-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ผลของกระชายดำต่อสมรรถภาพทางเพศของหนูเพศผู้ที่เป็นเบาหวาน
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ผลของกระชายดำต่อสมรรถภาพทางเพศของหนูเพศผู้ที่เป็นเบาหวาน
เมื่อป้อนหนูแรทเพศผู้ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยผงเหง้ากระชายดำ (Kaempferia parviflora) ขนาด 140 280 และ 420 มก./กก. วันละครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่ากระชายดำไม่มีผลต่อน้ำหนักตัว ระดับน้ำตาลในเลือด และการกินอาหารของหนูที่เป็นเบาหวาน แต่มีผลเพิ่มน้ำหนักของอวัยวะสืบพันธุ์ ได้แก่ อัณฑะ ท่อเก็บเชื้ออสุจิ (epididymis) และต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (seminal vesicle) กระชายดำที่ขนาด 420 มก./กก. มีผลเพิ่มความหนาแน่นของอสุจิ แต่ไม่มีผลต่อการเคลื่อนไหว (sperm motility) และความมีชีวิต (sperm viability) ของอสุจิ นอกจากนี้ยังมีผลเพิ่มระดับฮอร์โมน testosterone และทำให้พฤติกรรมทางเพศของหนูดีขึ้น แสดงว่ากระชายดำมีผลในการกระตุ้นความต้องการทางเพศของหนูที่เป็นเบาหวานได้ โดยเพิ่มความหนาแน่นของตัวอสุจิ เพิ่มฮอร์โมนเพศชาย testosterone และช่วยให้สมรรถภาพทางเพศของหนูดีขึ้น
Andrologia 2017;00:e12770.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ปกป้องสมองของสารจากถั่วเหลืองดำ
ฤทธิ์ปกป้องสมองของสารจากถั่วเหลืองดำ (black soybean)การทดสอบฤทธิ์ปกป้องสมองของสารในกลุ่ม anthocyanins ได้แก่ cyanidin-3-O-glucoside, delphinidin-3-O-glucoside และ petunidin-3-O-glucoside ซึ่งแยกได้จากส่วนเปลือกหุ้มเมล็ดของถั่วเหลืองดำ (Glycine max L.) cv. Cheongja 3 ในเซลล์สมองของมนุษย์ (human brain neuroblastoma SK-N-SH) ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการตายด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) พบว่าการที่เซลล์สมองได้รับสารในกลุ่ม anthocyanins (2, 5, 10 และ 25 มคก./มล.) ก่อนการได้รับ H2O2 เซลล์จะลดการส...
การศึกษาความเป็นพิษของชาผู่เอ๋อ
การศึกษาความเป็นพิษของชาผู่เอ๋อ (Pu-erh black tea)ทดสอบความเป็นพิษของชาผู่เอ๋อทั้งแบบเฉียบพลันและกึ่งเรื้อรังในหนูแรท Sprague-Dawley โดยในการศึกษาพิษแบบเฉียบพลัน ทำการทดลองกับหนูแรททั้งหมด 20 ตัว (เพศผู้ 10 ตัว, เพศเมีย 10 ตัว) ป้อนหนูทุกตัวด้วยชาผู่เอ๋อขนาด 10 ก./กก.ของน้ำหนักตัว สังเกตความเปลี่ยนแปลงทางคลินิก และอัตราการตายของหนูในชั่วโมงที่ 1 2 4 8 และ 12 และทำการสังเกตหนู วันละสองครั้ง จนครบ 14 วัน ทำการวัดน้ำหนักตัวที่เปลี่ยนแปลงไป และอัตราการกินอาหารในวันที่ 0 1 3 5 7 10 และ 14 เปรียบเทียบ...
ฤทธิ์แก้ปวดของสารไกลโคโปรตีนจากโสม
ฤทธิ์แก้ปวดของสารไกลโคโปรตีนจากโสมการศึกษาฤทธิ์แก้ปวดของสารไกลโคโปรตีน (glycoproteins) ที่แยกได้จากรากโสม ได้แก่ PGG, PGG1, PGG2 และ PGG3 ในหนูเม้าส์ด้วยวิธีที่เหนี่ยวนำให้เกิดอาการปวดด้วยกรดอะซิติก (acetic acid writhing test) และแผ่นความร้อน (hot-plate tests) ในวิธีที่เหนี่ยวนำด้วยกรดอะซิติก เมื่อฉีดสาร PGG ขนาด 10 20 และ 40 มก./กก. PGG1 และ PGG2 ขนาด 20 มก./กก. และ PGG3 ขนาด 10 และ 20 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนู พบว่า PGG, PGG2 และ PGG3 จะมีผลลดอาการปวดได้ โดย PGG3 ที่ขนาด 20 มก./กก. จะให้ผล...
