-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านโรคสะเก็ดเงินจากมังคุด
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านโรคสะเก็ดเงินจากมังคุด
การศึกษาฤทธิ์ต้านสะเก็ดเงินในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลที่ผิวหนังซึ่งมีลักษณะเหมือนโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis-like skin lesions) ด้วยยาอิมิควิโมด (Imiquimod) โดยให้หนูกินสาร isogarcinol (YDIS) ซึ่งแยกได้จากเปลือกมังคุด ในขนาด 100 มก./กก. วันละครั้ง นาน 7 วัน เปรียบเทียบกับการที่หนูได้รับยา cyclosporine A (CsA) ขนาด 50 มก./กก พบว่าการแบ่งตัวและการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติบริเวณเซลล์ผิวหนังของหนูที่ได้รับ YDIS ลดลงอย่างชัดเจน การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับ interleukin-23 (IL-23)/T-helper 17 (Th17) axis รวมทั้งสารก่อการอักเสบอื่นๆ เช่น tumor necrosis factor-α (TNF-α), IL-2 และ interferon (IFN)-γ ลดลง นอกจากนี้ YDIS ยังยับยั้งการกระจายตัวที่ผิดปกติของ T cell และยับยั้งการเปลี่ยนเปลี่ยนแปลง CD4+ T cells ไปเป็น Th17 cells ในม้ามของหนูที่ได้รับยาอิมิควิโมดด้วย เมื่อทำการตรวจสอบในซีรั่มก็พบว่า YDIS ทำให้ IL-10 เพิ่มขึ้น และทำให้ IL-17 ลดลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า YDIS มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ นอกจากนี้ยังพบว่า YDIS ทำให้เกิดความเสียหายต่อตับและไตน้อยกว่ายา CsA การศึกษาเพิ่มเติมในหลอดทดลองพบว่า YDIS สามารถทำให้เซลล์ผิวหนังชนิด HaCaT keratinocytes เกิดการตายได้มากกว่ายา CsA และสามารถยับยั้งการอักเสบที่เกิดจากการเหนี่ยวนำด้วย lipopolysaccharide (LPS) ในเซลล์ดังกล่าวด้วย จากผลการทดลองทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าสาร isogarcinol ซึ่งแยกได้จากเปลือกมังคุดน่าจะมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน
J Agric Food Chem 2017;65:846-57.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ผลลดความดันโลหิตของสารสกัดและน้ำคั้นจาก
ผลลดความดันโลหิตของสารสกัดและน้ำคั้นจาก grapefruitการศึกษาผลต่อความดันโลหิตของสารสกัด 60% เอทานอลจากเปลือก grapefruit โดยใช้รูปแบบการทดลอง คือ Langendorff isolated and perfused rat heart model พบว่าสารสกัด (ซึ่งมีความเข้มข้นของสารฟีโนลิกรวม เท่ากับ 119.3 ± 2.3 มคก.) มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดหัวใจ โดยลดแรงต้านของหลอดเลือดหัวใจ (coronary vascular resistance) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม สารสกัด 60% เอทานอลจากเปลือก grapefruit ขนาด 1-11 มคก./กก. เมื่อทดลองในheart and lung dog preparation (แยกหัวใจแล...
ฤทธิ์ของสารสกัดเหง้าขิงป้องกันความเป็นพิษต่อไตจากยารักษามะเร็ง
ฤทธิ์ของสารสกัดเหง้าขิงป้องกันความเป็นพิษต่อไตจากยารักษามะเร็งการป้อนสารสกัดเหง้าขิงด้วยเอธานอลขนาด 200 และ 400 มก./น้ำหนักตัว 1 กก.ให้หนูขาวเพศเมีย 1 ชม.ก่อนถูกเหนี่ยวนำให้ไตวายเฉียบพลันด้วยการฉีดสาร doxorubicin (DXN) ขนาด 15 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. หลังจากนั้น 72 ชม.ทำการวัดผลการศึกษา พบว่าในหนูที่กินสารสกัดเหง้าขิงขนาด 200 และ 400 มก./น้ำหนักตัว 1 กก.ร่วมกับการฉีดสาร DXN มีระดับ Urea และ Creatinine ในเซรัมมีค่าลดลงนอกจากนี้ยังพบว่าระดับเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระในไต เช่น superoxide, catalase, gl...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของไหมข้าวโพด
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของไหมข้าวโพดการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของไหมข้าวโพดจากตัวอย่างข้าวโพด 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ไหมข้าวโพดหวานสลับสี ไหมข้าวโพดหวาน และไหมข้าวโพดข้าวเหนียว พบว่าสารสกัด 50% เอทานอลจากไหมข้าวโพดหวาน มีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH radical scavenging โดยมีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 (IC50) เท่ากับ 5991.98±60.61 มคก./มล. สำหรับการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส พบว่าสารสก...
