-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ผลของการใช้น้ำมันดอกกุหลาบมอญทาบริเวณหลังช่วงล่างที่ปวดในหญิงตั้งครรภ์
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ผลของการใช้น้ำมันดอกกุหลาบมอญทาบริเวณหลังช่วงล่างที่ปวดในหญิงตั้งครรภ์
ศึกษาแบบสุ่มในหญิงตั้งครรภ์อายุ 18-35 ปี ที่มีอายุครรภ์ในช่วง 12-33 สัปดาห์ จำนวน 120 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 40 คน กลุ่มที่ 1 ให้ทาน้ำมันดอกกุหลาบที่มีน้ำมันอัลมอนด์เป็นตัวพา จำนวน 7 หยด ต่อพื้นที่ๆปวด 100 ตร.ซม. วันละ 2 ครั้ง และห้ามนวด นาน 4 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 ให้ทาน้ำมันอัลมอนด์ ในขนาดที่เท่ากันกลับกลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 3 ไม่ต้องทาอะไร ในบริเวณที่ปวด ประเมินอาการปวดโดยการใช้ Visual Analog Scale และแบบสอบถาม Roland-Morris Disability Questionnaires พบว่ากลุ่มที่ได้รับน้ำมันดอกกุหลาบมอญอาการปวดหลังช่วงล่างลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับน้ำมันดอกกุหลาบมอญ จากการศึกษานี้สรุปได้ว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการปวดหลังช่วงล่างเมื่อใช้น้ำมันดอกกุหลาบมอญทาบริเวณที่ปวด ขนาด 7 หยด ต่อพื้นที่ๆปวด 100 ตร.ซม. สามารถบรรเทาอาการปวดหลังลงได้ โดยที่ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ
Journal of Evidence-Based Complementary & Alternative Medicine 2017;22(1):120-6.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ผลของโสมอเมริกันต่อความแข็งของหลอดเลือดแดงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่
ผลของโสมอเมริกันต่อความแข็งของหลอดเลือดแดงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วยเป็นการศึกษาวิจัยแบบสุ่ม และปกปิดการรักษาทั้งสองฝ่าย ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และมีความดันโลหิตสูงโดยไม่ทราบสาเหตุร่วมด้วย จำนวน 64 คน เป็นชาย 22 คน อายุเฉลี่ย 63 ± 9.3 ปี ความดันโลหิตเฉลี่ย 145 ± 10.8/ 84 ± 8.0 มม.ปรอท แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับสารสกัดโสมอเมริกันขนาด 500 มก. ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง (3 กรัม/วัน) กลุ่มที่ 2 ได้รับยาหลอก เป็นแคปซูลแป้งข้า...
ฤทธิ์ลดไขมันในเลือดของข้าวสาลี
ฤทธิ์ลดไขมันในเลือดของข้าวสาลีศึกษาฤทธิ์ลดไขมันในเลือดของข้าวสาลีในสตรีชาวเอเชียใต้วัยหมดประจำเดือนที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจำนวน 59 คน โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง (จำนวน 29 คน) ให้รับประทานแคปซูลผงข้าวสาลีวันละ 3.5 กรัม นานติดต่อกัน 10 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุม (30 คน) ไม่ได้รับยาใดๆ ทำการเก็บตัวอย่างเลือดอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มเพื่อตรวจวิเคราะห์ค่าไขมันในเลือดทั้งช่วงก่อนและหลังการทดลอง ผลจากการศึกษาพบว่า อาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับแคปซูลผงข้าวสาลีมีค่าโคเลสเอตรอลรวม ลดลง 5.4%, LD...
ฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสารจากน้ำมันต้นจันทน์
ฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสารจากน้ำมันต้นจันทน์การทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก human prostate cancer cells PC-3 (androgen independent และ P-53 null) และ LNCaP (androgen dependent และ P-53 wild-type) ของสาร α-santalol ซึ่งแยกได้จากน้ำมันของต้นจันทน์ (sandalwood oil) พบว่าสาร α-santalol ขนาด 25-75 ไมโครโมลาร์ สามารถยับยั้งการอยู่รอดของเซลล์ทั้ง 2 ชนิดได้ โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้และเวลาที่เซลล์สัมผัสกับสาร ซึ่งกลไกในการต้านเซลล์มะเร็งดังกล่าวเกิดจากฤทธิ์เหนี่ยวนำให้เกิดการต...
สาร
สาร Stemoninine จากรากหนอนตายหยากสามารถยับยั้งอาการไอได้ สารสกัด bisdehydrostemoninine จากรากหนอนตายหยาก เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูตะเภาในขนาด 50, 70, และ 100 มก./กก. หลังจากนั้นประมาณ 30 นาที ให้หนูทุกกลุ่มได้รับกรดซิตริก ความเข้มข้น 0.5 โมล์ พ่นเป็นเวลา 8 นาที ด้วยอัตราความเร็ว 0.5 มล./นาที จากนั้นทำการบันทึกอาการไอของหนูอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำการเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ใช้ยามาตรฐาน codeine phosphate (ขนาด 30 มก./กก. ฉีดเข้าทางช่องท้อง) ซึ่งพบว่าสารสกัด bisdehydrostemoninine ในข...
ฤทธิ์ต้านภาวะอ้วนของสารสกัดพลูคาวในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยอาหารที่มีไขมันสูง
ฤทธิ์ต้านภาวะอ้วนของสารสกัดพลูคาวในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยอาหารที่มีไขมันสูงการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดน้ำจากใบพลูคาวในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอ้วนด้วยอาหารที่มีไขมันสูง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับอาหารหนูมาตรฐาน กลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูง และกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูงซึ่งผสมสารสกัดพลูคาว 1% เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ประเมินผลโดยวัดน้ำหนักตัว ปริมาณการกินอาหาร น้ำหนักของเนื้อเยื่อไขมัน ระดับน้ำตาล อินซูลิน ภาวะดื้ออินซูลิน ไขมัน และเลปติน พบว่าสารสกัดพลูคาวมีผลลดน้ำหนักตัวของหนู ...
เทคนิคการปรับปรุงชีวประสิทธิผล
เทคนิคการปรับปรุงชีวประสิทธิผล (Bioavailability) ของสารเคอร์คูมินเพื่อประโยชน์ในการรักษาโรคมะเร็งสารเคอร์คูมินจากขมิ้นมีการใช้อย่างแพร่หลายเพื่อการรักษาโรคและอาการต่างๆ แต่ชีวประสิทธิผล (bioavailability) หรือสัดส่วนของสารที่เข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตซึ่งจะเป็นตัวพาสารไปสู่บริเวณที่ออกฤทธิ์ ของสารเคอร์คูมินยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอ เนื่องจากสารเคอร์คูมินมีความสามารถในการละลายในน้ำที่ต่ำ การศึกษาครั้งนี้จึงทดสอบนำสารเคอร์คูมินรวมตัวกับอนุภาคนาโนซิลิกาเพื่อปรับปรุงให้มีการละลายดีขึ้นส่งผลให้สารที่จะเ...
ฤทธิ์ต้านการหลั่ง
ฤทธิ์ต้านการหลั่ง และต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของกรดเชบูลินิคในผลสมอไทยกรดเชบูลินิกในผลสมอไทยเมื่อนำมาทดสอบกับหนูแรทเกี่ยวกับฤทธิ์การป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยแบ่งหนูออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นหนูกลุ่มควบคุมป้อนด้วย 1% carboxymethyl cellulose 45 นาที ก่อนที่ให้จะเหนี่ยวนำให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารด้วยความเย็น (cold restraint) แอสไพริน แอลกอฮอล์ และการผูกกระเพาะอาหารส่วน pyrolic กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ป้อนกรดเชบูลินิค จากผลสมอไทย ขนาด 20 มก./กก. 45 นาที ก่อนที่จะเหนี่ยวนำให้...
น้ำมันว่านมหาเมฆต่อการชะลอการงอกของขนและสีผิวของรักแร้
น้ำมันว่านมหาเมฆต่อการชะลอการงอกของขนและสีผิวของรักแร้การศึกษาผลของน้ำมันว่านมหาเมฆ (Curcuma aeruginosa Roxb.) ที่ได้จากการกลั่นด้วยน้ำและเตรียมในรูปแบบโลชันต่อการชะลอการงอกของขนและสีผิวของรักแร้ โดยทดสอบในผู้หญิงจำนวน 60 คน อายุ 18-23 ปี ให้ทาโลชันซึ่งมีน้ำมันว่านมหาเมฆ ผสมอยู่ 1% หรือ 5% ที่รักแร้ข้างหนึ่ง และอีกข้างหนึ่งให้ทาเบสโลชัน (base-lotion) วันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและเย็น เป็นเวลา 10 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ทาเบสโลชันที่รักแร้ทั้งสองข้างต่อไปอีก 2 สัปดาห์ ทำการวัดความยาวและความหนาแน่นของขน ...
ฤทธิ์บรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดเทียนสัตตบุษย์
ฤทธิ์บรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดเทียนสัตตบุษย์การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม ปกปิดสองทาง มีกลุ่มควบคุมเป็นยามาตรฐานและยาหลอก (A randomized double-blinded active and placebo controlled clinical trial) เพื่อทดสอบฤทธิ์บรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าของน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดเทียนสัตตบุษย์ (Pimpinella anisumJ Evid Based Complementary Altern Med 2017;22(1):41-6. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ ...