Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ต้านภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวานของสารสำคัญในแอปเปิลและขิง

การศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวานของสาร phloretin จากผลแอปเปิลและสาร [6]-gingerol จากเหง้าขิง ในหนูเม้าส์ชนิด C57BL/6 ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยการกินอาหารที่มีไขมันสูงจนเกิดภาวะอ้วนซึ่งนำไปสู่การเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โดยแบ่งหนูเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 11 ตัว กลุ่มที่ 1 ได้รับอาหารมาตรฐาน กลุ่มที่ 2 ได้รับอาหารที่มีไขมันสูง กลุ่มที่ 3 ได้รับอาหารที่มีไขมันสูง + phloretin 25 มก./กก. กลุ่มที่ 4 ได้รับอาหารที่มีไขมันสูง + phloretin 75 มก./กก. กลุ่มที่ 5 ได้รับอาหารที่มีไขมันสูง + [6]-gingerol 25 มก./กก. และกลุ่มที่ 6 ได้รับอาหารที่มีไขมันสูง + [6]-gingerol 75 มก./กก. ให้สาร phloretin และ [6]-gingerol ด้วยการฉีดเข้าทางช่องท้องของหนู 3 ครั้งต่อสัปดาห์ นาน 17 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับ phloretin และ [6]-gingerol มีระดับน้ำตาลในเลือด alanine aminotransferase, aspartate aminotransferase, advanced glycation end-products (AGEs) และ insulin ลดลง โดยพบว่า phloretin และ [6]-gingerol ทำให้ระดับของ AGEs และ N(ε)-(carboxymethyl)lysine (CML) ลดลง (AGEs และ CML เป็นสารที่พบได้มากในคนที่เป็นเบาหวาน) ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ผ่านทาง Nrf2 pathway และเพิ่มอัตราส่วน GSH/GSSG, ระดับเอนไซม์ heme oxygenase-1 และ glyoxalase 1 ที่เนื้อเยื่อตับ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสาร phloretin จากผลแอปเปิลและสาร [6]-gingerol จากขิงมีศักยภาพที่สามารถบรรเทาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวานได้

Food Chem 2017;226:79-88.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1386

ฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของสารสำคัญจากขิง
ฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของสารสำคัญจากขิงการทดสอบฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของสาร zingerone (ZGR) ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม phenolic alkanone ที่พบได้ในขิง (Zingiber officinale) ในหลอดทดลอง (in vitro) และนอกร่างกาย (ex vivo) ของหนูเม้าส์ โดยการให้ ZGR มีความเข้มข้นในเลือด 10, 25 และ 50 ไมโครโมลาร์ (เทียบเท่ากับการให้ ZGR ในขนาด 0.14, 0.36, และ 0.72 มก./กก.) เปรียบเทียบผลกับการได้รับยาต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด rivaroxaban จากนั้นจึงประเมินความสามารถในการยับยั้ง factor Xa (FXa) และก...

472

ผลของการดื่มน้ำผลไม้ต่อภาวะของสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
ผลของการดื่มน้ำผลไม้ต่อภาวะของสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายการศึกษาทางระบาดวิทยาเป็นจำนวนมากที่สนับสนุนว่า การรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งรวมทั้งโรคของภาวะหลอดเลือดและหัวใจ การศึกษาโดยให้อาสาสมัครเพศหญิงสุขภาพดีจำนวน 32 คน ดื่มเครื่องดื่ม 3 ชนิดคือ น้ำผลไม้ที่ประกอบด้วยองุ่น ส้ม และแอปริคอท (Fb), Fb ที่ผสมกับนมไขมันต่ำ (FbM) และ FbM ที่ผสมกับธาตุเหล็ก (FbMFe) ในขนาด 500 มล./วัน แล้วสังเกตระดับของสารต้านอนุมูลอิสระในเลือด โดยอาสาสมัครแต่ละคนจะได้รับ Fb ...

1390

ฤทธิ์ปกป้องไตของสารสกัดเอทานอลจากเทียนสัตตบุษย์
ฤทธิ์ปกป้องไตของสารสกัดเอทานอลจากเทียนสัตตบุษย์การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเอทานอลจากส่วนเหนือดินของเทียนสัตตบุษย์ (Pimpinella anisum L.) ในการป้องกันความเป็นพิษต่อไตจากยา gentamicin ในหนูแรท โดยฉีดยา gentamicin ขนาด 100 มก./กก./วัน เข้าทางช่องท้อง และป้อนทางปากด้วยสารสกัดเทียนสัตตบุษย์ ขนาด 300 มก./กก./วัน ติดต่อกันทุกวัน เป็นเวลานาน 8 วัน พบว่า หนูแรทกลุ่มที่ได้รับยา gentamicin เพียงอย่างเดียวมีระดับของ creatinine, blood urea nitrogen, และ malondialdehyde ในเลือดเพิ่มขึ้น การขับออกของ Na+และ K+ เพิ...