ฤทธิ์เป็นพิษกับเซลล์ของสารลิโมนอยด์จากต้นเลี่ยน
ฤทธิ์เป็นพิษกับเซลล์ของสารลิโมนอยด์จากต้นเลี่ยนสารลิโมนอยด์จากเปลือกต้นเลี่ยน เมื่อนำไปทดสอบกับเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( HL-60 : myeloid leukemia), เซลล์มะเร็งตับ (SMMC-7721 : hepatocellular carcinoma), เซลล์มะเร็งปอด (A-549 : lung cancer), เซลล์มะเร็งเต้านม MCF-7 (human breast adenocarcinoma), และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (SW480 : colorectal cancer) ของคน พบว่าค่าความเข้มข้นครึ่งหนึ่ง IC50 ที่เป็นพิษกับเซลล์มะเร็งดังกล่าวมีค่าอยู่ระหว่าง 0.003 - 0.555 ไมโครโมลาร์Planta Med 2013;79:163-...
ผลของยาเม็ดขิงชนิดแตกตัวเร็วในช่องปากในการช่วยปรับปรุงการกลืนของผู้สูงอายุ
ผลของยาเม็ดขิงชนิดแตกตัวเร็วในช่องปากในการช่วยปรับปรุงการกลืนของผู้สูงอายุการศึกษาในผู้สูงอายุ จำนวน 18 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 63-90 ปี โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่รับประทานยาเม็ดขิงชนิดแตกตัวเร็วในช่องปาก (ประกอบด้วยผงขิง 1%) และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก จากนั้นทำการเก็บตัวอย่างน้ำลายของผู้สูงอายุ ทำการประเมินผลโดยทดสอบการกลืนน้ำลาย (saliva swallowing test) และกลืนน้ำ (drinking test) และการส่องกล้อง (swallowing endoscopy) ก่อนและหลังได้รับยา 15 นาที ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับยาเม็ดขิง จ...
ฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องเดินของสารสกัดรากสบู่ดำ
ฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องเดินของสารสกัดรากสบู่ดำ จากการทดลองในหนูขาวที่ทำให้เกิดอาการท้องเดินด้วยน้ำมันละหุ่ง พบว่าสารสกัด methanol จากรากของสบู่ดำ (Jatropha curcus L.) แสดงฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องเดิน โดยขนาดของสารสกัดที่ให้ผลอย่างมีนัยสำคัญคือมากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวคาดว่ากลไกการออกฤทธิ์เกิดจากการยับยั้งการสร้าง prostaglandin และฤทธิ์ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็กJ Ethnopharmacol 2000;70:183-7 ...
ผลของปริมาณคาเฟอีนต่อคุณภาพน้ำเชื้อ
ผลของปริมาณคาเฟอีนต่อคุณภาพน้ำเชื้อ (Semen)สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของน้ำเชื้อและปริมาณการบริโภคคาเฟอีนในชายชาวเดนมาร์ค 2554 คน ในปี ค.ศ. 2001-2005 โดยให้อาสาสมัครตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ และขอเก็บตัวอย่างน้ำเชื้อเพื่อตรวจวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าผู้บริโภคคาเฟอีนปริมาณขนาดปานกลาง (101-800 มิลลิกรัมต่อวัน) และบริโภคเครื่องดื่มโคล่าไม่เกิน 14 ขวดต่อสัปดาห์ (ขวดขนาด 0.5 ลิตร) เปรียบเทียบกับผู้ที่บริโภคคาเฟอีนปริมาณน้อย (ไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต...
ฤทธิ์ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารของขึ้นฉ่าย
ฤทธิ์ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารของขึ้นฉ่ายการศึกษาฤทธิ์ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัด 96% เอทานอลจากส่วนเหนือดินของขึ้นฉ่าย (Apium graveolens L.) ในหนูแรท พบว่าการให้หนูกินสารสกัดขึ้นฉ่ายสามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารจากการเหนี่ยวนำด้วยยา indomethacin ได้ โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดของสารสกัดที่ให้ และสารสกัดที่ขนาด 250 และ 500 มก./กก. สามารถลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารจากการเหนี่ยวนำด้วยแอลกอฮอล์และด่างแก่ได้ โดยที่ขนาด 500 มก./กก. สามารถลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารในอย่าง...
สารสำคัญในทองพันชั่งยับยั้งเซลล์มะเร็ง
สารสำคัญในทองพันชั่งยับยั้งเซลล์มะเร็งสาร Rhinacanthins-C, -N และ -Q ซึ่งเป็นสารหลักในกลุ่ม naphtoquinone esters แยกได้จากรากทองพันชั่ง มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง ความเข้มข้นของสารที่ออกฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งปากมดลูก (HeLaS3 cells) ได้ 50% เท่ากับ 80, 65, 73 ไมโครโมล, 55, 45, 35 ไมโครโมล และ 1.5, 1.5 และ 5.0 ไมโครโมล ในระยะเวลาที่เซลล์สัมผัสกับสารนาน 24, 48 และ 72 ชม. ตามลำดับ มีกลไกการออกฤทธิ์ไปทำให้เซลล์ตาย (apoptosis) เกิด nuclear fragmentation, DNA ladder, ยับยั้ง cell cycle ระดั...