Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์บรรเทาอาการลำไส้แปรปรวนของน้ำมันหอมระเหยจากขมิ้นและเทียนแกลบ

การศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยลำไส้แปรปรวนที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางทั้งหญิงและชายจำนวน 121 คน (จากการประเมินด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับความรุนแรงของอาการต่างๆ ของโรคลำไส้แปรปรวน Irritable Bowel Syndrome Symptom Severity Score; IBS-SSS มีคะแนนเท่ากับ 100-300 และจากการประเมินความเจ็บปวดด้วย 100 mm analogue scale มีคะแนนเท่ากับ 30-70) โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ให้รับประทานยาแคปซูลที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยจากขมิ้น (Curcuma longa) ซึ่งมีงานวิจัยระบุว่ามีฤทธิ์ต้านอักเสบ ปริมาณ 42 มก. และน้ำมันหอมระเหยจากเทียนแกลบหรือผักชีล้อม (Foeniculum vulgare; fennel) ซึ่งมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้และขับลม ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ ปริมาณ 17.5 มก. รับประทานครั้งละ 2 แคปซูล 2 ครั้ง/วัน เป็นเวลา 30 วัน ผลการทดสอบพบว่าแคปซูลขมิ้นและเทียนแกลบมีความปลอดภัย ผู้ป่วยมีความสามารถทนต่อยา (tolerability) ได้ดี เมื่อประเมินอาการด้วยแบบสอบถาม IBS-SSS เปรียบเทียบกับช่วงเริ่มทำการศึกษา พบว่ามีค่าคะแนนเฉลี่ยลดลง แสดงว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น และยังมีผลลดความเจ็บปวดบริเวณช่องท้องและอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้จากการให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวันที่เป็นผลสืบเนื่องจากอาการของโรค (Irritable Bowel Syndrome Quality of life) พบว่ากลุ่มที่ได้รับแคปซูลขมิ้นและเทียนแกลบมีค่าคะแนนที่แสดงว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างคงที่ จากผลการประเมินจึงสรุปได้ว่า น้ำมันหอมระเหยจากขมิ้นและเทียนแกลบ มีผลช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ของโรคลำไส้แปรปรวน และส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เมื่อใช้เป็นระยะเวลามากกว่า 30 วัน

J Gastrointestin Liver Dis 2016;2:151-157.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1347

ฤทธิ์ต้านการอักเสบของผักชีล้อม
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของผักชีล้อมศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสาร isorhamnetin, hyperoside และสารสกัดเอทานอลจากผักชีล้อม (Oenanthe javanica) โดยทำการทดสอบในหลอดทดลอง (in vitro) ด้วยเซลล์แมคโครฟาจ (macrophage) ของมนุษย์และหนูเม้าส์พบว่า สารสกัดเอทานอลผักชีล้อมมีผลลดการหลั่งไซโตไคน์ interleukin-1β (IL-1β) ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยกระตุ้นการทำงานของเซลล์แมคโครฟาจ และยับยั้งการเกิดโครงสร้างเชิงซ้อน Asc pyroptosome ที่เกิดจากการจับกันของ caspase 1 กับ NOD-like receptors (NLRs) ได้แก่ NLR...

179

ฤทธิ์ต้านการอักเสบของหญ้าดอกขาว
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของหญ้าดอกขาว นักวิทยาศาสตร์ชาวอินเดียได้ศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดหญ้าดอกขาวทั้งต้นด้วยเมทานอล พบว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ทั้งฤทธิ์เฉียบพลันซึ่งเหนี่ยวนำด้วย carrageenin, histamine และ serotonin และต้านการอักเสบเรื้อรังโดยใช้ cotton เหนี่ยวนำ โดยขนาดที่ออกฤทธิ์คือ 250 และ 500 มก./กก. เมื่อป้อนในหนูขาว Phytomedicine 2003;10:185-8. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

770

นมถั่วเหลืองผสมนมขาดมันเนยที่เติมเชื้อ
นมถั่วเหลืองผสมนมขาดมันเนยที่เติมเชื้อ Lactobacillus ต้านโรคกระดูกพรุนการศึกษาผลของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนมถั่วเหลืองผสมนมขาดมันเนยอัตราส่วน 75:25 ในหนูเม้าส์ที่ถูกตัดรังไข่ (OVX) โดยการทดสอบสารออกฤทธิ์ พบว่า ในนมถั่วเหลืองผสมนมขาดมันเนยที่มีการเติมเชื้อจุลินทรีย์ Lactobacillus paracasei subsp. paracasei  (NTU 101F) มีปริมาณไอโซฟลาโวน, แคลเซียม และวิตามินดี (D3) มากกว่าในนมถั่วเหลืองผสมนมขาดมันเนยที่ไม่มีการเติมเชื้อจุลินทรีย์ Lactobacillus  (NFSM) หนูเม้าส์แบ่งออกเป็น 1. กลุ่มที่ไม่...