637

ผลของสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรต่อโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น
ผลของสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรต่อโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนต้นการทดลองทางคลินิกแบบ randomized, double blind placebo controlled เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของยา KalmColdTM ซึ่งเป็นสารสกัดเมทานอลจากใบฟ้าทะลายโจร ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น (Uncomplicated upper respiratory tract infection (URTI)) จำนวน 223 ราย เป็นชาย 143 ราย และเป็นหญิง 80 ราย อายุระหว่าง 18 - 60 ปี โดยให้ได้รับ KalmColdTM ขนาด 200 มก./วัน (รับประทานครั้งละ 100 มก. หลังอาหารเช้า - เย็น) เป็นเวลา 5 วัน พบว่ากลุ่มผู้ป...

267

สาร
สาร Steroidal saponins จากหญ้าต้อมต๊อก มีการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ของสาร steroidal saponins จากหญ้าต้อมต๊อก ได้แก่ solanigrosides C-H และ degalactotigonin โดยทดสอบกับเซลล์มะเร็ง 4 ชนิด คือ Hep G2, NCI-H480, MCF-7 และ SF-268 พบว่ามีเพียงสาร degalactotigonin ที่มีฤทธิ์ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.25, 4.99, 1.57 และ 3.19 ไมโครโมล ตามลำดับ J Nat prod 2006;69:1158-63 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

898

สารสกัด
สารสกัด multiflorin A จากใบท้อสามารถยับยั้งการดูดซึมกลูโคสในลำไส้เล็กของหนูเม้าส์ได้เมื่อป้อนสารสกัด multiflorin A จากใบท้อให้หนูเม้าส์ที่เหนี่ยวนำให้มีน้ำตาลในเลือดสูงกิน ขนาด 125 และ 500 มก./กก. พบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูเม้าส์ที่เหนี่ยวนำให้มีน้ำตาลในเลือดสูงได้ 66.3±10.8% และ 35.9±9.2 % ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยที่สารสกัด multiflorin A ออกฤทธิ์ต้านการดูดซึมกลับของน้ำตาลในลำไส้เล็กของหนูเม้าส์ การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าสารสกัด multiflorin A น่าจะมีป...

516

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวของสารสำคัญจากมังคุด
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวของสารสำคัญจากมังคุดเปรียบเทียบปริมาณสารสำคัญ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวของสารสกัด 95% เอทานอลจากผลมังคุดอ่อนกับผลมังคุดแก่ พบว่าสารสกัดจากผลอ่อน มีปริมาณของสารฟีนอลิกและแทนนินสูงกว่า ขณะที่สารสกัดจากผลแก่จะมีปริมาณของสารฟลาโวนอยด์ และ α-mangostin สูงกว่า เมื่อศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า สารสกัดทั้ง 2 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้แต่สารสกัดจากผลอ่อนจะมีฤทธิ์สูงกว่าสารสกัดจากผลแก่ 2 เท่า (EC50 เท่ากับ 5.56 แ...

1503

การศึกษาความเป็นพิษต่อตัวอ่อนในครรภ์ของใบอาร์ติโชค
การศึกษาความเป็นพิษต่อตัวอ่อนในครรภ์ของใบอาร์ติโชคการศึกษาความเป็นพิษของใบอาร์ติโชค (Cynara scolymus L.) ต่อตัวอ่อนในครรภ์ของหนูแรท ด้วยการป้อนผงแห้งของสารสกัดน้ำจากใบอาร์ติโชค ขนาด 1, 2 และ 4 ก./น้ำหนักตัว 1 กก. ให้แก่หนูแรทเพศเมียตั้งแต่มีอายุครรภ์ 6 วันต่อเนื่องถึงอายุครรภ์ 19 วัน ซึ่งพบว่าสารสกัดน้ำจากอาร์ติโช๊คไม่มีผลต่ออัตราการกินอาหาร เปอร์เซนต์การสูญเสียศักยภาพในการฝังตัวของตัวอ่อนทั้งก่อนและหลังกระบวนการฝังตัว (preimplantation loss and postimplantation loss) น้ำหนักรก และค่าชีวเคมีอื่นๆ...

986

การศึกษาความเป็นพิษของตำรับยาจันทน์ลีลา
การศึกษาความเป็นพิษของตำรับยาจันทน์ลีลาการศึกษาความเป็นพิษทั้งแบบเฉียบพลันและกึ่งเรื้อรังของตำรับยาแก้ไข้จันทน์ลีลาในหนูแรท โดย ป้อนสารสกัด 95% เอทานอลจากตำรับยาจันทน์ลีลา ขนาด 5,000 มก./กก. น้ำหนักตัว แบบครั้งเดียว พบว่าไม่ก่อให้เกิความเป็นพิษแก่สัตว์ทดลอง ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือทำให้หนูตาย และไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะภายใน เมื่อทำการทดสอบความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง โดยป้อนสารสกัดจันทน์ลีลาขนาด 600, 1,200 และ 2,400 มก./กก. ต่อเนื่องกัน 90 วัน พบว่าสารสกัดจันทน์ลีลาทุกขนาดไม่ก่อให้เกิ...