Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ผลของสารสกัดจากอบเชยญวนต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้

ศึกษาผลของการรับประทานสารสกัด 2,4-bis(1,1-dimethylethyl)phenol (BP) จากอบเชยญวน (Cinnamomum loureirii) ต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของหนูเม้าส์ โดยป้อนสารสกัด BP ขนาดวันละ 10, 20 และ 40 มก./กก. นานติดต่อกัน 3 สัปดาห์ ก่อนเหนี่ยวนำให้สูญเสียประสิทธิภาพการเรียนรู้ด้วยการฉีด trimethyltin (TMT) เข้าทางช่องท้องขนาด 2.5 มก./กก. หลังจากนั้น 2 วัน นำหนูไปทดสอบพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธี Y-Maze test และ Passive Avoidance test ผลจากการทดลองพบว่า หนูเม้าส์กลุ่มที่ได้รับสารสกัด BP ขนาดวันละ 20 และ 40 มก./กก. มีพฤติกรรมการเรียนรู้ดีกว่ากลุ่มที่ฉีด TMT เพียงอย่างเดียว (กลุ่มควบคุม) อย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อตรวจวิเคราะห์สารเคมีในสมองหนูเม้าส์พบว่า สารสกัด BP มีผลลดการทำงานของเอนไซม์ acetylcholinesterase (AChE) แลดการเกิดออกซิเดชันของไขมัน (lipid peroxidation) นอกจากนี้ยังมีผลเพิ่มระดับสารสื่อประสาท acetylcholine อีกด้วย ผลจากการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า สาร BP จากอบเชยญวนมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการสูญเสียประสิทธิภาพการเรียนรู้โดยผ่านระบบประสาท cholinergic ซึ่งอาจมีประโยชน์ในการพัฒนาต่อยอดเพื่อเป็นยารักษาโรคสมองเสื่อมในอนาคตได้

Bio Pharm Bull. 2017; 40(6): 932-5.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

788

การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดจากใบมะรุม
การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดจากใบมะรุมการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดน้ำจากใบมะรุมในหนูเม้าส์ โดยป้อนสารสกัดน้ำ ขนาด 400 800 1,600 3,200 และ 6,400 มก./กก. หรือฉีดสารสกัดในขนาด 250 500 1,000 และ 2,000 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนู พบว่าการป้อนสารสกัดทุกขนาดไม่ทำให้หนูตาย แต่มีผลลดการเคลื่อนไหวของหนู และบางตัวจะมีอาการเซื่องซึม เมื่อได้รับสารสกัดในขนาดสูง คือ 3,200 และ 6,400 มก./กก. ส่วนการฉีดสารสกัดในขนาด 1,000 และ 2,000 มก./กก. ทำให้หนูตาย 20% และ 80% ตามลำดับ และมีค่า LD50 เท่ากับ 1,585...

283

ผลของสารสกัดกระเทียมแก่ต่อกระบวนการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในหนูทดลอง
ผลของสารสกัดกระเทียมแก่ต่อกระบวนการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในหนูทดลองการทดลองให้สารสกัดจากระเทียมแก่ (สกัดด้วยแอลกอฮอล์ 20%เป็นเวลา 20 เดือน แล้วนำมาระเหยภายใต้ความดันต่ำเพื่อเพิ่มความเข้มข้น สารสกัดเทียม 1 มก. เท่ากับกระเทียมแห้ง 1 ก.) ผสมในอาหารความเข้มข้น 2%กับหนูทดลองที่ได้รับการตัดต่อพันธุกรรมให้มีกระบวนการเกิดโรคอัลไซเมอร์ เป็นเวลา 4 เดือน พบว่าสารสกัดจากกระเทียมมีผลลดกระบวนการเกิดโรคอัลไซเมอร์ คือลดการเกิด amyloid และการอักเสบในสมอง รวมถึงลดการเกิด tau phosphorylation ได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกั...

775

ฤทธิ์ต้านการอักเสบของหล่อฮั่งก๊วย
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของหล่อฮั่งก๊วย (Momordica grosvenori )การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสาร mogrosides ซึ่งสกัดได้จากหล่อฮั่งก๊วย แบบในหลอดทดลอง (in vitro ) ในเซลล์แมคโครฟาจน์ RAW 264.7 ซึ่งถูกกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบด้วยการเติม Lipopolysaccharides (LPS) แล้วจึงเติมสารสกัด mogrosides เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งการเกิดกระบวนการอักเสบของหล่อฮั่งก๊วย และในเซลล์เนื้อเยื่อจากใบหนูของหนูเมาส์โดยทำการฉีดสารสกัด mogrosides เข้าที่ใบหูหนูก่อนกระตุ้นให้เกิดอาการบวมและอักเสบด้วยการฉีด 12-o-tetrade...

