-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านภาวะเบาหวานของกระเทียมดำ
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านภาวะเบาหวานของกระเทียมดำ
กระเทียมดำเกิดจากการนำกระเทียมสดมาบ่มภายใต้สภาวะที่มีอุณหภูมิสูงและควบคุมความชื้น (aging process) ซึ่งกระเทียมดำนี้จะอุดมไปด้วยสาร S-allylcysteine (SAC), polyphenols และ flavonoids ที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมาย การศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะเบาหวานของกระเทียมดำ ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin (STZ) โดยแบ่งหนูเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นหนูปกติ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ได้รับ STZ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 3 ได้รับ STZ + น้ำคั้นกระเทียมสด 200 มก./กก./วัน กลุ่มที่ 4 ได้รับ STZ + น้ำคั้นกระเทียมดำ (aged black garlic juice; BGJ) 200 มก./กก./วัน กลุ่มที่ 5 ได้รับ STZ + น้ำคั้นกระเทียมดำที่ผ่านกระบวนการบ่มโดยใช้เอนไซม์ pectinase และแรงดันน้ำความดันสูง (High hydrostatic pressure) (PBGJ) 100 มก./กก./วัน และกลุ่มที่ 6 ได้รับ STZ + PBGJ 200 มก./กก./วัน โดยใช้ระยะเวลา 31 วัน จากการทดลองพบว่า PBGJ มีฤทธิ์ต้านภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่ดี รวมทั้งทำให้โครงสร้างและการทำงานของเบต้าเซลล์ (β-cell) ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพดีกว่า BGJ ด้วย และจากการวิเคราะห์ทางเคมีพบว่า PBGJ มีปริมาณของ SAC, polyphenols และ flavonoids สูงกว่า BGJ และกระเทียมสด ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับต้านภาวะเบาหวานได้
J Agric Food Chem 2017;65:358-63.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
สารสกัดดอกคาโมมายล์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระอันเนื่องมาจากการติดเชื้อพยาธิในลำไส้
สารสกัดดอกคาโมมายล์ต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระอันเนื่องมาจากการติดเชื้อพยาธิในลำไส้ศึกษาฤทธิ์ฆ่าพยาธิ Heligmosomoides polygyrus ของสารสกัดเมทานอลจากดอกคาโมมายล์ (Matricaria recutita L.) ในจานเพาะเลี้ยงตัวอ่อนระยะที่ 3 เปรียบเทียบกับยาฆ่าพยาธิ albendazole (in vitro) และศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ และฆ่าพยาธิของดอกคาโมมายล์ในหนูเม้าส์ที่ถูกทำให้ติดเชื้อพยาธิในลำไส้ด้วยการให้ตัวอ่อนระยะที่ 3 ของพยาธิ H. polygyrus ผ่านทางสารสวนกระเพาะอาหาร (in vivo) โดยป้อนสารสกัดเมทานอลดอกคาโมมายล์ข...
การศึกษาประสิทธิภาพของแคปซูลขมิ้นชันในผู้ป่วยโรคโควิด-19
การศึกษาประสิทธิภาพของแคปซูลขมิ้นชันในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีความรุนแรงของอาการระดับน้อยถึงปานกลางการศึกษาทางคลินิกแบบเปิด (open-label nonrandomized clinical trial) ถึงประสิทธิภาพของขมิ้นชันอนุภาคนาโน (nano-curcumin) ต่อการบรรเทาอาการของโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและมีความรุนแรงของโรคในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง จำนวน 41 ราย แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับซอฟท์เจลแคปซูลขมิ้นชันอนุภาคนาโน (nano-curcumin: Sinacurcumin soft gel ซึ่งประกอบด้วยสารเคอร์คูมินอยด์ในรูป...
ผลในการรักษาอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกของเส้นใยอาหารจากลูกซัด
ผลในการรักษาอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกของเส้นใยอาหารจากลูกซัดการศึกษาผลของผลิตภัณฑ์ซึ่งมีเส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้จากเมล็ดลูกซัดประกอบอยู่ 85% ในการรักษาอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก (heratburn) โดยทดลองในผู้ป่วยชายและหญิง จำนวน 45 คน อายุระหว่าง 36 - 62 ปี แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยาหลอก คือแคปซูลแป้ง วันละ 2 ครั้งๆ ละ 4 แคปซูล กลุ่มที่ได้รับยาลดกรด Ranitidine ขนาด 75 มก./เม็ด วันละ 2 ครั้งๆ ละ 1 เม็ด และกลุ่มที่ได้รับเส้นใยอาหารจากลูกซัด ขนาด 500 มก./แคปซูล วันละ 2 ครั้งๆ ละ 4 แคป...
