-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านอาการท้องเสียของต้นสีเสียด
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านอาการท้องเสียของต้นสีเสียด
สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์น้ำจากเปลือกต้นสีเสียด (Acacia catechu Willd.) ซึ่งประกอบด้วยสารกลุ่ม catechins เช่น (-)-epicatechin และ (+)-catechin มีฤทธิ์ลดความถี่และความแรงในการหดเกร็งตัวของลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กส่วนปลายที่แยกได้จากหนูตะเภา โดยฤทธิ์การยับยั้งจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณสารสกัดที่ให้ สารสกัดจากต้นสีเสียดสามารถเสริมฤทธิ์ของ calcium antagonist ในการต้านการหดเกร็งบริเวณลำไส้ใหญ่มากกว่าส่วนของลำไส้เล็กส่วนปลาย และสามารถออกฤทธิ์คลายการหดเกร็งของลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กส่วนปลายจากการเหนี่ยวนำด้วยสาร carbachol ซึ่งเป็นการยืนยันว่าเปลือกต้นสีเสียดมีฤทธิ์ต้านการหดเกร็งของลำไส้ผ่านการยับยั้ง muscarinic receptors และ Ca2+ channels ของเซลล์ จากการทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย พบว่าสารสกัดจากต้นสีเสียดสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Campylobacter jejuni, Escherichia coli และ Salmonella spp โดยไม่มีผลต่อเชื้อจุลินทรีย์ชนิด Bifido และ Lactobacillus ในลำไส้เมื่อให้ที่ความเข้มข้น 5 เท่าของฤทธิ์ต้านการหดเกร็ง จึงสามารถสรุปได้ว่าสารสกัดจากต้นสีเสียดออกฤทธิ์บรรเทาอาการท้องเสีย โดยการต้านการหดเกร็งในลำไส้มากกว่าฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาอาการท้องเสียที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
J Med Food 2017;20(6):592-600ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ปกป้องผิวของสารสกัดจากผักกาดแดง
ฤทธิ์ปกป้องผิวของสารสกัดจากผักกาดแดงหนังกำพร้าหรือผิวหนังชั้นนอกสุดมีสาร ceramide ซึ่งเป็นไขมันที่มีหน้าที่ป้องกันการระเหยของน้ำออกจากผิวหนังชั้นนอกสุด ช่วยให้ผิวไม่แห้งกร้าน และช่วยป้องกันร่างกายจากสิ่งต่างๆ รอบตัว หากผิวหนังชั้นนี้ทำหน้าที่ผิดปกติ จะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย เป็นสาเหตุให้เกิดโรคผิวหนังหลายชนิด เช่น ผิวแห้ง ผิวหนังอักเสบ และโรคสะเก็ดเงิน การทดลองให้หนูเม้าส์พันธุ์ไร้ขน (HR-1 hairless mice) เพศผู้ อายุ 4 สัปดาห์ กินอาหารปกติ อาหารที่ม...
ฤทธิ์บรรเทาอาการปวดทางระบบประสาทของน้ำมันหอมระเหยจากโหระพาช้าง
ฤทธิ์บรรเทาอาการปวดทางระบบประสาทของน้ำมันหอมระเหยจากโหระพาช้างทดสอบฤทธิ์บรรเทาอาการปวดทางระบบประสาทของน้ำมันหอมระเหยจากโหระพาช้าง (Ocimum gratissimum L.) ในหนูเม้าส์ที่ถูกรัดเส้นประสาทไซแอติก (sciatic) เพื่อเหนี่ยวนำให้อักเสบ โดยให้น้ำมันหอมระเหยขนาด 10, 20 และ 40 มก./กก. และให้สาร eugenol หรือ myrcene ที่แยกได้จากโหระพาช้างขนาด 1, 5 หรือ 10 มก./กก. ทางปาก เป็นเวลา 14 วัน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมบวกที่ให้ยารักษาอาการปวดเส้นประสาท pregabalin ขนาด 20 มก./กก. ผลการทดสอบพบว่าน้ำมันหอมระเหยขนาด 20...
ผลของการดื่มน้ำเสาวรสต่อระบบประสาทอัตโนมัติของหัวใจและหลอดเลือดและระดับน้ำตาลในเลือด
ผลของการดื่มน้ำเสาวรสต่อระบบประสาทอัตโนมัติของหัวใจและหลอดเลือดและระดับน้ำตาลในเลือดการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มและมีการไขว้กลุ่ม (a randomized cross-over trial) เพื่อศึกษาผลของการดื่มน้ำเสาวรส (Passiflora edulis) ต่อระบบประสาทอัตโนมัติของหัวใจและหลอดเลือด (cardiac autonomic function) และระดับน้ำตาลในเลือดในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 14 คน ทั้งเพศชายและหญิง (อายุเฉลี่ย 21.29±0.73 ปี) โดยสุ่มแยกอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้ดื่มน้ำเสาวรสเข้มข้น 50% ปริมาณ 3.5 มล./น้ำหนักตัว 1 กก. เพียงครั้ง...
ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัดรำข้าวในการรักษาโรคผมบางจากพันธุกรรม
ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัดรำข้าวในการรักษาโรคผมบางจากพันธุกรรมการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มและปกปิดทั้งสองฝ่าย (double-blinded randomized controlled trial) ถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัดจากรำข้าวด้วยวิธีการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤต (rice bran supercritical CO2 extract) ในการรักษาโรคผมบางจากพันธุกรรม (Androgenetic alopecia) โดยศึกษาในผู้ป่วยชาย-หญิง จำนวน 50 คน อายุระหว่าง 28-68 ปี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ให้ทาผลิตภัณฑ์บำรุงผมซึ่งมีส่วนผสมของสารสกัดรำข้าว 0.5% ลงบนหนัง...
ฤทธิ์ต้านการเคลื่อนไหวของลำไส้และต้านอาการท้องเสียของเทียนดำ
ฤทธิ์ต้านการเคลื่อนไหวของลำไส้และต้านอาการท้องเสียของเทียนดำ ทำการทดลองให้สารสกัดน้ำของเมล็ดเทียนดำ ( Nigella sativa Linn. ) แก่หนูทางปาก หลังจากนั้น 30 นาที ฉีด serotonin creatinine sulfate ขนาด 60 ไมโครกรัมต่อ กิโลกรัม เข้าทางช่องท้อง สังเกตอาการทุกครึ่งชั่วโมง เป็นเวลา 6 ชั่วโมง และวัดผลของอาการท้องเสียโดยใช้ค่า Purging index (PI) พบว่า สัตว์ทดลองกลุ่มที่ได้รับสารสกัดเมล็ดเทียนดำ มีค่า PI เป็น 0 ที่ทุกชั่วโมงของการสังเกตผล ยกเว้นภายหลังการทดสอบชั่วโมงที...
ฤทธิ์ยับยั้งภาวะอ้วนลงพุงของสารสำคัญจากโสม
ฤทธิ์ยับยั้งภาวะอ้วนลงพุงของสารสำคัญจากโสมการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งภาวะอ้วนลงพุง (metabolic disease) ของสาร ginsenoside Rg2 ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบได้ในรากโสม (Panax ginseng) โดยทำการทดลองในเซลล์ตับของหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการสะสมไขมันด้วย oleic acid ขนาด 300 ไมโครโมลาร์ และ palmitic acid ขนาด 100 ไมโครโมลาร์ โดยเพาะเลี้ยงเซลล์ร่วมกับสาร ginsenoside Rg2 ขนาด 25 ไมโครโมลาร์ และทำการทดลองในหนูเม้าส์ชนิด C57BL/6J ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอ้วนลงพุงด้วยการได้รับอาหารที่มีไขมันสูงร่วมกับการฉีดสาร g...
ประโยชน์ของมะขามป้อมในการเสริมการรักษาโรคด่างขาว
ประโยชน์ของมะขามป้อมในการเสริมการรักษาโรคด่างขาวการทดสอบทางคลินิกในผู้ป่วยโรคด่างขาว โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 65 คน กลุ่มแรกให้รับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของสารสกัดมะขามป้อม 100 มก. วิตามินอี 10 มก. และแคโรทีนอยด์ 4.7 มก. 3 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 6 เดือน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุม ซึ่งทดสอบควบคู่กับการรักษาด้วยการใช้ยาภายนอกหรือการรักษาด้วยแสง (phototherapy) ผลการทดสอบพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ของกลุ่มที่รับประทานอาหารเสริมมะขามป้อมมีเม็ดสีเพิ่มขึ้นเล็กน้อยบริเวณศีรษะ คอ และลำตัว เปรียบเทีย...
ฤทธิ์ขยายหลอดลมของเทียนสัตตบุษย์
ฤทธิ์ขยายหลอดลมของเทียนสัตตบุษย์ จากการทดลองฤทธิ์ขยายหลอดลมของเทียนสัตตบุษย์ ( Pimpinella anisum Linn. )โดยใช้หลอดลมของหนูที่ถูกทำให้ตีบตัวด้วย methacholineเมื่อให้สารสกัดน้ำ สารสกัดเอทานอล น้ำมันหอมระเหยและtheophylline ( 1mM ) จะแสดงฤทธิ์ขยายหลอดลมอย่างมีนัยสำคัญ โดยน้ำมันหอมระเหยแสดงฤทธิ์ขยายหลอดลมได้น้อยกว่า theophylline ส่วนสารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับ theophylline กลไกในการออกฤทธิ์เกี่ยวข้องก...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินของสารสกัดจากข้าวไทยพันธุ์ต่างๆ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินของสารสกัดจากข้าวไทยพันธุ์ต่างๆ เพื่อใช้ในสูตรสำหรับรักษาเส้นผมการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินของสารสกัด 70% เอทานอลจากข้าวไทยสายพันธุ์ต่างๆ ได้แก่ สีนิล ทับทิมล้านนา หอมนิล ไรซ์เบอร์รี่ แดงสังข์หยด และก่ำดอยมูเซอ เพื่อใช้ในสูตรสำหรับรักษาเส้นผม โดยทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ ferric ions reducing antioxidant power (FRAP) ผลพบว่าสารสกัดข้าวก่ำดอยมูเซอและข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านอนุม...