903

ฤทธิ์ลดการอักเสบของสาร
ฤทธิ์ลดการอักเสบของสาร triterpenoidal glycoside จากฟักข้าวสาร triterpenoidal saponins ที่แยกได้จากสารสกัด 10% เอทานอลจากเมล็ดฟักข้าว ประกอบด้วย gypsogenin 3-O -β-D-galactopyranosyl(1→2)-[α-L-rhamnopyranosyl(1→3)] -β-D-glucuronopyranoside ซึ่งพบเป็นครั้งแรกในธรรมชาติ และ quillaic acid 3-O -β-D-galactopyranosyl (1→2)-[α-L-rhamnopyranosyl(1→3)] -β-D-glucuronopyranoside เมื่อนำสาร quillaic acid glycoside ความเข้มข้น 20 ไมโครโมล มาทดสอบฤทธิ์ในการลด...

1359

การสังเคราะห์อนุภาคเงินนาโนที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและต้านเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากด้วยวิธีทางชีวภาพโดยใช้สารสกัดน้ำจากเปลือกลำไย
การสังเคราะห์อนุภาคเงินนาโนที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและต้านเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากด้วยวิธีทางชีวภาพโดยใช้สารสกัดน้ำจากเปลือกลำไยอนุภาคเงินนาโน (silver nanoparticles) มีคุณสมบัติที่สามารถพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ มากมายโดยเฉพาะด้านการแพทย์ เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ ต้านการอักเสบ และต้านเซลล์มะเร็ง การสังเคราะห์อนุภาคเงินนาโนมีหลายวิธี เช่น วิธีทางกายภาพและทางเคมี ซึ่งมีราคาแพง และเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการสังเคราะห์อนุภาคเงินนาโนด้วยวิธีทางชีวภาพโดยใช้สารสกัดจากพืชที่มีคุ...

1401

การดื่มชาดำช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารในอาสาสมัครสุขภาพดีและผู้ที่มีแนวโน้มเป็นเบาหวาน
การดื่มชาดำช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารในอาสาสมัครสุขภาพดีและผู้ที่มีแนวโน้มเป็นเบาหวานการศึกษาผลของการดื่มชาดำต่อระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหาร (postprandial blood glucose level) ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี จำนวน13 คน และผู้ที่มีแนวโน้มเป็นเบาหวาน จำนวน 11 คน มีทั้งเพศชายและหญิงซึ่งมีอายุระหว่าง 20-60 ปี โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ดื่มสารละลายซูโครส 50 กรัม ปริมาตร 200 มิลลิลิตร (มล.) ร่วมกับชาดำในขนาดต่ำซึ่งประกอบด้วยสารโพลีฟีนอล 110 มิลลิกรัม (มก.) กลุ่มที่ 2 ดื่มสา...

180

ผลของสารสกัดกระเทียมในหนูที่เป็นเบาหวาน
ผลของสารสกัดกระเทียมในหนูที่เป็นเบาหวาน ได้มีการศึกษาผลของสารสกัดกระเทียมด้วยน้ำในขนาด 100 มก./กก./วัน เมื่อให้หนูขาวที่เป็นเบาหวานกินเป็นเวลา 8 สัปดาห์ จากนั้นนำเอาหลอดเลือดแดงใหญ่มาตรวจสอบการหดตัว พบว่าสารสกัดกระเทียมด้วยน้ำจะช่วยลดปัญหาการผิดปกติของหลอดเหลือดแดง โดยสามารถเพิ่มการบีบตัวของหลอดเลือด J Ethnopharmacol 2003;139-44. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

415

ผลของสารสกัดจากเหง้าขิงในการรักษาลำไส้ใหญ่อักเสบ
ผลของสารสกัดจากเหง้าขิงในการรักษาลำไส้ใหญ่อักเสบเมื่อป้อนหนูขาวด้วยสารสกัด 95% เอทานอลจากเหง้าขิง ขนาด 100, 200 และ 400 มก./กก. และยา sulfasalazine ขนาด 500 มก./กก. ก่อนเป็นเวลา 3 วัน จากนั้นเหนี่ยวนำให้หนูเกิดการอักเสบและเป็นแผลที่ลำไส้ใหญ่ด้วยกรดอะซีติก 3% แล้วทำการศึกษาต่อไปอีก 7 วัน พบว่าสารสกัดจากเหง้าขิงที่ขนาด 200 และ 400 มก./กก. และยา sulfasalazine มีผลลดอาการบวมและอักเสบของลำไส้ โดยดูจากจำนวนแผลและขนาดของลำไส้ใหญ่ที่ลดลง ซึ่งสารสกัดจากเหง้าขิงที่ขนาด 400 มก./กก. จะให้ผลดีที่สุด สารสกัดจ...

35

ผลทางคลินิกเบื้องต้นของมะแว้งเครือในผู้ป่วยหอบหืด
ผลทางคลินิกเบื้องต้นของมะแว้งเครือในผู้ป่วยหอบหืด การศึกษาทางคลินิกเบื้องต้นเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของมะแว้งเครือ (Solanum trilobatum L.) ในผู้ป่วยหอบหืดที่มีอาการระดับอ่อนถึงปานกลาง โดยให้ในรูปผงขนาด 300 มิลลิกรัม รับประทานครั้งเดียวพบว่ามีผลเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบหายใจของผู้ป่วยและไม่พบผลข้างเคียงแต่ประสิทธิภาพนี้ต่ำกว่า ซาลบิวทามอล (salbutamol) 4 มิลลิกรัม และ deriphylline 200 มิลลิกรัมJ Ethnopharmacol 1999;66:205-10 ...