ฤทธิ์ต้านการเป็นพิษต่อตับจากใบคูน
ฤทธิ์ต้านการเป็นพิษต่อตับจากใบคูน จากการทดลองในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้ตับเป็นพิษโดยให้ยาพาราเซตามอลในขนาดสูง ( 750มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ) พบว่าในหนูที่ได้กินสารสกัด n-heptane ของใบคูน(Cassia fistula Linn.) ในขนาด 400มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมก่อนได้รับยาพาราเซตามอล มีระดับ transaminases ( SGOT และ SGPT ) bilirubin และ alkaline phosphatase( ALP ) ใกล้เคียงระดับปกติมากกว่าหนูที่ไม่ได้รับสารสกัดPhytomedicine ; 8(3) : 220-24 ...
ฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือดจากฟ้าทะลายโจร
ฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือดจากฟ้าทะลายโจรสารandrographolide (AP1) และ 14-deoxy-11, 12-didehydroandrographolide (AP3) จากฟ้าทะลายโจร ความเข้มข้น 1-100 ไมโครโมล มีฤทธิ์ยับยั้งทรอมบินที่ไปเหนี่ยวนำให้เกร็ดเลือดของหนูขาวเกาะกลุ่ม ในขณะที่สาร neoandrographolide (AP4) ออกฤทธิ์เล็กน้อยหรือไม่มีฤทธิ์ AP3 (ความเข้มข้นของสารที่ทำให้เกร็ดเลือดเกาะกลุ่ม 50% (IC50) มีค่า 10-50 ไมโครโมล) จะออกฤทธิ์ต้านเกร็ดเลือดสูงกว่า AP1 กลไกในการยับยั้งเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือดของ AP1 และ AP3 คือออกฤทธิ์ยับยั้ง...
ผลของสารสกัดจากแป๊ะก๊วยต่อการไหลเวียนโลหิตของผู้สูงอายุ
ผลของสารสกัดจากแป๊ะก๊วยต่อการไหลเวียนโลหิตของผู้สูงอายุการทดลองทางคลินิกโดยการสุ่มแบบปกปิด (double-blinded, randomized, placebo-controlled design) ในผู้สูงอายุสุขภาพดีจำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน ที่ได้รับการฉีด saline เข้าทางหลอดเลือดดำ และกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน ได้รับการฉีดสารสกัดจากแป๊ะก๊วยขนาด17.5 มิลลิกรัม เข้าทางหลอดเลือดดำ ซึ่งสารสกัดดังกล่าวมีสาร ginkgo flavone glycoside 4.2 มิลลิกรัม พบว่าในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดมีการไหลเวียนของเลือดบริเวณเส้นเลือดที่มาเลี้ยงกล้า...
ในกลุ่ม
ในกลุ่ม triterpenoids จากน้ำเต้ากับความเป็นพิษต่อเซลล์สารในกลุ่ม triterpenoids จากน้ำเต้า (Lagenaria siceraria ) ชนิด D:C-friedooleane-type triterpenes แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ human hepatoma SK-Hep 1 โดยมีสาร etoposide เป็น positive control ซึ่งมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ได้ 50% (IC50) 2.2 มคก./มล. และหลังจากการนำสารในกลุ่ม triterpenoids ดังกล่าวมาแยกหาสารสำคัญพบว่า สาร 3 beta-O-(E)-coumaroyl-D:C-friedooleana-7,9(11)-dien-29-oic acid และสาร 20-epibryonolic acid แสดงคว...
ฤทธิ์ต้านเชื้อราของสาร
ฤทธิ์ต้านเชื้อราของสาร eugenol และ nerolidol จากสนแผงEugenol และ nerolidol ที่แยกได้จากต้นสนแผง มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา Microsporum gypseum ในหลอดทดลอง โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งเชื้อได้ (MIC) เปรียบเทียบกับยา econazole เท่ากับ 0.01-0.03%, 0.5-2% และ 0.0004-0.0016% ตามลำดับ เมื่อนำสารทั้ง 2 ที่ความเข้มข้น 10% มาเตรียมเป็นยาทาที่ผิวหนังของหนูตะเภาที่ติดเชื้อรา M. gypseum โดยทาทุกวัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ พบว่ายาเตรียมจากสารทั้ง 2 ให้ผลในการรักษาเชื้อราในสัปดาห์แรกของการรักษา โดยจะลดขนาดแผ...
ฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็งของมะขามป้อม
ฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็งของมะขามป้อมการศึกษาฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันและต้านมะเร็งของสารฟีนอลิกจากผลมะขามป้อม ได้แก่ สาร geraniin, quercetin 3-β-D-glucopyranoside, kaempferol 3-β-D-glucopyranoside, isocorilagin, quercetin และ kaempferol โดยทดสอบด้วยวิธีการวัดการเพิ่มจำนวนของเซลล์ม้าม (splenocyte) ของหนู เซลล์ human breast cancer (MCF-7) และเซลล์ human embryonic lung fibroblast (HELF) พบว่าสารฟีนอลิกจากมะขามป้อม มีผลเพิ่มจำนวนของเซลล์ม้ามตามความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น ซึ่...