-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสารสกัดจากใบย่านาง
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสารสกัดจากใบย่านาง
การป้อนสารสกัด 95% เอทานอลจากใบย่านางในขนาด 300 มก./กก. น้ำหนักตัว เป็นเวลา 8 สัปดาห์แก่หนูแรทปกติและหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยสเตรปโทโซโทซิน (streptozotocin) และเปรียบเทียบผลการลดน้ำตาลในเลือดกับกลุ่มที่ได้รับยาไกลเบนคลาไมด์ (glibenclamide) ขนาด 0.25 มก./กก. น้ำหนักตัว พบว่าน้ำหนักตัวของหนูปกติและหนูที่เป็นเบาหวานที่ได้รับสารสกัดจากใบย่านางและยาไกลเบนคลาไมด์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และสารสกัดมีผลลดน้ำตาลในเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้ใกล้เคียงกับยาไกลเบนคลาไมด์ (25.01±19.77% และ 27.01±11.89% ตามลำดับ) ในสัปดาห์ที่ 3 และมีผลลดน้ำตาลในเลือดของหนูปกติได้เล็กน้อย (9.48±2.14%) ในสัปดาห์ที่ 2 สารสกัดมีผลเพิ่มระดับของอินซูลินในหนูที่เป็นเบาหวาน แต่ในหนูปกติไม่มีผล นอกจากนี้ยังกระตุ้นการงอกใหม่ (regeneration) ของ Islets of Langerhans ในตับอ่อนซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดการหลั่งอินซูลิน สรุปได้ว่าสารสกัดจากใบย่านางมีฤทธิ์ลดน้ำตาลของหนูที่เป็นเบาหวานได้ โดยการกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน
Pharmacogn J 2017;9(5):621-5.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ต้านภาวะกระดูกพรุนจากกวาวเครือ
ฤทธิ์ต้านภาวะกระดูกพรุนจากกวาวเครือการทดสอบฤทธิ์ต้านภาวะกระดูกพรุนจากสารสกัดเอทานอลของรากกวาวเครือ (Pueraria mirifica ; PM) และสารไฟโตเอสโตรเจนที่แยกได้ เช่น genistein และ puerarin ในเซลล์สร้างกระดูกออสติโอบลาสต์ (primary osteoblasts) ของลิงบาบูนตัวเต็มวัยเพศเมีย โดยให้เซลล์ดังกล่าวได้รับ PM ขนาด 100 มคก./มล. genistein หรือ puerarin ในขนาด 1000 นาโนโมลาร์ เป็นเวลา 48 ชม. พบว่าสารทดสอบทั้ง 3 ชนิดทำให้อัตราการแบ่งตัวของเซลล์ออสติโอบลาสต์เพิ่มขึ้น ระดับ mRNA ของ alkaline phosphatase (ALP), type I ...
ฤทธิ์ต้านตับอักเสบของเมล็ดบัว
ฤทธิ์ต้านตับอักเสบของเมล็ดบัว เมื่อนำสารสกัดเมล็ดบัวมาศึกษาฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระ พบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี และยังพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบของตับเนื่องจาก carbon tetrachloride และ อัฟลาทอกซิน B1 โดยมีผลทำให้ทั้งการทำลายเซลล์และระดับเอนไซม์ลดลง Phytomedicine 2003;10:165-9. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ผลของการบริโภคอินทผาลัมต่อน้ำตาล
ผลของการบริโภคอินทผาลัมต่อน้ำตาล ไขมัน และสารอนุมูลอิสระในเลือดการทดลองแบบ Pilot study ให้อาสาสมัครสุขภาพดี ไม่สูบบุหรี่จำนวน 10 คน อายุ 36 ± 9 ปี รับประทานอินทผาลัมสองสายพันธุ์เปรียบเทียบกัน โดยเริ่มรับประทานสายพันธุ์ Medjool วันละ 100 กรัม นาน 4 สัปดาห์ แล้วทิ้งช่วงให้ล้างยา 4 สัปดาห์ ก่อนให้รับประทานสายพันธุ์ Hallawi ต่ออีก 4 สัปดาห์ เมื่อจบทดลองพบว่าการบริโภคอินทผาลัมทั้งสองสายพันธุ์ไม่มีผลต่อดัชนีมวลกาย ปริมาณคอเลสเตอรอล ทั้ง VLDL, LDL และ HDL ปริมาณน้ำตาลในเลือด และลดปริมาณ triacyl...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านไกลเคชั่นของชาสมุนไพรไทย
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านไกลเคชั่นของชาสมุนไพรไทยการศึกษาฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและต้านไกลเคชั่นของชาที่ทำจากสมุนไพรไทย 15 ชนิด ได้แก่ หญ้าหนวดแมว ตะไคร้ กระเจี๊ยบแดง มะขามแขก หม่อน คำฝอย ดายขัด ช้าพลู ชุมเห็ดเทศ ย่านาง ชะเอมเทศ มะรุม หญ้าหวาน ฝาง และแป๊ะตำปึง เปรียบเทียบกับชา (Camellia sinensis ) 3 ชนิด คือ ชาเขียว ชาดำ และชาอู่หลง พบว่าชาเขียว ชาดำ และชาอู่หลง จะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าชาสมุนไพร เมื่อทดสอบด้วยวิธี ABTS และ FRAP assays ยกเว้นชาหญ้าหวานซึ่งจะมีฤทธิ์ดีกว่าชาดำและชาอ...
