-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ผลของดอกกระเจี๊ยบต่อระดับไขมัน
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ผลของดอกกระเจี๊ยบต่อระดับไขมัน อินซูลินในเลือด ในผู้ป่วยเมตาบอลิกซินโดรม
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย (double blind randomized controlled trial) ในผู้ป่วยกลุมอาการทางเมตาบอลิก หรือเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) จำนวน 40 คน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานผงของดอกกระเจี๊ยบแดง ขนาด 500 มก วันละ 1 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์ ส่วนอีกกลุ่มให้รับประทานยาหลอก ในขนาดที่เท่ากัน และทำการวัดระดับความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure) และหัวใจคลายตัว (diastolic blood pressure) ดัชนีมวล ระดับน้ำตาล (fasting plasma glucose) อินซูลิน ไขมัน ไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และสารอนุมูลอิสระ ก่อนและหลังการศึกษา พบว่าผงดอกกระเจี๊ยบแดงสามารถลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ และลดระดับความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัวได้เช่นกันเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ในขณะที่ค่าชีวเคมีในเลือดตัวอื่นๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่า เมื่อให้ผู้ป่วยเมตาบอลิกซินโดรมรับประทานผงดอกกระเจี๊ยบขนาด 500 มก. วันละ 1 ครั้ง สามารถลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และลดระดับความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัวได้
J Complement Integr Med 2016;1:13(2):175-80.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ต้านอาการวิตกกังวลและช่วยให้หลับของดาวเรืองใหญ่
ฤทธิ์ต้านอาการวิตกกังวลและช่วยให้หลับของดาวเรืองใหญ่การทดสอบฤทธิ์ต้านอาการวิตกกังวลและช่วยให้หลับของดาวเรืองใหญ่ (Tagetes erecta L.) ในหนูเม้าส์ โดยฉีดสารสกัดน้ำ เอทานอล ส่วนสกัดเอธิลอะซีเตต และส่วนสกัดเอทานอลจากดอกดาวเรืองใหญ่เข้าทางช่องท้อง (i.p.) ในขนาด 10, 30, 100 มก./กก. หรือ 300 มก./กก. (เฉพาะสารสกัดเอทานอล) ทำการทดสอบด้วยวิธี open-field, exploration cylinder และ hole-board โดยศึกษาความเป็นไปได้ของกลไกการออกฤทธิ์ด้วยการใช้ยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งตัวรับต่าง ๆ เช่น WAY100635 (0.32 มก./กก., i.p.)...
อันตรกิริยาระหว่างอั่งตังเซียม
อันตรกิริยาระหว่างอั่งตังเซียม (Denshen) กับยาแผนปัจจุบันการศึกษาอันตรกิริยาระหว่างอั้งตังเซียม (Denshen) สมุนไพรแผนจีนที่นิยมใช้รักษาโรคหลอดเลือดและหัวใจ กับยาแผนปัจจุบัน warfarin และ aspirin (ยาต้านการแข็งตัวของเลือด) ในหนูแรท พบว่าเมื่อป้อนสารสกัดจากอั้งตังเซียมขนาด 0.15 ก./กก. น้ำหนักตัว (เทียบเท่ารับประทานในคน )ให้แก่หนูแรทวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 5 วัน แล้วป้อนยา warfarin ขนาด 0.2 มก./กก. ให้แก่หนูแรทในวันที่ 5 ของการทดลอง อั้งตังเซียมมีผลลดประสิทธิภาพของยา warfarin โดยลดทั้งระดับยาสูงสุดใน...
สารสกัดจากกระเจี๊ยบลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
สารสกัดจากกระเจี๊ยบลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดการทดสอบประสิทธิภาพในการลดระดับคอเลสเตอรอลของสารสกัดกระเจี๊ยบ (Hibiscus sabdariffa ) ในอาสาสมัครเพศชายและเพศหญิง อายุเฉลี่ย 18 - 75 ปี ระดับคอเลสเตอรอลในเลือด 175 - 327 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยแบ่งกลุ่มทดลองเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบ 1 แคปซูล กลุ่มที่ 2 ได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบ 2 แคปซูล และกลุ่มที่ 3 ได้รับสารสกัดกระเจี๊ยบ 3 แคปซูล ซึ่งแต่ละแคปซูลมีน้ำหนัก 500 มิลลิกรัม ประกอบด้วยสาร anthocyanins (20.1 ± 3.0 มิลลิกรัม) สาร f...
เปรียบเทียบผลของการสูดดมยูคาลิปตัสและหอมแดงด้วยไอน้ำร้อนต่ออาการคัดจมูกในผู้ป่วยโรคหวัด
เปรียบเทียบผลของการสูดดมยูคาลิปตัสและหอมแดงด้วยไอน้ำร้อนต่ออาการคัดจมูกในผู้ป่วยโรคหวัดการศึกษาวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มไปข้างหน้าและมีกลุ่มควบคุม (Randomized prospective controlled trial) เพื่อเปรียบเทียบผลของการสูดดมยูคาลิปตัสและหอมแดงด้วยไอน้ำร้อนต่ออาการคัดจมูกในผู้ป่วยโรคหวัดจำนวน 37 คน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สูดดมยูคาลิปตัสจำนวน 19 คน และกลุ่มที่สูดดมหอมแดงด้วยไอน้ำร้อนจำนวน 18 คน ให้ผู้ป่วยสูดดมยูคาลิปตัสหรือหอมแดงด้วยไอน้ำร้อนอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 10 นาที และประเมินอาการ...
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของชาตะไคร้
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของชาตะไคร้การทดสอบฤทธิ์ของชาใบตะไคร้ (Cymbopogon citratus ) ในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยเอทานอลเป็นเวลา 1 ชม. โดยแบ่งหนูออกเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ได้รับน้ำ 1 ชม. ก่อนถูกเหนี่ยวนำด้วยเอทานอล กลุ่มที่ 2 ได้รับน้ำอย่างเดียว กลุ่มที่ 3 ได้รับชาอย่างเดียว กลุ่มที่ 4 และ 5 ได้รับชา ขนาด 28 และ 56 มก./กก.นน. ตัว ตามลำดับ เป็นเวลา 1 ชม. ก่อนถูกเหนี่ยวนำด้วยเอทานอล กลุ่มที่ 6 ได้รับชา ขนาด 28 มก./กก....
ผลของสารสกัดจากลูกใต้ใบต่อเภสัชจลนศาสตร์ของยา
ผลของสารสกัดจากลูกใต้ใบต่อเภสัชจลนศาสตร์ของยา midazolamการศึกษาผลของสารสกัด 70% เอทานอลจากลูกใต้ใบต่อเภสัชจลนศาสตร์ของยา midazolam (ยานอนหลับชนิดหนึ่ง) ในกระต่าย โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 กระต่ายได้รับยา midazolam ขนาด 10 มก./กก. ทางปาก เพียงครั้งเดียว และช่วงที่ 2 ซึ่งห่างจากช่วงแรก 7 วัน ให้สารสกัดลูกใต้ใบ ขนาด 500 มก./กก. ทางปาก วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน และครั้งสุดท้ายในวันที่ 8 ให้สารสกัด 1 ชั่วโมง ก่อนได้รับยา midazolam พบว่าสารสกัดลูกใต้ใบมีผลทำให้ค่าต่างๆ ได้แก่ ความเข้มข้...
สารเอเซียติโคไซด์ในบัวบกสามารถลดความเป็นพิษต่อสมองในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นโรคพาร์กินสัน
สารเอเซียติโคไซด์ในบัวบกสามารถลดความเป็นพิษต่อสมองในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นโรคพาร์กินสันการศึกษาในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นโรคพาร์กินสันด้วยการฉีดสาร MPTP (1-methyl-4-phenyl 1,2,3,6-tetrahydropyridine) เข้าไปในเนื้อสมองส่วนซับสแตนเชียไนกรา (substantia niagra) หลังจากนั้น 1 วัน ป้อนสารเอเซียติโคไซด์ขนาด 1 มล./กก. นาน 14 วัน และนำสมองหนูในส่วนของซับสแตนเชียไนกรา (substantia niagra) และเนื้อสมองส่วนสไตรตัม (striatum) มาศึกษา พบว่าสารเอเซียติโคไซด์สามารถลดระดับสารอนุมูลอิสระ (malonyldialdehyd...
ผลของเอเซียติโคไซด์ในกระบวนการหายของแผล
ผลของเอเซียติโคไซด์ในกระบวนการหายของแผล เอเซียติโคไซด์ ( asiaticoside ) เป็นสารที่แสดงฤทธิ์ของบัวบก ( Centella asiatica (L.)Urban ) ที่ช่วยให้แผลหายเร็ว การศึกษาผลของเอเซียติโคไซด์ต่อระดับของสารต้านออกซิเดชั่นชนิดต่างๆในแผล พบว่าเมื่อทาเอเซียติโคไซด์เข้มข้น 2 % บนแผลของหนูขาววันละ 2 ครั้งนาน 7 วัน ระดับของเอนไซม์ซุปเปอร์ออกไซด์ดีสมิวเทส ( superoxide dismutase ) คาทาเลส ( catalase ) กลูตาไธโอนเปอร์ออกซิเดส ( glutathione peroxidase ) ไวตา...
ผลของชาดำกับการป้องกันปอดถูกทำลายเนื่องจากบุหรี่ในหนูตะเภา
ผลของชาดำกับการป้องกันปอดถูกทำลายเนื่องจากบุหรี่ในหนูตะเภาน้ำชาดำซึ่งประกอบด้วยสาร theaflavins 1%, thearubigons 18% และ catechins 6% มีผลในการป้องกันการถูกทำลายและการตายของเซลล์ปอดของหนูตะเภาที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยควันบุหรี่ได้ โดยป้อนน้ำชาดำ 2% ขนาด 25 มล./ตัว/วัน ให้กับหนูที่สูดดมควันบุหรี่ในปริมาณ 5 มวน/ตัว/วัน เป็นระยะเวลา 7 วัน พบว่าน้ำชาดำจะลดการเกิด oxidation ของโปรตีนในปอด ลดช่องว่างในเซลล์ปอดที่เกิดเนื่องจากเซลล์ถูกทำลาย และป้องกันการตายของเซลล์โดยลดการเกิด DNA fragmentation กดการแสดงออกข...