1448

ฤทธิ์บรรเทาภาวะเครียดของกลิ่นหอมจากชาดำ
ฤทธิ์บรรเทาภาวะเครียดของกลิ่นหอมจากชาดำการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม ปกปิดทางเดียว และมีการไขว้กลุ่ม (cross-over, single-blind, randomized design) เพื่อศึกษาฤทธิ์บรรเทาภาวะเครียดของกลิ่นหอมจากชาดำ 2 ชนิดคือ ชาดาร์จีลิ่ง(Darjeeling) และชาอัสสัม (Assam) ในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 18 คน (เพศชาย 5 คน และเพศหญิง 13 คน) อายุเฉลี่ย 20.4 ± 0.81 ปี อาสาสมัครแต่ละคนจะถูกทดสอบ 3 ครั้ง แต่ละครั้งได้รับเครื่องดื่มต่างชนิดกัน ห่างกันครั้งละ 24 ชั่วโมง โดยในแต่ละรอบของการทดลองเมื่ออาสาสมัครมาถึงสถา...

22

ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของชิงช้าชาลี
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของชิงช้าชาลี เมื่อให้สารสกัดด้วยน้ำจากรากชิงช้าชาลี (Tinospora cordifolia (D.C.) Miers) แก่หนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan ในขนาด 2.5 และ 5 กรัม ต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว โดยให้กินติดต่อกันนาน 42 วัน เปรียบเทียบกับหนูกลุ่มที่เป็นเบาหวานแต่ไม่ได้รับสารสกัดพบว่า สารสกัดรากชิงช้าชาลีมีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดและในปัสสาวะหนู ลดระดับโคเลสเตอรอล กรดไขมันอิสระ และฟอสโฟไลปิดในสมอง เพิ่มระดับฮีโมโกลบิ...

721

สารคาทีชินในชาช่วยป้องกันการเกิดภาวะความผิดปกติของผนังหลอดเลือด
สารคาทีชินในชาช่วยป้องกันการเกิดภาวะความผิดปกติของผนังหลอดเลือด และต้านการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งในผู้ที่สูบบุหรี่การศึกษาในผู้ชายที่สูบบุหรี่จำนวน 30 คน ที่มีประวัติในการสูบบุหรี่ 20 มวน/วัน นาน 1 ปี หรือมากกว่า และมีสุขภาพดีไม่เป็นโรคเบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมได้รับเครื่องดื่มที่ไม่มีสารคาทีชิน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้รับเครื่องดื่มที่มีสารคาทีชินในระดับกลาง (80 มก./วัน) กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ได้รับเครื่องดื่มที่มีสารคาทีชินในระดับสูง (580 มก...

341

ผลเพิ่มความไวต่ออินซูอินในหนูอ้วนของสาร
ผลเพิ่มความไวต่ออินซูอินในหนูอ้วนของสาร myricetin จากชะมดต้นในหนูอ้วนที่มีภาวะไขมัน ระดับน้ำตาล และอินซูอินในเลือดสูง เมื่อให้สาร myricetin จากส่วนเหนือดินของชะมดต้น ขนาด 0.3, 0.5 และ 1 มก./กก. โดยการฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ พบว่า myricetin ขนาด 1 มก./กก. มีผลลดระดับน้ำตาลและเพิ่มอินซูลินในเลือดได้ และเมื่อฉีด myricetin ขนาด 1 มก./กก. วันละ 3 ครั้ง แก่หนู เป็นเวลา 1 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับการป้อนยา metformin ซึ่งเป็น insulin sensitizer (320 มก./กก. วันละ 3 ครั้ง) พบว่า myricetin มีผลลดน้ำตาลในเลือดไ...

1585

ผลของมะกอกเปอร์เซียต่อฮอร์โมนเพศในหญิงวัยหมดประจำเดือน
ผลของมะกอกเปอร์เซียต่อฮอร์โมนเพศในหญิงวัยหมดประจำเดือนการศึกษาแบบ double-blind randomized placebo-controlled trial ในอาสาสมัครเพศหญิงวัยหมดประจำเดือน (menopause women) จำนวน 58 คน สุ่มแบ่งกลุ่มให้รับประทานผงแห้งจากผลมะกอกเปอร์เซีย (Elaeagnus angustifolia L.) ขนาด 15 ก./วัน หรือยาหลอก เป็นเวลา 10 สัปดาห์ ผลจากการตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพศ ได้แก่ estradiol, progesterone, testosterone, follicle-stimulating hormone (FSH) และ luteinizing hormone (LH) ไม่พบความแตกต่างของระดับฮอร์โมนทั้งก่อนและหลังการรับปร...

1576

กลไกในการยับยั้งการสะสมไขมันในตับของสาร
กลไกในการยับยั้งการสะสมไขมันในตับของสาร p-coumaric acidศึกษากลไกการยับยั้งการสะสมไขมันในตับของสาร p-coumaric acid ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม phenolic acid ที่พบได้มากในมะเขือเทศ เห็ด องุ่น และกาแฟ ในเซลล์ตับของมนุษย์ชนิด HepG2 ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยกรดไขมัน palmitic acid (PA) ขนาด 1 มิลลิโมลาร์ โดยให้สาร p-coumaric acid ขนาด 5, 10, และ 20 ไมโครโมลาร์ (ขนาดของสาร p-coumaric acid ที่ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์คือ J Agric Food Chem. 2020;68:3742-9. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไ...