-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของน้ำมันจากเมล็ดราชดัด
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของน้ำมันจากเมล็ดราชดัด
การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของน้ำมันจากเมล็ดราชดัด (Brucea javanica (L.) Merr.) โดยให้หนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (ulcerative colitis; UC) ด้วย dextran sulfate sodium (DSS) ความเข้มข้น 30 มก./มล. ได้รับน้ำมันของเมล็ดราชดัดในรูปแบบอิมัลชั่น (Brucea javanica oil emulsion; BJOE) เข้าทางกระเพาะอาหาร (gavage) ในขนาด 0.5, และ 2 ก./กก. เปรียบเทียบผลกับการได้รับยามาตรฐาน 2 ชนิดคือ sulfasalazine (SASP) ขนาด 200 มก./กก. และ azathioprine (AZA) ขนาด 13 มก./กก. วันละครั้ง นาน 7 วัน นอกจากนี้หนูเม้าในกลุ่มปกติ (กลุ่มควบคุม) และหนูเม้าในกลุ่มที่ได้รับ DSS จะได้รับน้ำกลั่นและสาร lecithin จากถั่วเหลืองในรูปแบบของยาน้ำแขวนตะกอน (0.15 ก./กก.) ตามลำดับ และการวิเคราะห์ทางเคมีพบว่า BJOE ประกอบด้วยกรดไขมัน oleic acid (62.68%) และ linoleic acid (19.53%) จากการทดลองพบว่าทั้ง BJOE, SASP และ AZA ทำให้ความผิดปกติที่เกิดจากการเหนี่ยวนำด้วย DSS ลดลง โดยทำให้น้ำหนักตัวดีขึ้น สภาพของลำไส้ใหญ่ดีขึ้น สารก่อการอักเสบเช่น tumor necrosis factor-α (TNF-α), interleukin-1β (IL-1β), interleukin-6 (IL-6), interleukin-8 (IL-8), interleukin-17 (IL-17) และ interferon-γ (IFN-γ) มีระดับลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ DSS เพียงอย่างเดียว และพบว่าแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบเช่น myeloperoxidase (MPO), inducible nitricoxide synthase (iNOS) และ cyclooxygenase-2 (COX-2) ที่เพิ่มขึ้นจากการเหนี่ยวนำด้วย DSS ก็ลดลงอย่างชัดเจน นอกจากนี้ BJOE และ AZA ยังยับยั้งการกระตุ้น nuclear factor-kappa B (NF-κB) ซึ่งเกิดจากการได้รับ DSS ด้วย จากผลการทดลองดังกล่าวทำให้สามารถสรุปได้ว่า น้ำมันของเมล็ดราชดัดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ซึ่งคาดว่ากลไกการออกฤทธิ์จะเกี่ยวข้องกับการยับยั้ง NF-κB และการยับยั้งสารก่อการอักเสบต่างๆ
ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันจันทน์
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันจันทน์การศึกษาฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของน้ำมันจันทน์ และสาร a-santalol ที่แยกได้จากน้ำมันจันทร์ โดยฉีดสาร a-santalol ขนาด 100 มก./กก. และน้ำมันจันทน์ ขนาด 1 ก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan เป็นเวลา 8 วัน พบว่ามีผลลดระดับของบิลิรูบิน และน้ำตาลในเลือด เพิ่มน้ำหนักตัวและน้ำหนักตับ รวมทั้งเพิ่มปริมาณของไกลโคเจน และโปรตีนรวมในตับ สำหรับการทดลองฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อฉีดสาร a-santalol ขนาด 100 มก./กก. และน้ำมันจ...
ฤทธิ์ต้านมะเร็งของใบย่านาง
ฤทธิ์ต้านมะเร็งของใบย่านางการศึกษาฤทธิ์ต้านมะเร็งของสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ ไดคลอโรมีเทน เอทิลอะซีเตรท เมทานอล และน้ำจากใบย่านาง และสาร oxoanolobine ที่แยกได้จากสารสกัดเมทานอล ในเซลล์มะเร็ง 3 ชนิด ได้แก่ เซลล์มะเร็งช่องปาก (KB), มะเร็งปอด (NCI-H187) และมะเร็งเต้านม (MCF-7) พบว่าสารสกัดเมทานอลมีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านเซลล์มะเร็งปอด และสารสกัดน้ำมีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านเซลล์มะเร็งช่องปาก โดยมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ 50% (IC50) เท่ากับ 11.93± 4.52 มคก./มล. และ 12.06±0.8...
ชาเขียวชักนำฤทธิ์ของ
ชาเขียวชักนำฤทธิ์ของ Superoxide dismutase โดยยับยั้งการสะสมไขมันในเซลล์ 3T3-L1 มีการศึกษาผลของผงชาเขียวต่อกิจกรรมภายในเซลล์ไขมัน 3T3-L1 ของ superoxide dismutase โดยการเพาะเลี้ยงเซลล์ดังกล่าวร่วมกับอินซูลินเป็นเวลา 14 วัน ซึ่งมีผลทำให้มีความเข้มข้นของไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์เพิ่มขึ้น พบว่าเมื่อมีการให้ผงชาเขียวพร้อมกับอินซูลินปริมาณของไตรกลีเซอร์ไรด์ที่เพิ่มขึ้นนั้นลดลง และฤทธิ์ของ superoxide dismutase ก็เพิ่มขึ้นซึ่งข้อมูลดังกล่าวอาจสนับสนุนฤทธิ์ต้านการเกิดไขมัน (antilipogenic activity) ของชาเขียว ...
