Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ขับพยาธิของฝรั่งและดาวเรืองใหญ่

ศึกษาฤทธิ์ขับพยาธิของสารสกัดน้ำจากใบฝรั่ง (Psidium guajava) และดอกดาวเรืองใหญ่ (Tagetes erecta) ต่อพยาธิตัวกลม Caenorhabditis elegans ทั้งชนิดดั้งเดิม (wild type) และชนิดดื้อต่อยา levamisole โดยทำการทดสอบในหลอดทดลอง (in vitro) พบว่าสารสกัดดอกดาวเรืองใหญ่ที่ความเข้มข้น 25 มก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้งการเคลื่อนไหว (paralysis) ของ C. elegans ได้ 75% หลังจากให้สารสกัด 8 ชั่วโมง ในขณะที่สารสกัดใบฝรั่งที่ความเข้มข้นเดียวกันสามารถยับยั้งการเคลื่อนไหวของ C. elegans ได้ 100% หลังจากให้สารสกัด 4 ชั่วโมง โดยพบว่าสารสกัดใบฝรั่งสามารถยับยั้ง C. elegans ได้ทั้งชนิดดั้งเดิม (wild type) และชนิดดื้อต่อยา levamisole ส่วนสารสกัดดอกดาวเรืองใหญ่สามารถยับยั้ง C. elegans ชนิดดื้อต่อยา levamisole ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น นอกจากนี้ ทั้งสารสกัดใบฝรั่งและดอกดาวเรืองใหญ่ยังมีฤทธิ์ยับยั้งการวางไข่ (egg laying) ของ C. elegans ได้ 40 และ 65% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับยาชนิดใดๆ เลย ผลการศึกาแสดงให้เห็นว่าใบฝรั่งและดอกดาวเรืองใหญ่มีฤทธิ์ขับพยาธิตัวกลม C. elegans โดยมีผลยับยั้งการเคลื่อนไหวและการวางไข่ ซึ่งอาจมีประโยชน์ในการพัฒนาเป็นยาในอนาคตต่อไป

J Ethnopharmacol. 2017; 202: 92-6.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

598

ฤทธิ์ต้านภาวะหัวใจเต้นผิดปกติจากสารสกัดของเมล็ดองุ่น
ฤทธิ์ต้านภาวะหัวใจเต้นผิดปกติจากสารสกัดของเมล็ดองุ่นการทดสอบฤทธิ์ของสาร proanthocyanidin extract (GSPE) จากเมล็ดองุ่น ซึ่งประกอบด้วย 56% dimeric proanthocyanidins, 12% trimeric proanthocyanidins,6.6% tetrameric proanthocyanidins, monomeric and high-molecular-weight oligomeric proanthocyanidins และ flavonoids ต่อกล้ามเนื้อหัวใจของหนูแรท ที่มีภาวะหัวใจขาดเลือด โดยผูกหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ 30 นาที แล้วเปิดหลอดเลือดให้ไปเลี้ยงหัวใจ (reperfusion) 120 นาที ป้อนหนูด้วย GSPE ขนาด 200 มก./กก./วัน เป็น...

146

ฤทธิ์ยับยั้งการเกิด
ฤทธิ์ยับยั้งการเกิด Nitric oxide (NO) ของสารจากฟ้าทะลายโจร andrographolide และ neoandrographolide เป็นสารซึ่งสกัดแยกได้จากฟ้าทะลายโจร ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ การศึกษาครั้งนี้พบว่า การทดลองในการเพาะเลี้ยงเซลล์ peritoneal macrophage พบว่ายับยั้งการเกิด NO และเมื่อทดลองป้อนให้หนูถีบจักร neoandrographolide เท่านั้นที่ให้ผลยับยั้งการเกิด NO ส่วน andrographolide ไม่ให้ผล Biol Pharm Bull 2002;25(9):1169-74 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อม...

575

ผลลดไขมันของกระเจี๊ยบแดง
ผลลดไขมันของกระเจี๊ยบแดงการศึกษาผลลดไขมันของสารสกัดจากกระเจี๊ยบแดง 2 ชนิด ได้แก่ สารสกัดด้วยน้ำร้อน (ปริมาณ polyphenol 2%) และสารสกัด polyphenols (ปริมาณ polyphenol 74%) โดยให้หนูแฮมสเตอร์กินอาหารที่มีไขมันสูงซึ่งผสมสารสกัดด้วยน้ำร้อน ขนาด 1 และ 2% และสารสกัด polyphenol ขนาด 0.1 และ 0.2% ของอาหาร เป็นเวลา 10 สัปดาห์ เปรียบเทียบผลกับกลุ่มที่กินอาหารไขมันสูงอย่างเดียว พบว่าสารสกัดทั้ง 2 มีผลลดปริมาณของคอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์, LDL cholesterol และเพิ่มปริมาณของ HDL cholesterol ในเลือด รวมทั้งลด...

86

ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพของทองกวาว
ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพของทองกวาว สารสกัดเมทานอลของใบ, ลำต้น และดอกทองกวาว ( Butea monosperma Kuntze ) ถูกแบ่งเป็นส่วนสกัดของเฮกเซน (n-hexane), เอทิล อะซีเตต (ethyl-acetate) และ บิวทานอล (n-butanol) จากนั้นนำแต่ละส่วนสกัดไปทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อโดยวิธี disk diffusion ให้ผลดังนี้ ส่วนสกัดเอทิล อะซีเตตของใบมีฤทธิ์แรงในการต้านเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ S. epidermidis และต้านเชื้อรา Trichophyton mentagrophytes และ Microspor...

823

ผลของการรับประทานสารสกัดจากว่านหางจระเข้ต่อกระบวนการสร้างและสลายไขมันและคาร์โบไฮเดตรในภาวะที่เป็นโรคเบาหวาน
ผลของการรับประทานสารสกัดจากว่านหางจระเข้ต่อกระบวนการสร้างและสลายไขมันและคาร์โบไฮเดตรในภาวะที่เป็นโรคเบาหวานศึกษาผลของการรับประทานสารสกัด lophenol (Lo) และ Cycloartanol (Cy) จากว่านหางจระเข้ต่อกระบวนการสร้างและสลายไขมันและคาร์โบไฮเดรตในหนูแรทที่เป็นเบาหวาน โดยทำการทดลองเลี้ยงหนูแรท 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ตัว ทุกกลุ่มให้อาหารที่มีไขมันสูง (high-fat diet containing 60kcal %fat) ตลอดการทดลอง ในสัปดาห์ที่ 3 ของการเลี้ยง หนูกลุ่มที่ 2 และ 3 ป้อนด้วยสารสกัด Lo และ Cy ขนาดวันละ 1 มล. (25 มค./กก.วัน) ตามลำดับ...

1062

ผลต้านอนุมูลอิสระของโสมแดงในหญิงวัยหมดประจำเดือน
ผลต้านอนุมูลอิสระของโสมแดงในหญิงวัยหมดประจำเดือนการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มปกปิดข้อมูลทั้งสองด้านในหญิงวัยหมดประจำเดือน จำนวน 82 คน อายุระหว่าง 45-60 ปี โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับโสมแดง (Panax ginseng C.A. Meyer) ขนาด 3 ก./วัน (วันละ 3 ครั้งๆ ละ 1 ก.) เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก พบว่ากลุ่มที่ได้รับโสมแดงจะมีระดับของเอนไซม์ superoxide dismutase ซึ่งเกี่ยวข้องกับการต้านอนุมูลอิสระในเลือดเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่มีผลต่อเอนไซม์ glutathione peroxidase ระดับของตัวชี้วัดภาวะเครียดออกซ...

1175

ฤทธิ์ต้านเบาหวานของใบยี่โถ
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของใบยี่โถการทดสอบฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสารสกัดจากต้นยี่โถ (Nerium oleander L.) ในหนูแรทที่เป็นเบาหวาน พบว่าเมื่อป้อนสารสกัด hydromethanolicจากใบยี่โถ ขนาด 50 และ 200 มก./กก.น้ำหนักตัว ให้หนูแรท ติดต่อกัน 20 วัน สามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดลง 73.79% เมื่อเทียบกับหนูเบาหวานปกติ และเมื่อทำการทดสอบการตอบสนองของฮอร์โมนอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด (Oral Glucose Tolerance Test)พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากใบยี่โถสามารถลดระดับน้ำตาลลง 65.72% ภายใน 3 ชั่วโมงหลังป้อนกลูโคส นอกจากนี้สารสกั...

1072

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการแบ่งตัวของเซลล์จากเมล็ดทับทิม
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการแบ่งตัวของเซลล์จากเมล็ดทับทิมการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์ ของสารสกัดเอทานอลจากเมล็ดทับทิม (Punica granatum L., PSEE) ในเซลล์มะเร็งหลายๆ ชนิดของมนุษย์ พบว่า PSEE มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดกระบวนการออกซิเดชั่นของไขมัน (lipid peroxidation) ที่ดี มีฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากชนิด LNCaP ได้ดีกว่าสาร vinblastine ที่เป็นสารต้านมะเร็งถึงสามเท่า และการทดสอบกับเซลล์มะเร็งเต้านม พบว่ามีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวได้ 50% (...

763

โสมกับฤทธิ์ปกป้องหัวใจ
โสมกับฤทธิ์ปกป้องหัวใจการศึกษาฤทธิ์การปกป้องหัวใจของสารสกัดจากโสม (Panax ginseng C.A. Meyer) ในหนูแรท ที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดยการผูกหลอดเลือดหัวใจที่ไปเลี้ยงหัวใจห้องล่างซ้ายด้านหน้าเป็นเวลา 30 นาทีแล้วคายที่ผูกออก ซึ่งหนูแรทจะได้รับการป้อนสารสกัดจากโสม ขนาด 20, 40 และ 80 มก./กก. ก่อนผูกหลอดเลือด 60 นาที ผลการศึกษาพบว่า ในหนูกลุ่มที่ผูกหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ได้รับสารสกัด จะมีกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจเต้นผิดปกติ มีระดับ Creatine-kinase MB และ Lactate dehydrogenase (LDH) ใ...