Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ต้านภูมิแพ้ของเลมอนและส้มควินซ์

การทดสอบทางคลินิกแบบ randomized placebo controlled cross-over study ในผู้ป่วยที่มีอาการแพ้เกสรหญ้าทั้งหญิงและชายอายุ 18-50 ปี จำนวน 43 คน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ได้รับสเปรย์พ่นจมูกที่มีส่วนผสมของสารสกัดเลมอน (Citrus limon) ขนาด 80-120 มก./10 มล.และส้มควินซ์ (Cydonia oblonga) ขนาด ขนาด 300 มก./10 มล. เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ทำการทดสอบเป็นเวลา 1 สัปดาห์ แล้วสลับการรักษา และประเมินอาการภูมิแพ้ของผู้ป่วยแต่ละกลุ่มก่อนและหลังการรักษา ผลการศึกษาหลัก จากการวัดค่าอัตราการไหลของอากาศหายใจเข้าผ่านทางช่องจมูก (inspiratory nasal flow) ด้วยเครื่องมือ rhinomanometry ซึ่งเป็นการวัดความดันภายในโพรงจมูกที่ทําให้มีอากาศผ่านเข้าออกจากจมูก และจากการวิเคราะห์แบบตามแผนการทดลอง หรือ per protocol analysis ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ที่นําเฉพาะอาสาสมัครที่ยินยอมรับการทดลองตามวิธีการที่กําหนดไว้ทั้งหมดของแต่ละกลุ่มมาวิเคราะห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับสเปรย์เลมอนและส้มควินซ์มีค่า inspiratory nasal flow หลังจากกระตุ้นด้วยสารก่อภูมิแพ้เกสรหญ้าเป็นเวลา 10 และ 20 นาที สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก แสดงว่ามีอาการคัดจมูกน้อยกว่า และผลการศึกษารอง จากการประเมินคะแนนของลักษณะอาการทางจมูก (nasal symptom score) พบว่ากลุ่มที่ได้รับสเปรย์เลมอนและส้มควินซ์แสดงค่าที่ต่ำกว่า แสดงว่ามีอาการรุนแรงน้อยกว่า สำหรับการวัดระดับสารของ histamine ในน้ำมูกที่ทำให้เกิดอาการต่างๆ ของโรคภูมิแพ้ของทั้งสองกลุ่มพบว่าไม่แตกต่างกัน และค่าความสามารถทนต่อยา (tolerability) อยู่ในอัตราที่ดีทั้งสองกลุ่ม จากผลการทดสอบจึงสรุปได้ว่าสเปรย์ที่มีส่วนผสมของเลมอนและส้มควินซ์อาจมีฤทธิ์ต้านภูมิแพ้เล็กน้อย และอาจช่วยบรรเทาอาการของไข้ละอองฟางได้ อย่างไรก็ตามควรมีข้อมูลการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

Phytother Res 2016;30:1481-6.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

730

ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของ
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของ Curcumin จากขมิ้นชันการศึกษาผลของ curcumin จากขมิ้นชันต่อภาวะดื้ออินซูลินและฤทธิ์ลดน้ำตาลในหนูแรทเพศผู้ที่ถูกกระตุ้นให้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus) ด้วยการกินอาหารไขมันสูง นาน 60 วัน โดยป้อนขมิ้นชัน ขนาด 80 มก./กก.น้ำหนักตัว ให้หนูแรทกินพร้อมอาหารไขมันสูง นาน 60 วัน เพื่อศึกษาผลการป้องกันของ curcumin และป้อน curcumin ขนาด 80 มก./กก.น้ำหนักตัว ให้แก่หนูแรทที่เป็นเบาหวาน (หลังจากกินอาหารไขมันสูง 60 วัน) ต่อไปอีก 15 วัน เพื่อศึกษาผลการรักษาของ curcumin การ...

598

ฤทธิ์ต้านภาวะหัวใจเต้นผิดปกติจากสารสกัดของเมล็ดองุ่น
ฤทธิ์ต้านภาวะหัวใจเต้นผิดปกติจากสารสกัดของเมล็ดองุ่นการทดสอบฤทธิ์ของสาร proanthocyanidin extract (GSPE) จากเมล็ดองุ่น ซึ่งประกอบด้วย 56% dimeric proanthocyanidins, 12% trimeric proanthocyanidins,6.6% tetrameric proanthocyanidins, monomeric and high-molecular-weight oligomeric proanthocyanidins และ flavonoids ต่อกล้ามเนื้อหัวใจของหนูแรท ที่มีภาวะหัวใจขาดเลือด โดยผูกหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ 30 นาที แล้วเปิดหลอดเลือดให้ไปเลี้ยงหัวใจ (reperfusion) 120 นาที ป้อนหนูด้วย GSPE ขนาด 200 มก./กก./วัน เป็น...

1350

ฤทธิ์สมานแผลไฟไหม้ของสมอไทย
ฤทธิ์สมานแผลไฟไหม้ของสมอไทยศึกษาฤทธิ์สมานแผลไฟไหม้ของสารสกัดเอทานอลสมอไทย (Terminalia chebula) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นแผลไฟไหม้ระดับที่ 2 ด้วยวิธีการลวกผิวหนังด้วยกระแสไฟฟ้าบริเวณหลัง (ที่อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส นาน 15 วินาที) โดยทดลองทาสารสกัดเอทานอลสมอไทยความเข้มข้น 100 มก./มล. ลงบนแผลโดยตรงวันละ 2 ครั้ง นานติดต่อกัน 14 วัน เปรียบเทียบกับการทายา siver sulfadiazine เข้มข้น 1% ผลจากการศึกษาพบว่า ในวันที่ 14 ของการทดลอง ขนาดแผลของหนูแรทกลุ่มที่ทาสารสกัดสมอไทยมีขนาดเล็กลงอย่างมีนัยสำคัญ เม...