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสาร
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสาร triterpenoids จากมะระขี้นกเมื่อนำสารกลุ่ม triterpenoids จากมะระขี้นก ได้แก่ momordicosides Q, R, S, T, karaviloside XI, momorcharaside B, momordicoside A และ B รวมทั้ง aglycone ของ karaviloside XI และ momordicosides S มาทดสอบฤทธิ์ในการต้านเบาหวาน โดยศึกษาในเซลล์กล้ามเนื้อ L6 และเซลล์ไขมัน 3T3-L1 พบว่าสารทั้งหมดมีผลกระตุ้นการเคลื่อน (translocation) ของโปรตีน GLUT4 เข้าสู่เซลล์เมมเบรน โดยเฉพาะสาร karaviloside XI, momordicosides S และ aglycone ของสารทั้งสองนี้ จะเพิ่มการเคล...
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยา
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยา tamsulosin และสารสกัดจากปาล์มใบเลื่อยในการรักษาภาวะต่อมลูกหมากโตการศึกษาทางคลินิกแบบเปิดเผยและสุ่ม (An open-label, randomized trial) ในผู้ป่วยชายชาวเกาหลีที่มีอาการของภาวะต่อมลูกหมากโตจำนวน 120 คน อายุระหว่าง 50 - 80 ปี โดยผู้ป่วยจะถูกสุ่มให้ได้รับยา tamsulosin (ยาสำหรับรักษาภาวะต่อมลูกหมากโตโดยออกฤทธิ์ยับยั้ง α1 receptor แบบเฉพาะเจาะจง) ขนาด 0.2 มก./วัน + สารสกัดจากปาล์มใบเลื่อย (Serenoa repens ) ขนาด 320 มก./วัน จำนวน 60 คน หรือได้รับเฉพาะยา tamsulosin ขนา...
ฤทธิ์ต้านภาวะกระดูกพรุนจากกวาวเครือ
ฤทธิ์ต้านภาวะกระดูกพรุนจากกวาวเครือการทดสอบฤทธิ์ต้านภาวะกระดูกพรุนจากสารสกัดเอทานอลของรากกวาวเครือ (Pueraria mirifica ; PM) และสารไฟโตเอสโตรเจนที่แยกได้ เช่น genistein และ puerarin ในเซลล์สร้างกระดูกออสติโอบลาสต์ (primary osteoblasts) ของลิงบาบูนตัวเต็มวัยเพศเมีย โดยให้เซลล์ดังกล่าวได้รับ PM ขนาด 100 มคก./มล. genistein หรือ puerarin ในขนาด 1000 นาโนโมลาร์ เป็นเวลา 48 ชม. พบว่าสารทดสอบทั้ง 3 ชนิดทำให้อัตราการแบ่งตัวของเซลล์ออสติโอบลาสต์เพิ่มขึ้น ระดับ mRNA ของ alkaline phosphatase (ALP), type I ...
ฤทธิ์บรรเทาปวดและต้านการอักเสบของใบทองพันชั่ง
ฤทธิ์บรรเทาปวดและต้านการอักเสบของใบทองพันชั่งการทดสอบฤทธิ์บรรเทาปวดและฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดมาตรฐานจากใบทองพันชั่ง (Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz) ซึ่งมีสาร rhinacanthin-C (Rn-C) เป็นส่วนประกอบอยู่ไม่น้อยกว่า 70% โดยน้ำหนัก เปรียบเทียบกับสาร Rn-C เพียงอย่างเดียว ในหนูแรท โดยแบ่งเป็นการทดสอบฤทธิ์บรรเทาปวด ซึ่งทำการทดสอบด้วย acetic acid-induced writhing test, a hot-plate test และ formalin test โดยให้หนูกินสารทดสอบในขนาด 20, 40 และ 80 มก./กก. และการทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบ ซึ่งทำการทดสอบด้ว...
สาร
สาร 3-O - β -D-Glucosyl-kaempferol จากผักหวานบ้านมีฤทธิ์ช่วยลดน้ำหนักในหนูทดลองป้อนสาร 3-O - β -D-Glucosyl-(1→6)-β -D-glucosyl-kaempferol (GKK) ที่สกัดได้จากกิ่งอ่อนและใบของต้นผักหวานบ้าน ให้หนูปริมาณ 60 มก./กก. เป็นเวลา 28 วัน พบว่าหนูที่ได้รับสารดังกล่าวมีการกินอาหารน้อยลงถึง 15% เมื่อเปรียบเทียบกับหนูปกติ ทำให้หนูมีน้ำหนักน้อยลง ผลการลดน้ำหนักยังสามารถเห็นได้ในหนูที่ได้รับ GKK เพียง 6 มก./กก. นอกจากนี้ในหนูที่กินอาหารที่มีไขมันสูง เมื่อได้รับ GKK ทั้งสองความเข้มข้นจะทำให้...
ผลของการรับประทานผงกล้วยดิบต่อรูปร่างและค่าทางชีวเคมีในเลือดของผู้ป่วยกลุ่มอาการอ้วนลงพุง
ผลของการรับประทานผงกล้วยดิบต่อรูปร่างและค่าทางชีวเคมีในเลือดของผู้ป่วยกลุ่มอาการอ้วนลงพุง (metabolic syndrome)ศึกษาผลของการรับประทานกล้วย (Musa spp.) ในรูปแบบของผงกล้วยดิบ (green banana flour) ต่อรูปร่างและค่าทางชีวเคมีในเลือดของอาสาสมัครเพศหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน (overweight) จำนวน 25 คน โดยในจำนวนนี้มีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะอ้วนลงพุงจำนวน 17 คน ด้วยการให้อาสาสมัครรับประทานผงกล้วยดิบวันละ 20 ก. นานติดต่อกันเป็นเวลา 45 วัน โดยการผสมลงไปในอาหารชนิดต่างๆ ในแต่ละมื้ออาหารเช่น นม โยเกิร์ต...