Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์สมานแผลไฟไหม้ของสมอไทย

ศึกษาฤทธิ์สมานแผลไฟไหม้ของสารสกัดเอทานอลสมอไทย (Terminalia chebula) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นแผลไฟไหม้ระดับที่ 2 ด้วยวิธีการลวกผิวหนังด้วยกระแสไฟฟ้าบริเวณหลัง (ที่อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส นาน 15 วินาที) โดยทดลองทาสารสกัดเอทานอลสมอไทยความเข้มข้น 100 มก./มล. ลงบนแผลโดยตรงวันละ 2 ครั้ง นานติดต่อกัน 14 วัน เปรียบเทียบกับการทายา siver sulfadiazine เข้มข้น 1% ผลจากการศึกษาพบว่า ในวันที่ 14 ของการทดลอง ขนาดแผลของหนูแรทกลุ่มที่ทาสารสกัดสมอไทยมีขนาดเล็กลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นแผลไฟไหม้เพียงอย่างเดียว (0.25 ± 0.06 ตร.ซม. และ 2.71 ± 0.20 ตร.ซม. ตามลำดับ) และผลจากการตรวจวิเคราะห์เนื้อเยื่อบริเวณบาดแผลด้วยเทคนิคทางจุลกายวิภาคศาสตร์ (histological study) พบว่า การทาสารสกัดสมอไทย และยา siver sulfadiazine มีผลช่วยลดการอักเสบเมื่อเทียบกับหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นแผลไฟไหม้เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ ผลจากการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในหลอดทดลอง (in vitro) ยังพบว่า สารสกัดเอทานอลสมอไทยมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดภาวะแผลติดเชื้อได้แก่ Staphyloccocus aureus, Pseudomonas aeruginosa และ Escherichia coli ได้อีกด้วย ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สมอไทยมีฤทธิ์ช่วยฤทธิ์สมานแผลไฟไหม้ ต้านการอักเสบ และต้านเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะแผลติดเชื้อได้

Trop J Pharm Res. 2016; 15(4): 787-91

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

939

ฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนและฤทธิ์ปกป้องสมองของสารสกัดจากรากหญ้าแห้วหมู
ฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนและฤทธิ์ปกป้องสมองของสารสกัดจากรากหญ้าแห้วหมูการทดสอบฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนของสารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์จากรากหญ้าแห้วหมู (Cyperus rotundus  L.) (CRE) ในเซลล์ PC12 (dopaminergic cell line) ที่ทำให้มีระดับเอสโตรเจนต่ำ โดยให้ได้รับ CRE ในขนาด 62.5 - 500 มคก./มล. เป็นเวลา 24 ชม. พบว่า CRE มีฤทธิ์ของเอสโตรเจน โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ และการทดสอบฤทธิ์ปกป้องสมองของ CRE ในหนูแรทเพศเมียที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนด้วยการตัดรังไข่ออก และฉีดด้วย 1-methyl-4-phen...

225

โปรตีนจากถั่วกับการชลออาการโรคไต
โปรตีนจากถั่วกับการชลออาการโรคไต เมื่อให้หนูซึ่งเป็นโรคไตเรื้อรังกินโปรตีนจากถั่ว เป็นเวลา 1-3 สัปดาห์ เมื่อตรวจร่องรอยโรคโดยดู fibrosis การขยายของก้อนเนื้อ (cyst) องค์ประกอบของกรดไขมัน และการเกิดพรอสต้าแกลนดิน พบว่า fibrosis ลดลง 22 และ 33% ที่ 1 และ 34 อาทิตย์ ก้อนเนื้อโตช้าลง 33% ที่อาทิตย์ที่ 3 ปริมาณกรดไขมัน C18 : 2 n-6 ลดลง และลดการหลั่งพรอสต้าแกลนดิน จะเห็นว่าโปรตีนจากถั่วจะชลอการลุกลามของโรคไต ถ้าให้เมื่อเป็นโรคไตเรื้อรังระยะแรกJ Nutr 2004;134(63):1504-7 ...

1099

ผลของสารสกัดจากลูกใต้ใบต่อเภสัชจลนศาสตร์ของยา
ผลของสารสกัดจากลูกใต้ใบต่อเภสัชจลนศาสตร์ของยา midazolamการศึกษาผลของสารสกัด 70% เอทานอลจากลูกใต้ใบต่อเภสัชจลนศาสตร์ของยา midazolam (ยานอนหลับชนิดหนึ่ง) ในกระต่าย โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 กระต่ายได้รับยา midazolam ขนาด 10 มก./กก. ทางปาก เพียงครั้งเดียว และช่วงที่ 2 ซึ่งห่างจากช่วงแรก 7 วัน ให้สารสกัดลูกใต้ใบ ขนาด 500 มก./กก. ทางปาก วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน และครั้งสุดท้ายในวันที่ 8 ให้สารสกัด 1 ชั่วโมง ก่อนได้รับยา midazolam พบว่าสารสกัดลูกใต้ใบมีผลทำให้ค่าต่างๆ ได้แก่ ความเข้มข้...

1098

ฤทธิ์แก้ไอ
ฤทธิ์แก้ไอ ขับเสมหะ และลดการอักเสบของสารสกัดจากเปลือกส้มโอการทดสอบฤทธิ์ในการแก้ไอ ขับเสมหะ และลดการอักเสบของสารสกัด 4 ชนิด จากเปลือกส้มโอ ได้แก่ สารสกัดน้ำ, 50% เอทานอล, 70% เอทานอล และ 90% เอทานอล ในหนูเม้าส์ พบว่ามีเพียงสารสกัดน้ำ และ 70% เอทานอล เท่านั้นที่มีผล โดยสารสกัดน้ำ ขนาด 1005 มก./กก.น้ำหนักตัว และสารสกัด 70% เอทานอล ขนาด 493 มก./กก.น้ำหนักตัว จะมีผลลดความถี่ของการไอในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยน้ำแอมโมเนีย (ammonium liquor) เพิ่มการหลั่งสารฟีนอล เรด (ซึ่งแสดงถึงผลในการขับเสมหะ) และลดการบว...

