Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์คลายกังวลของน้ำมันหอมระเหยจากกระดังงาไทย

ศึกษาฤทธิ์คลายกังวลของกระดังงาไทย (Cananga odorata) ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยในการศึกษาแบบเฉียบพลัน ให้หนูเม้าส์สูดดมกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงาไทยที่ความเข้มข้น 0.1, 1 และ 10% ตามลำดับ นาน 10 นาที จากนั้น 1 ชั่วโมงนำหนูไปทดสอบพฤติกรรมที่แสดงออกถึงภาวะเครียดและวิตกกังวลด้วยวิธี open field test (OF), elevated plus maze test (EPM) และ light and dark box test (LDB) ส่วนการศึกษาแบบเรื้อรัง ให้หนูเม้าส์สูดดมน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงาที่ความเข้มข้น 1% นาน 10 นาที ติดต่อกัน 7 วันจากนั้นนำหนูไปทดสอบพฤติกรรมด้วยวิธี OF, EPM และ LDB เช่นเดียวกัน ผลจากการทดลองพบว่า การสูดดมน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงามีฤทธิ์คลายความวิตกกังวลในหนูเม้าส์เพศผู้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ในขณะที่หนูเพศเมียให้ผลการทดสอบไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม และจากการตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยดอกกระดังงาด้วยวิธี gas chromatograph-mass spectrometer (GC/MS) พบว่าสารสำคัญที่ออกฤทธิ์คลายความกังวลคือ benzyl benzoate, linalool และ benzyl alcohol นอกจากนี้ ผลการตรวจวิเคราะห์สารเคมีในสมองของหนูเม้าส์เพศผู้พบว่า การสูดดมน้ำมันหอมระเหยดอกกระดังงามีผลลดความเข้มข้นของ dopamine ในสมองส่วน striatum และเพิ่มความเข้มข้นของ 5-hydroxytryptamine (5-HT) ในสมองส่วน hippocampus ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงามีฤทธิ์คลายความกังวลในหนูเม้าส์เพศผู้ โดยมีผลกับวิถีประสาท 5-HTnergic และ DAnergic pathway

Phytomedicine. 2016; 23(14): 1727- 34.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

361

ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของมะเดื่ออุทุมพร
ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของมะเดื่ออุทุมพรสารสกัด 50% เอทานอลจากผลมะเดื่ออุทุมพร ซึ่งประกอบด้วยกรด gallic 0.57% และกรด ellagic 0.36% ขนาด 50, 100 และ 200 มก./กก. เมื่อป้อนให้แก่หนูขาวก่อนถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยวิธีการผูกกระเพาะ ด้วยเอทานอล หรือด้วยความเย็น (วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกันนาน 5 วัน) พบว่ามีผลลดการเกิดแผลในกระเพาะได้ เมื่อเปรียบเทียบกับยา ranitidine (50 มก./กก.) และสารสกัดที่ขนาด 100 และ 200 มก./กก. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยลดการเกิด lipid peroxidation และเอนไ...

986

การศึกษาความเป็นพิษของตำรับยาจันทน์ลีลา
การศึกษาความเป็นพิษของตำรับยาจันทน์ลีลาการศึกษาความเป็นพิษทั้งแบบเฉียบพลันและกึ่งเรื้อรังของตำรับยาแก้ไข้จันทน์ลีลาในหนูแรท โดย ป้อนสารสกัด 95% เอทานอลจากตำรับยาจันทน์ลีลา ขนาด 5,000 มก./กก. น้ำหนักตัว แบบครั้งเดียว พบว่าไม่ก่อให้เกิความเป็นพิษแก่สัตว์ทดลอง ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือทำให้หนูตาย และไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะภายใน เมื่อทำการทดสอบความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง โดยป้อนสารสกัดจันทน์ลีลาขนาด 600, 1,200 และ 2,400 มก./กก. ต่อเนื่องกัน 90 วัน พบว่าสารสกัดจันทน์ลีลาทุกขนาดไม่ก่อให้เกิ...

92

สารสกัดเมล็ดมะละกอมีผลคุมกำเนิดเพศชาย
สารสกัดเมล็ดมะละกอมีผลคุมกำเนิดเพศชาย เมื่อทดลองให้หนูขาวเพศผู้กินเบนซีนแฟรกชั่นของสารสกัดคลอโรฟอร์มจากเมล็ดมะละกอ ( Carica papaya L. ) ขนาด 5 และ 10 มก./ วัน นาน 150 วัน มีผลลดจำนวนและลดการเคลื่อนที่ของสเปิร์มใน cauda epididymis นอกจากนั้นยังลดจำนวนสเปิร์มที่มีชีวิต และเพิ่มจำนวนสเปิร์มที่มีลักษณะผิดปกติ เริ่มเห็นผลเหล่านี้ภายหลังให้สารสกัดนาน 60 วัน หลังจากหยุดให้สารสกัดแล้ว 60 วัน ผลต่างๆต่อสเปิร์มมีค่ากลับเป็นปกติPhytomedi...

1195

ฤทธิ์ปกป้องสมองของบัวบกจากภาวะอดนอน
ฤทธิ์ปกป้องสมองของบัวบกจากภาวะอดนอนการทดสอบฤทธิ์ปกป้องสมองของสารสกัดเอทานอลมาตรฐานจากบัวบก* (Centella asiatica (L.) Urb.) ในหนูเม้าส์ที่มีภาวะอดนอนเป็นเวลา 72 ชม. ซึ่งจะมีพฤติกรรมวิตกกังวลและมีภาวะสมองอักเสบ โดยให้หนูกินสารสกัดในขนาด 150 และ 300 มก./กก. เป็นเวลา 8 วัน พบว่าสารสกัดทั้ง 2 ขนาดทำให้การเคลื่อนไหวของสัตว์ทดลองดีขึ้น อาการวิตกกังวลลดลง ภาวะการถูกทำลายด้วยออกซิเดชั่น ระดับ tumour necrosis factor (TNF-α) และภาวะสมองอักเสบลดลง เมื่อเทียบกับหนูที่ไม่ได้รับสารสกัด และเมื่อศึกษากลไกก...

543

Policosanols
Policosanols จากอ้อย ไม่มีส่วนช่วยลด LDL oxidation ในผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูงสาร Policosanols เป็นสารให้ความหวานในอ้อย ซึ่งการศึกษาอย่างกว้างขวาง พบว่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย การศึกษาแบบ Randomized double blind crossover ในชายและหญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีคอเลสเตอรอลสูง จำนวน 21 คน สุ่มให้รับประทาน Policosanols 10 มิลลิกรัม/วัน หรือยาหลอกโดยผสมอยู่ในมาการีน เป็นเวลา 28 วัน ทิ้งช่วงล้างยา 28 วัน แล้วสลับมารับประทานมาการีนอีกสูตรที่เหลือ เมื่อจบการทดลองไม่พบความแตกต่างของ LDL oxidation ระหว่าง...

1037

ผลลดน้ำตาลและไขมันของสารสกัดจากใบวอลนัตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่
ผลลดน้ำตาลและไขมันของสารสกัดจากใบวอลนัตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2การศึกษาแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมและปิดบังทั้งสองด้านในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 61 คน ที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับแคปซูลซึ่งประกอบด้วยสารสกัด 70% เอทานอลจากใบวอลนัต (Juglans regia L.) 100 มก. ครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 2 ครั้ง เป็นวลา 3 เดือน และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก พบว่าผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดใบวอลนัต จะมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชม. (fasting blood glucose) ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมใ...

393

ฤทธิ์ต้านมะเร็งจากรากโสม
ฤทธิ์ต้านมะเร็งจากรากโสมการทดสอบฤทธิ์ต้านมะเร็งของสารสกัดจากรากโสม (Panax notoginseng   ) และสารสำคัญ ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม saponins พบว่าสารสกัดโสมที่ขนาด 1.0 มก./มล. ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ SW480 human colorectal cancer cells ได้ 85.8% ซึ่งคาดว่าเป็นผลของ ginsenosides Rb1 และ Rg1 นอกจากนี้ สารสกัดโสมที่ขนาด 0.5 และ 1 มก./มล. ยังเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์แบบ apoptosis การทดสอบโดยให้เซลล์ได้รับสาร notoginsenoside R1, ginsenosides Rg1 และ Rb1 ขนาด 300 ไมโครโมลาร์ เป็นเวลา 2 วัน พบว่า ...

1651

ผลของขิงต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน
ผลของขิงต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานการศึกษาทางคลินิกผลของขิง (Zingiber officinale Roscoe.; ginger) ต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อายุระหว่าง 20 - 80 ปี ที่ใช้ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน และมีค่า HbA1c ระหว่าง 6.0 - 10% โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มทดสอบจำนวน 47 คน ให้รับประทานขิง 1.2 ก. (แคปซูลผงขิง 600 มก. วันละ 2 แคปซูล ก่อนอาหาร 30 นาที มื้อเช้าและเที่ยง) และกลุ่มควบคุมจำนวน 56 คน ให้รับประทานยาหลอก 1.2 ก. (microcrystalline cellulose) ทดสอบเป็นเวลา 90 วัน ป...

1413

ฤทธิ์ต้านเชื้อราของสารสกัดจากผักบุ้งไทยพันธุ์ก้านแดง
ฤทธิ์ต้านเชื้อราของสารสกัดจากผักบุ้งไทยพันธุ์ก้านแดงการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อราของสารสกัด 95% เมทานอลจากยอดและดอกของผักบุ้งไทยพันธุ์ก้านแดงทั้งแบบสดและแห้ง โดยทดสอบในเชื้อราโรคกลาก 3 สายพันธุ์ (Tricophyton rubrum, Epidermophyton floccosum และ Microsporum gypseum) และโรคเกลื้อน 2 สายพันธุ์ (Malassezia furfur และ M. globosa) พบว่าสารสกัดจากยอดแห้งและดอกแห้งสามารถยับยั้งเชื้อ T. rubrum, E. floccosum, M. gypseum และ M. globosa ได้ สารสกัดจากยอดสดสามารถยับยั้งเชื้อ E. floccosum และ M. globosa ส่วนสารสกั...