ผลของสารสกัดหญ้าฝรั่นต่อความดันโลหิต
ผลของสารสกัดหญ้าฝรั่นต่อความดันโลหิตศึกษาผลของสารสกัดน้ำจากหญ้าฝรั่น และสารสำคัญสองชนิดในหญ้าฝรั่น ได้แก่ crocin และ safranal ต่อความดันโลหิต โดยทำการทดลองในหนูแรทสองกลุ่ม หนูกลุ่มแรกมีความดันโลหิตเป็นปกติ และหนูกลุ่มที่สองเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงด้วยการฉีด desoxycorticosterone acetate ให้สารสกัดหญ้าฝรั่นแก่หนูแรททั้งสองกลุ่มโดยการสอดท่อเข้าเส้นเลือดดำใหญ่ที่คอด้านขวา (right jugular vein) และทำการวัดความดันโลหิตโดยสอดท่อเข้าเส้นเลือดแดงใหญ่ที่คอด้านซ้าย (left carotid artery) วัดค่าควา...
ผลของ
ผลของ Guduchi ต่อเซลล์กระดูกGuduchi (Tinospora cordifolia ) เป็นสมุนไพรอินเดีย ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับบอระเพ็ดและชิงช้าชาลีของบ้านเรา สรรพคุณพื้นบ้านของอินเดียระบุว่า Guduchi สามารถบรรเทาอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ รวมทั้งอาการอักเสบและโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกได้ การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเอทานอลจากส่วนเหนือดินของ Guduchi (TC) ต่อการแบ่งตัว การเปลี่ยนแปลง และการเสริมสร้างแร่ธาตุให้กับเซลล์กระดูกใน osteoblast model systems โดยใช้ human osteoblast-like cells MG-63 และ primary osteob...
ฤทธิ์ต้านอักเสบของใบกระท่อม
ฤทธิ์ต้านอักเสบของใบกระท่อมศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัด mitragynine จากใบกระท่อม แบบศึกษาในหลอดทดลอง (in vitro) โดยทำการทดลองเลี้ยงเซลล์ macrophage RAW 264.7 ด้วยอาหารเลี้ยงเซลล์ที่มีสารสกัด mitragynine ผสมอยู่ 0.5-20 มคก./มล. จากนั้นเหนี่ยวนำให้เซลล์เกิดกระบวนการอักเสบด้วยการเติมสาร Lipopolysaccharide (LPS) แล้วทำการวิเคราะห์การแสดงออกของยีนและโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดกระบวนการอักเสบ ผลจากการทดลองพบว่า สารสกัด mitragynine สามารถยับยั้งการแสดงออกของโปรตีน cyclooxygenase-1 (COX-1) cyclo...
ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของหญ้าแพรกในหนูขาว
ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของหญ้าแพรกในหนูขาวเมื่อป้อนสารสกัดน้ำต้นหญ้าแพรก ขนาด 250, 500 และ 1,000 มก./กก. นน.ตัว ครั้งเดียวให้กับหนูปกติ พบว่าสารสกัดน้ำต้นหญ้าแพรก ขนาด 500 มก./กก.นน.ตัว ให้ผลดีที่สุด คือสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังป้อนสารสกัดน้ำต้นหญ้าแพรก 4 ชม. ได้ 31% ในหนูปกติ และสารสกัดน้ำของต้นหญ้าแพรกในขนาดเดียวกัน (500 มก./กก.นน.ตัว) สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานชนิดปานกลางด้วย streptozotocin (Fasting blood glucose (FBG):120-250 มก./ดล.) ได้ 23% เ...
ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของยอบ้าน
ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของยอบ้านการศึกษาฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของน้ำคั้นจากผลยอ (Morinda citrifolia L.) หรือโนนิ (noni fruit juice; NFJ) โดยทำการศึกษาระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน (neural-immune interactions) ผ่านการนำสัญญาณภายในเซลล์ม้ามของหนูแรทชนิด F344 ซึ่งทำการศึกษาทั้งในเซลล์ (เซลล์ลิมโฟไซต์จากส่วนม้าม) และในร่างกายของหนูแรทหนุ่ม (อายุ 3 - 4 เดือน) และหนูแรทแก่ (อายุ 16 - 21 เดือน) สำหรับการศึกษาในเซลล์ เซลล์ม้ามของหนูจะได้รับ NJF ขนาด 0.0001-1% เป็นเวลานาน 24 ชม. ส่วนกา...