-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านเชื้อรา
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านเชื้อรา Candida ของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดมะละกอ
การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดมะละกอ (Carica papaya Linn.) พบว่าสารเคมีหลัก คือ benzyl isothiocyanate ซึ่งพบได้ถึง 99.36% และเมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา พบว่าสามารถต้านเชื้อรา Candida ได้แก่ C. albicans, C. glabrata, C. krusei, C. parapsilosis และ C. tropical เมื่อทดสอบด้วยวิธี disc diffusion และ broth dilution โดยพบว่ามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ inhibition zone อยู่ในช่วง 14.2-33.2 มม. สาร benzyl isothiocyanate สามารถยับยั้ง C. albicans ซึ่งดื้อต่อ fluconazole ได้ โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งเชื้อ (minimal inhibitory concentrations) อยู่ในช่วง 4-16 มคก./มล. และค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการฆ่าเชื้อ (minimum fungicidal concentrations) อยู่ในช่วง 16-64 มคก./มล. การศึกษานี้สนับสนุนการใช้น้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดมะละกอเพื่อเป็นแหล่งธรรมชาติของสาร benzyl isothiocyanate ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อรา Candida
Letters in Applied Microbiology 2017;64:350-54.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
สารสำคัญในบัวบกต้านการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนัง
สารสำคัญในบัวบกต้านการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนัง การศึกษาในหลอดทดลอง (in vitro ) โดยใช้เซลล์เพาะเลี้ยงชนิด SVK-14keratinocytes แสดงว่าสารสกัดน้ำจากบัวบก (Centella asiatica (L.) Urb.) ให้ผลอย่างอ่อนในการต้านการ แบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังชั้น keratin (ค่า IC50 = 209.9 มก./มล.) แต่สารสำคัญ 2 ชนิดในบัวบกคือ medecassoside และ asiaticoside ให้ผลใกล้เคียงกับ dithranol ที่ใช้เป็นสารเปรียบเทียบ โดยสารทั้ง 3 มีค่า IC50 = 8.6, 8.4 และ 5.2 มิลลิโมล ตา...
สารสกัดถั่วเหลืองกระตุ้นการทำงานของเซลล์กระดูก
สารสกัดถั่วเหลืองกระตุ้นการทำงานของเซลล์กระดูก เมื่อศึกษาผลของสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดถั่วเหลือง ( Glycine max Merr. ) ต่อการทำงานของเซลล์กระดูกเพาะเลี้ยง ชนิดออสทีโอบลาสท์ ( osteoblast MC 3T3-E1 cell culture ) พบว่ามีการเพิ่มขึ้นของเซลล์ที่มีชีวิต ดีเอนเอ ( DNA ) และคอลลาเจน ( collagen ) เพิ่มการทำงานของเอนไซม์อัลคาไลน์ ฟอสฟาเทส ( alkaline phosphatase ของเซลล์กระดูก ผลดังกล่าวข้างต้นถูกยับยั้งด้วยทามอซิเฟน ( tamoxifen ) ซึ่งเป็นยาสังเครา...
ผลของการกินสารสกัดแป๊ะก๊วยเป็นระยะเวลานานมีผลต่อตับและระบบไหลเวียนโลหิต
ผลของการกินสารสกัดแป๊ะก๊วยเป็นระยะเวลานานมีผลต่อตับและระบบไหลเวียนโลหิตเมื่อป้อนอาหารที่มีสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย 0.5% ให้กับหนูขาวที่มีอายุมากและมีความดันโลหิตสูง (Spontaneously Hypertensive Rat) เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า น้ำหนักตับต่อน้ำหนัก ตัว 100 กรัม เพิ่มขึ้นประมาณ 1.4 เท่า ขณะที่น้ำหนักตัวไม่เปลี่ยนแปลง ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับโปรตีนและอัลบูมินในเลือด,ระดับ AST (aspartate aminotransferase)ในเลือดไม่เปลี่ยนแปลง แต่ระดับ ALT (alanine aminotransferase) ในเลือดเพิ่มขึ้นมากกว่า 1.2 เท่า, ...
ฤทธิ์แก้ปวดและต้านการอักเสบของหญ้าพันงูแดง
ฤทธิ์แก้ปวดและต้านการอักเสบของหญ้าพันงูแดงการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบและแก้ปวดของสารสกัดเมทานอลจากหญ้าพันงูแดง พบว่าเมื่อป้อนสารสกัดเมทานอลจากหญ้าพันงูแดง ขนาด 50, 100 และ 200 มก./กก.น้ำหนักตัวให้แก่หนูแรท ช่วยลดอาการบวมอักเสบบริเวณอุ้งเท้าที่เกิดจากการทำให้ปวดด้วย carrageenan ได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยให้ผลดีใกล้เคียงกับการป้อนยา Indomethacin (ยาแก้ปวดอักเสบ ขนาด 10 มก./กก.น้ำหนักตัว) และสารสกัดหญ้าพันงูแดงยังสามารถยับยั้งการบวมของใบหูที่เกิดจากการฉีด arachidonic acid และ xylene ได้อย่างมีนัยสำคัญ ...
ผลของการสูบบุหรี่ต่อเซลล์ในช่องปาก
ผลของการสูบบุหรี่ต่อเซลล์ในช่องปากการศึกษาทางระบาดวิทยาชนิดมีกลุ่มที่เป็นกรณีศึกษาและกลุ่มควบคุม ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Case control cross-sectional study) โดยทำการศึกษาผลของการสูบบุหรี่ต่อความผิดปกติของเซลล์บริเวณผิวหน้าของลิ้น (dorsum of the tongue) และเซลล์เยื่อบุผิวบริเวณช่องปาก (buccal epithelium) ในอาสาสมัครจำนวน 174 คน จากเมืองฮาอิล (Hail) ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งประกอบด้วยผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ 101 คน และผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 73 คน จากการตรวจสอบเซลล์ต่างๆ ข้างต้นในช่องปาก พบว่าผู้ที่สูบบุ...
ฤทธิ์ปกป้องสมองของสารจากไหมข้าวโพด
ฤทธิ์ปกป้องสมองของสารจากไหมข้าวโพดการทดสอบฤทธิ์ปกป้องเซลล์สมองของสาร maysin ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม flavone glycoside ที่แยกได้จากยอดเกสรตัวเมียของข้าวโพด (Zea mays L.) หรือที่เรียกว่าไหมข้าวโพด (corn silk) ในเซลล์สมองของมนุษย์ (human neuroblastoma) ชนิด SK-N-MC ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการตายแบบ apoptosis ด้วยสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O22O2 ได้ อีกทั้งยังเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของเซลล์ และลดการหลั่งสาร lactate dehydrogenase (LDH) ซึ่งสารดังกล่าวจะเกิดการหลั่งเมื่อเซลล์ถูกทำลาย สาร maysin สามารถลดระดับข...
ผลของกล้วยในการปกป้องผิวจากการถูกทำลายด้วยแสงยูวี
ผลของกล้วยในการปกป้องผิวจากการถูกทำลายด้วยแสงยูวีการศึกษาผลปกป้องผิวจากการถูกทำลายด้วยแสงยูวีของกล้วยไทย ได้แก่ กล้วยน้ำว้าและกล้วยไข่ ในหนูเม้าส์ โดยป้อนเนื้อกล้วยน้ำว้าหรือกล้วยไข่สด ขนาด 0.5, 1 และ 1.5 มก./กก./วัน และวิตามินซี ขนาด 50 มก./วัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ แก่หนูที่กระตุ้นให้ผิวถูกทำลายด้วยการฉายรังสียูวี บี ที่ผิวหนัง (3 ครั้ง/สัปดาห์) พบว่ากล้วยไข่ ขนาด 1 มก./กก. และวิตามินซี มีผลเพิ่มความยืดหยุ่นของผิว และปริมาณของกลูตาไธโอนที่ลดลงจากการถูกทำลายด้วยแสงยูวีได้ ขณะที่กล้วยน้ำว้าไม่มี...
การศึกษาความเป็นพิษต่อตัวอ่อนในครรภ์ของใบอาร์ติโชค
การศึกษาความเป็นพิษต่อตัวอ่อนในครรภ์ของใบอาร์ติโชคการศึกษาความเป็นพิษของใบอาร์ติโชค (Cynara scolymus L.) ต่อตัวอ่อนในครรภ์ของหนูแรท ด้วยการป้อนผงแห้งของสารสกัดน้ำจากใบอาร์ติโชค ขนาด 1, 2 และ 4 ก./น้ำหนักตัว 1 กก. ให้แก่หนูแรทเพศเมียตั้งแต่มีอายุครรภ์ 6 วันต่อเนื่องถึงอายุครรภ์ 19 วัน ซึ่งพบว่าสารสกัดน้ำจากอาร์ติโช๊คไม่มีผลต่ออัตราการกินอาหาร เปอร์เซนต์การสูญเสียศักยภาพในการฝังตัวของตัวอ่อนทั้งก่อนและหลังกระบวนการฝังตัว (preimplantation loss and postimplantation loss) น้ำหนักรก และค่าชีวเคมีอื่นๆ...
ฤทธิ์แก้ไอของมะขามป้อม
ฤทธิ์แก้ไอของมะขามป้อม จากการศึกษาผลของสารสกัดลูกมะขามป้อมแห้งด้วย absolute ethanol ต่อการระงับการไอ พบว่าในขนาดสูง 200 มก/กก. เมื่อให้แมวกินจะระงับอาการไอได้ดี แม้จะไม่ดีเท่า codeine แต่ดีกว่า dropropizine และการที่ระงับอาการไอได้เนื่องจากมีฤทธิ์แก้ปวด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และยังเพิ่มการหลั่งในทางเดินหายใจ(Phytomedicine 2003;10:583-4) ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...