868

ฤทธิ์ต้านการอักเสบและปรับภูมิคุ้มกันของย่านพาโหม
ฤทธิ์ต้านการอักเสบและปรับภูมิคุ้มกันของย่านพาโหมการศึกษาฤทธิ์ของสาร iridoid glycoside จากต้นย่านพาโหม (IGPS) ในหนูแรทที่ไตเกิดความผิดปกติเนื่องจากมีระดับของกรดยูริกในเลือดสูง โดยป้อน IGPS ขนาด 280, 140, 70 มก./กก.น้ำหนักตัว ให้หนูแรทติดต่อกัน 24 วัน เทียบกับการป้อนยา allopurinol และยา benzbromarone (ทั้ง 2 ชนิด เป็นยาแผนปัจจุบัน ใช้ลดกรดยูริกในเลือด) ให้แก่หนูแรท พบว่า iridoid glycoside ช่วยบรรเทาความเสียหายของเนื้อเยื่อไต ยับยั้งการทำงานของ nuclear factor kappa-beta p65 (NF-kBp65), monocyte che...

1502

การศึกษาความปลอดภัยของเครื่องดื่มจากต้นอ่อนของบร็อคโคลี่
การศึกษาความปลอดภัยของเครื่องดื่มจากต้นอ่อนของบร็อคโคลี่สาร sulforaphane เป็นสารสารสำคัญที่พบได้ในพืชผักตระกูลกะหล่ำ (Cruciferous vegetables) โดยเฉพาะในต้นอ่อนของบร็อคโคลี่ ซึ่งสารดังกล่าวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเซลล์มะเร็ง ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมาย อย่างไรก็ตามมีรายงานการวิจัยบางส่วนระบุว่าสาร sulforaphane มีฤทธิ์กระตุ้น transcription factor ชนิด Nrf2 ที่ส่งผลให้การทำงานของต่อมไทรอยด์เกิดความผิดปกติ ซึ่งการได้รับสารดังกล่าวเป็นเวลานาน อาจเป็นสาเหตุของโรค hypo...

533

ผลของมะเขือพวงต่อความดันโลหิตและการเผาผลาญอาหารในหนูที่เหนี่ยวนำให้เกิดความดันโลหิตสูงด้วยน้ำตาลฟรุ๊ตโตส
ผลของมะเขือพวงต่อความดันโลหิตและการเผาผลาญอาหารในหนูที่เหนี่ยวนำให้เกิดความดันโลหิตสูงด้วยน้ำตาลฟรุ๊ตโตสการศึกษาในหนูแรทเพศผู้ น้ำหนัก 150 - 200 กรัม จำนวน 35 ตัว โดยเหนี่ยวนำให้หนูเกิดความดันโลหิตสูงด้วยน้ำดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลฟรุ๊ตโตส 10% w/v (โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) ให้หนูกินเท่าที่จะกินได้ นาน 6 สัปดาห์ จากนั้นแบ่งหนูออกเป็น 7 กลุ่มๆ ละ 5 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ให้กินน้ำกลั่น กลุ่มที่ 2 ให้กินน้ำตาลฟรุ๊ตโตส 10% w/v กลุ่มที่ 3 และ 4 ให้กินสารสกัดผลแห้งมะเขือพวงด้วยเอทานอล ขนาด 10...

1306

ผลของการดื่มกาแฟผสมชนิดไม่คั่ว/ชนิดที่คั่วแล้ว
ผลของการดื่มกาแฟผสมชนิดไม่คั่ว/ชนิดที่คั่วแล้ว (green/roasted coffee) ในระยะยาว ต่อการเผาผลาญน้ำตาลและภาวะดื้ออินซูลินการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม มีกลุ่มควบคุมและไขว้กลุ่ม (A randomized, controlled, crossover study) โดยให้อาสาสมัครสุขภาพดีทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวน 52 คน ดื่มกาแฟที่มีส่วนผสมของเมล็ดกาแฟชนิดไม่คั่ว (green bean) และชนิดที่คั่วแล้ว (roasted bean) ในอัตราส่วน 35:65 วันละ 3 ถ้วย (มื้อเช้า-ระหว่างมื้อเช้าและมื้อกลางวัน-ระหว่างมื้อกลางวันและมื้อเย็น) โดยใน 1 ถ้วยจะมีผงกาแฟอยู่ 2 ก. (ผงกาแ...

1546

สารสกัดจากใบมะละกอบรรเทาภาวะเกล็ดเลือดต่ำในผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก
สารสกัดจากใบมะละกอบรรเทาภาวะเกล็ดเลือดต่ำในผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกการศึกษาทางคลินิกแบบเปิด มีการสุ่ม และไปข้างหน้า (open-label, randomized prospective study) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัดน้ำจากใบมะละกอ (Carica papaya leaf extract; CPLE) ในรูปแบบของยาน้ำเชื่อม (Caripill) ในผู้ป่วยโรคไข้เดงกี (dengue fever; NS1 antigen positive) และผู้ป่วยไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever) เกรด 1 และ 2 (มีปริมาณเกล็ดเลือด 30,000 - 100,000 ต่อไมโครลิตร) จำนวนทั้งหมด 285 คน อายุระหว่า 1 - 12 ปี โดย...