ผลป้องกันตับของน้ำมันมะกอก
ผลป้องกันตับของน้ำมันมะกอกการศึกษาผลในการป้องกันตับของน้ำมันมะกอกในหนูขาวซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้ตับถูกทำลายด้วยการฉีด 35% เอทานอลเข้าทางช่องท้อง โดยแบ่งหนูเป็นกลุ่มที่กินอาหารปกติ และกลุ่มที่กินอาหารซึ่งผสมด้วยน้ำมันมะกอก 5% เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมซึ่งกินอาหารปกติ และฉีด 0.9% โซเดียมคลอไรด์เข้าทางช่องท้อง ทำการทดลองนาน 6 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยเอทานอล ทั้งที่กินอาหารปกติและกินอาหารที่ผสมน้ำมันมะกอก จะมีการกินอาหารและน้ำหนักตัวลดลง แต่จะมีน้ำหนักของตับเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มควบค...
ฤทธิ์ของสารสกัดเมล็ดลำไยในการลดภาวะที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูง
ฤทธิ์ของสารสกัดเมล็ดลำไยในการลดภาวะที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงภาวะที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูง ก่อให้เกิดข้ออักเสบ โรคไต โรคหัวใจ และอื่นๆ ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ เอนไซม์ xanthine oxidase และการขนส่งเกลือยูเรต การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ xanthine oxidase ของสารสกัดจากเมล็ดลำไย พบว่าสารสกัด ความเข้มข้น 20 50 และ 100 มคก./มล. เมื่อเปรียบเทียบกับ allopurinol (สารยับยั้งเอนไซม์ xanthine oxidase) ความเข้มข้น 0.2 มคก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ xanthine oxidase ต่ำกว่า allopurinol เมื่อทดลองในเซลล...
ผลของสารกัด
ผลของสารกัด EGb 761 จากแป๊ะก๊วยต่อประสิทธิภาพของกระบวนการคิดและการรับรู้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานการศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการคิดและการรับรู้ (cognitive function) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 จำนวน 120 คน (เพศชาย 50 คน และเพศหญิง 70 คน ที่มีอายุเฉลี่ย 54.87 ± 6.35 ปี) ด้วยวิธี minimental scale examination (MMSE), montreal Cognitive Assessment (MoCa) และ Trial Making Test (TMT) พบว่าผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 85 มีประสิทธิภาพในการคิดและการเรียนรู้ในด้านความสนใจ ระบบความจำระยะสั้น และความรวดเร็...
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดหลอดเลือดแข็งตัวของสารสกัดจากใบมะกอกฝรั่ง
ฤทธิ์ป้องกันการเกิดหลอดเลือดแข็งตัวของสารสกัดจากใบมะกอกฝรั่งการศึกษาสารสกัด 75% เอาทานอลจากใบมะกอกฝรั่ง (Olea europaea L.) ต่อการสะสมไขมันในเลือดของหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีภาวะไขมันในเลือดสูงโดยการป้อนด้วยอาหารที่มีส่วนผสมของคอเลสเตอรอล 2% ร่วมกับการป้อนสารสกัดจากใบมะกอกฝรั่งขนาด 50 หรือ 100 มก./กก.น้ำหนักตัว/วัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับการป้อนยาลดไขมัน atorvastatin ขนาด 20 มก./กก.น้ำหนักตัว/วัน ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากใบมะกอกฝรั่งมีผลลดปริมาณคอเลสเตรอลรวม และ LDL-cholesterol ในเลื...
ผลของสารคาทีชิน
ผลของสารคาทีชิน (catechin) จากชาเขียว ต่อการเกิดโรคคอพอก+ ATPase ในเนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ระดับของ tri-iodothyronine (T3) และ thyroxin (T4) ในเลือดลดลง ในขณะที่ระดับของ thyroid - stimulating hormone (TSH) ในเลือดเพิ่มขึ้น จากผลการทดลองดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสารคาทีชินอาจมีฤทธิ์ต้านการทำงานของต่อมไทรอยด์ และการบริโภคชาเขียวในขนาดสูงอาจทำให้การทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติได้ ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัช...
แคปไซซินจากพริกช่วยรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม
แคปไซซินจากพริกช่วยรักษาอาการข้อเข่าเสื่อมการศึกษาแบบ cross-over, double blinded, randomized, controlled trial ในผู้ป่วยหญิงจำนวน 99 คน อายุ 44-82 ปี ที่มีอาการโรคข้อเข่าเสื่อมระดับรุนแรงเล็กน้อยถึงปานกลาง (ระดับความรุนแรงของข้อเสื่อมตามเกณฑ์ของ KL เกรด 2 จำนวน 83 คน และเกรด 3 จำนวน 16 คน) โดยแบ่งให้ผู้ป่วยได้รับยาทาแคปไซซิน (Capsika gel® มีแคปไซซิน 0.0125%) หรือยาหลอก ทาบริเวณเข่าวันละ 3 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์ แล้วหยุดพัก 1 สัปดาห์ จากนั้นสลับการให้ยาระหว่างกลุ่มที่ได้รับยาแคปไซซินและยาหลอก แล...