพร้าว
ฤทธิ์ต้านอาการข้ออักเสบของโกฐก้านพร้าวการทดสอบฤทธิ์ต้านอาการข้ออักเสบของสารสกัดน้ำ-แอลกอฮอล์ (hydroalcoholic extract) จากรากของโกฐก้านพร้าว (Picrorhiza kurroa rhizome extract; PKRE) ในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยสาร formaldehyde และ adjuvant induced arthritis (AIA) โดยให้หนูกิน PKRE ในขนาด 50 , 100 และ 200 มก. จากการทดลองพบว่า PKRE สามารถลดการแสดงออกของสารก่อการอักเสบ เช่น interleukin-1β (IL-1β), interleukin-6 (IL-6), tumor necrosis factor receptor-1 (TNF-R1) และ vascular en...

1603

การศึกษาทางคลินิกผลของมะเขือยาวในการปรับปรุงค่าความดันโลหิตและสุขภาพจิต
การศึกษาทางคลินิกผลของมะเขือยาวในการปรับปรุงค่าความดันโลหิตและสุขภาพจิตการศึกษาทางคลินิก (randomized, double-blind, placebo-controlled, parallel-group comparative study) ผลของมะเขือยาว (Solanum melongena; eggplant) ในการปรับปรุงค่าความดันโลหิตและสุขภาพจิต โดยทำการศึกษาในอาสาสมัครผู้ป่วยที่มีภาวะเครียดจำนวน 100 คน ที่มีค่าความดันโลหิตสูงปกติหรือความดันโลหิตสูงระดับที่ 1 แบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับแคปซูลที่มีผงจากมะเขือยาว 1.2 ก./วัน (ได้รับ acetylcholine จากมะเขือยาว 2.3 มก./วัน) เป็นเวลา 12 สัปดาห...

851

สาร
สาร Kuguacin J จากใบมะระช่วยลดการดื้อยาของเซลล์มะเร็งการศึกษาในเซลล์มะเร็งปากมดลูกที่ดื้อยา (KB-V1) พบว่าสาร Kuguacin J (สารสำคัญที่แยกได้จากใบมะระ) ช่วยให้เซลล์มะเร็งมีความไวต่อยารักษามะเร็ง vinblastine และ paclitaxel ได้มากขึ้น จากการนับและแยกเซลล์ด้วยวิธี flow cytometry พบว่า Kuguacin J มีผลยับยั้งการขนส่งของ P-glycoprotein ทำให้มีเซลล์การสะสมสารเรืองแสง rhodamine 123 และ calcein AM เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่า Kuguacin J ช่วยเพิ่มการสะสมและลดปริมาณการขับยา [3H]-vinblatine ออ...

1264

ฤทธิ์ลดอาการเหนื่อยล้าของฟ้าทะลายโจร
ฤทธิ์ลดอาการเหนื่อยล้าของฟ้าทะลายโจรการศึกษาทางคลินิกแบบ a randomised double-blind placebo-controlled trial ในผู้ป่วยโรคมัลติเพิลสเกลอโรซิส หรือโรคเอ็มเอส หรือปลอกประสาทอักเสบ ที่พบการเป็นซ้ำ (relapsing-remitting multiple sclerosis; RRMS) และได้รับการรักษาด้วย interferon beta (IFN-β) จำนวน 22 คน อายุระหว่าง 18-50 ปี โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับยาเม็ดสารสกัดฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees) 170 มก. (ประกอบด้วยสาร andrographolides 85 มก.) ทุก 12 ชั่วโมง ต่อเนื่องเป็นเวลา 12...

1153

ฤทธิ์ปกป้องผิวหนังของเมล็ดผักเหมียง
ฤทธิ์ปกป้องผิวหนังของเมล็ดผักเหมียงทดสอบฤทธิ์ปกป้องผิวหนังของเมล็ดผักเหมียง (Gnetum gnemon ) สกัด ที่ประกอบไปด้วยสาร trans-resveratrol และอนุพันธ์ (gnetin C, gnemonoside A และ gnemonoside D) ในหนูเม้าส์ที่มียีน copper/zinc superoxside dismutase (Sod1 ) ซึ่งควบคุมเอนไซม์ที่มีความจำเป็นต่อการคงสภาพของผิวหนังบกพร่อง ส่งผลให้ยีน colla1 ซึ่งควบคุมการแสดงออกของคอลลาเจนลดลง และโปรตีน p53 ที่ทำให้เกิดการเสื่อมสลายของเซลล์เพิ่มขึ้น ผิวหนังจึงเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น โดยแบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มค...