837

ผลของการรับประทานสารสกัดทับทิมต่อการเจริญของกระดูกทารกในครรภ์
ผลของการรับประทานสารสกัดทับทิมต่อการเจริญของกระดูกทารกในครรภ์การศึกษาผลการรับประทานสารสกัดทับทิมต่อการเจริญของกระดูกทารกในครรภ์ในหนูเม้าส์ Balb/c ที่ตั้งท้อง โดยแบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว ในวันที่ 8 - 18 ของการตั้งท้อง ป้อนหนูกลุ่มที่ 1 ด้วยสารสกัดน้ำทับทิม 3.3 มล. / กก. กลุ่มที่ 2 ป้อนสารสกัดเปลือกทับทิม 1 ก. / กก. กลุ่มที่ 3 ป้อนสารสกัดน้ำทับทิมและสารสกัดเปลือกทับทิมผสมกัน และกลุ่มที่ 4 ป้อนด้วยน้ำเปล่า (กลุ่มควบคุม) ในวันที่ 19 ของการตั้งท้อง ทำการผ่าซากหนูและแยกตัวอ่อนออกมาวัดก...

921

ฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านเชื้อแบคทีเรียจากสารอัลคาลอยด์
ฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านเชื้อแบคทีเรียจากสารอัลคาลอยด์ pyrroloquinazoline จากต้นโมราต้นโมราเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับการใช้พืชชนิดนี้ในการแพทย์อายุรเวทของอินเดียและการแพทย์ยูนานิ Unani (การแพทย์ท้องถิ่นและความเชื่อตามศาสนาอิสลาม ในดินแดนลุ่มน้ำเมโสโปเตเมีย) การศึกษานี้เป็นการวิจัยถึงฤทธิ์ของพฤกษเคมี สารเคมีที่พบในต้นโมราสกัดด้วยคลอโรฟอร์ม (Chloroform) ได้แก่ vasicine, vasicinone, vasicine acetate, 2-acetyl benzyl amine, vasicinolone มีฤทธ์ต้านการอักเสบและต้านแบคทีเรียการทดสอบ ฤทธิ์ต้านการอักเสบทด...

863

ฤทธิ์ต้านความเครียดในหนูแรทของกะเพรา
ฤทธิ์ต้านความเครียดในหนูแรทของกะเพราการทดสอบฤทธิ์ต้านความเครียดของสารสำคัญในกะเพรา (Ocimum sanctum  L.) คือ ocimarin, ocimumoside A และ ocimumoside B ในหนูแรท จากการกระตุ้นด้วย chronic unpredictable stress (CUS) model เป็นเวลา 7 วันซึ่งมีผลทำให้ monoaminergic และ antioxidant systems ในสมองส่วน frontal cortex, striatum และ hippocampus เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยทำให้ dopamine, noradrenaline, serotonin และ glutathione ลดลง ทำให้ระดับเอนไซม์ superoxide dismutase, catalase, glutathione peroxidase แล...

146

ฤทธิ์ยับยั้งการเกิด
ฤทธิ์ยับยั้งการเกิด Nitric oxide (NO) ของสารจากฟ้าทะลายโจร andrographolide และ neoandrographolide เป็นสารซึ่งสกัดแยกได้จากฟ้าทะลายโจร ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ การศึกษาครั้งนี้พบว่า การทดลองในการเพาะเลี้ยงเซลล์ peritoneal macrophage พบว่ายับยั้งการเกิด NO และเมื่อทดลองป้อนให้หนูถีบจักร neoandrographolide เท่านั้นที่ให้ผลยับยั้งการเกิด NO ส่วน andrographolide ไม่ให้ผล Biol Pharm Bull 2002;25(9):1169-74 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อม...

857

สารสกัดจากรำข้าวช่วยลดน้ำตาลในเลือด
สารสกัดจากรำข้าวช่วยลดน้ำตาลในเลือดการศึกษาฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของ Rice Hull Smoke Extract (RHSE: ของเหลวที่ได้จากควันในการเผารำข้าว) ในหนูเม้าส์ที่เป็นเบาหวานจากการป้อนอาหารไขมันสูง พบว่าเมื่อป้อน RHSE ขนาด 0.5 และ 1.0 % โดยน้ำหนัก ร่วมกับการป้อนอาหารไขมันสูง นานติดต่อกัน 7 สัปดาห์ มีผลช่วยลด ไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลในเลือด เมื่อด้วยวิธีตรวจวัดความทนกลูโคส (glucose tolerance test) พบว่า RHSE ช่วยเพิ่มปริมาณอินซูลินและลดน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีสำคัญเมื่อเทียบกับหนูเม้าส์ที่ป้อนอาหารไขมันสูงเพี...

1568

การศึกษาทางคลินิกผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือดและผลต่อตัวชี้วัดการอักเสบของสารแอนโทไซยานินจากมันม่วง
การศึกษาทางคลินิกผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือดและผลต่อตัวชี้วัดการอักเสบของสารแอนโทไซยานินจากมันม่วงFood Chem. 2020;310:125797. doi:10.1016/j.foodchem.2019.125797 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...