-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ผลของสารอีควอล
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ผลของสารอีควอล (equol) จากถั่วเหลืองหมัก และสารเรสเวอราทรอล (resveratrol) จากองุ่น ต่ออาการต่างๆ ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
การศึกษาทางคลินิกในอาสาสมัครผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน 60 คน อายุระหว่าง 50-55 ปี ที่มีอาการร้อนวูบวาบ (hot flash) วิตกกังวล (anxiety) และซึมเศร้า (depressive) โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดสอบที่ได้รับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 1 เม็ด/วัน ซึ่งประกอบด้วยถั่วเหลืองหมัก 200 มก. ที่มีสารอีควอล (equol) 10 มก. และสารเรสเวอราทรอล (resveratrol) 25 มก. จากองุ่น เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก หลังจากนั้นทำการวัด ผลการศึกษาหลัก จากการประเมินความเกี่ยวข้องระหว่างอายุและอาการต่างๆ ของวัยหมดประจำเดือนด้วย Menopause Rating Scale (MRS) และผลการศึกษาเสริม จากการประเมินระดับความซึมเศร้าด้วย Hamilton Rating Scale for Depression (HAM-D) และประเมินเกี่ยวกับคุณภาพการนอนหลับด้วย Nottingham HealthProfile (NHP) ตามลำดับ
พบว่ากลุ่มทดสอบที่ได้รับสาร equol และ resveratrol มีอาการต่างๆ ที่เป็นผลมาจากภาวะหมดประจำเดือนดีขึ้น โดยเฉพาะอาการช่องคลอดแห้ง อาการของหัวใจ และปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ โดยมีค่าคะแนน MRS ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอก นอกจากนี้เมื่อสิ้นสุดการทดสอบในสัปดาห์ที่ 12 จากการสังเกตการณ์ความสนใจในการทำงานและกิจกรรมต่างๆ เพื่อชี้วัดอาการซึมเศร้า พบว่ากลุ่มทดสอบมีจำนวนอาสาสมัครมีอาการซึมเศร้าลดลง โดยมีผลปรับปรุงค่าคะแนน HAM-D และมีผลช่วยให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น โดยมีผลปรับปรุงค่าคะแนน NHP เช่นเดียวกัน
จากผลการทดสอบจึงสรุปได้ว่าการได้รับสาร equol จากถั่วเหลืองหมัก และสาร resveratrol จากองุ่น เป็นเวลา 12 สัปดาห์ อาจมีผลช่วยในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะหมดประจำเดือนในผู้หญิงสุขภาพดีได้
ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของแมงลักคา
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของแมงลักคา การทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดเอทานอลของต้นแมงลักคา พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่เหนี่ยวนำด้วย carageenan เมื่อป้อนให้หนูในขนาด 400 มก./กก. ให้ผลใกล้เคียงกับยาต้านอักเสบ Ibuprofen ขนาด 100 มก./กก. และยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย Indian Drug 2002;39(11):574-7 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ผลดีต่อหลอดเลือดหัวใจของการบริโภคผลิตภัณฑ์จากโกโก้
ผลดีต่อหลอดเลือดหัวใจของการบริโภคผลิตภัณฑ์จากโกโก้การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม มีกลุ่มควบคุม มีการสลับกลุ่ม และให้อาสาสมัครใช้ชีวิตตามปกติ (A randomised, controlled, cross-over, free-living study) ในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 24 คน และผู้ป่วยที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงระดับปานกลาง (>2000 มก./ล.) จำนวน 20 คน โดยให้ดื่มนมที่ผสมผลิตภัณฑ์จากโกโก้ซึ่งมีใยอาหารสูง (ประกอบด้วยใยอาหาร 33.9% และ soluble polyphenol 13.9 มก./ก. ) ขนาด 15 ก. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ดื่มนม จากผลกา...
ฤทธิ์ระงับอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังของลูกใต้ใบ
ฤทธิ์ระงับอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังของลูกใต้ใบศึกษาฤทธิ์ระงับอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังของลูกใต้ใบ (Phyllanthus amarus ) โดยทดลองฉีด carrageenan เข้าบริเวณกล้ามเนื้อน่องของหนูแรทเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบและบวมของกล้ามเนื้อแบบเรื้อรัง จากนั้น 2 สัปดาห์ ทำการฉีดสารสกัดชนิดต่างๆ จากลูกใต้ใบซึ่งอุดมไปด้วยสารสำคัญกลุ่ม lignin และ tannin ได้แก่ สารสักดน้ำจากลำต้น, สารสกัดเมทานอลจากใบ (ประกอบด้วยสารสำคัญ phyllanthi และ hypophyllanthin มากกว่า 25%) และสารสกัดน้ำ-เมทานอลจากใบ (ประกอบด้วยสารสำคัญ c...
ใบฝรั่งช่วยลดอาการปวดประจำเดือน
ใบฝรั่งช่วยลดอาการปวดประจำเดือนการทดลองทางคลินิกแบบ double-blinded randomized trial ในสตรีจำนวน 197 คน อายุระหว่าง 17 - 25 ปี มีอาการปวดประจำเดือนสม่ำเสมอทุกรอบเดือน ตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกและมีอาการปวดอย่างน้อย 1 วันของรอบการมีประจำเดือน กลุ่มศึกษานี้เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกอายุประมาณ 12 ปี มีรอบเดือนปกติ รอบประจำเดือนประมาณ 28 หรือ 29 วัน ระยะเวลามีประจำเดือนแต่ละครั้งอย่างน้อย 5 วัน เมื่อวัดค่าระดับความปวดประจำเดือนด้วย VAS (Visaul Analogue Scale; ค่า 0-10, 0 = ไม่มีอาการปวด, 10 = ...
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสารสกัดจากเปลือกเงาะ
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสารสกัดจากเปลือกเงาะสารสกัดเอทานอลจากเปลือกเงาะ มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase และ α-amylase (เอนไซม์ที่ย่อยแป้งและคาร์โบไฮเดรตให้เป็นน้ำตาล) และเอนไซม์ aldol reductase (เอนไซม์ที่เปลี่ยนกลูโคสเป็นซอร์บิทอล) โดยมีค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่ทำให้เอนไซม์ลดลงร้อยละ 50 (EC50) = 2.7 70.8 และ 0.04 มคก./มล. ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดของสาร advanced glycation end-products (AGE) ได้ร้อยละ 43 เมื่อนำสารสกัดเอทานอลมาทำการแยกสกัดสาร พบว่าส่วนใหญ่ประกอบ...
ฤทธิ์ปรับปรุงสภาพผิวของว่านหางจระเข้
ฤทธิ์ปรับปรุงสภาพผิวของว่านหางจระเข้การศึกษาทางคลินิกแบบ randomized, double-blind, placebo-controlled ในอาสาสมัครผู้หญิงสุขภาพดีจำนวน 64 คน อายุ 30-59 ปี โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ให้รับประทานโยเกิร์ตที่มีส่วนผสมของสารสเตอรอล (sterol) จากวุ้นว่านหางจระเข้ (Aloe vera (L.) Burm.f.) 40 มคก. ต่อ 100 กรัม ทุกวัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม จากการประเมินลักษณะของผิวหนังบริเวณปลายแขนพบว่ากลุ่มที่รับประทานโยเกิร์ตผสมสารสเตอรอลมีผลในการเพิ่มความชุ่มชื้นของผิว (skin moisture) ลดการสูญเสียน้...
ฤทธิ์ป้องกันตับเสียหายจากแอลกอฮอล์ของสารซาโปนิน
ฤทธิ์ป้องกันตับเสียหายจากแอลกอฮอล์ของสารซาโปนิน (saponin) จากโสมจีนศึกษาฤทธิ์ปกป้องกันตับของสารซาโปนินจากโสมจีน (Panax notoginseng ) ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้ตับเกิดความเสียหายด้วยการป้อนเอทานอล 36% พบว่าการป้อนสารซาโปนินขนาดวันละ 200 มก./กก. น้ำหนักตัว นาน 4 สัปดาห์ มีผลลดระดับเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของตับ ได้แก่ alanine aminotransferse (ALT) และ aspartate aminotransferase (AST) ลดระดับ malondialdehyde (MDA) และ reactive oxygen species (ROS) ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ถึงการเกิดอนุมูลอิสระ...
ผลของสารสกัดกระเจี๊ยบแดงที่มีต่อเภสัชพลศาสตร์ของยาแอสไพริน
ผลของสารสกัดกระเจี๊ยบแดงที่มีต่อเภสัชพลศาสตร์ของยาแอสไพรินการศึกษาผลของสารสกัดน้ำจากกระเจี๊ยบแดงที่มีต่อเภสัชพลศาสตร์ (pharmacodynamics) ของยาแอสไพรินในหนูแรท โดยแบ่งออกเป็น กลุ่มที่ได้รับสารสกัดน้ำจากกระเจี๊ยบแดง ขนาด 12.5, 25 และ 50 มก. /200 ก. นน.ตัว เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นจะได้รับยาแอสไพริน ขนาด 2 มก./200 ก. นน.ตัว ร่วมกับสารสกัด ในวันที่ 7 ของการศึกษา เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม, กลุ่มที่ได้รับยาแอสไพริน (2 มก./200 ก. นน.ตัว) และกลุ่มที่ได้รับสารสกัด (50 มก./200 ก. นน.ตัว) เพียงอย่างเดียว ประเ...
สาร
สาร 3-O - β -D-Glucosyl-kaempferol จากผักหวานบ้านมีฤทธิ์ช่วยลดน้ำหนักในหนูทดลองป้อนสาร 3-O - β -D-Glucosyl-(1→6)-β -D-glucosyl-kaempferol (GKK) ที่สกัดได้จากกิ่งอ่อนและใบของต้นผักหวานบ้าน ให้หนูปริมาณ 60 มก./กก. เป็นเวลา 28 วัน พบว่าหนูที่ได้รับสารดังกล่าวมีการกินอาหารน้อยลงถึง 15% เมื่อเปรียบเทียบกับหนูปกติ ทำให้หนูมีน้ำหนักน้อยลง ผลการลดน้ำหนักยังสามารถเห็นได้ในหนูที่ได้รับ GKK เพียง 6 มก./กก. นอกจากนี้ในหนูที่กินอาหารที่มีไขมันสูง เมื่อได้รับ GKK ทั้งสองความเข้มข้นจะทำให้...