-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ลดไขมันของเมล็ดแตงกวา
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ลดไขมันของเมล็ดแตงกวา
การศึกษาฤทธิ์ลดไขมันในเลือดของเมล็ดแตงกวา (Cucumis sativas L.) โดยทำการศึกษาแบบ randomized double-blind placebo-controlled trial ในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง จำนวน 47 คน แบ่งให้รับประทานสารสกัด 70% เอทานอลจากเมล็ดแตงกวา ขนาดวันละ 500 มก. (24 คน) หรือยาหลอก (23 คน) ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ แล้วทำการตรวจวัดค่าดัชนีมวลกาย (body mass index) และค่าไขมันต่างๆ ในเลือดเปรียบเทียบก่อนและหลังรับประทาน ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากเมล็ดแตงกวามีผลลดระดับคอเลสเตอรอลรวม คอเลสเตอรอลชนิด LDL ไตรกลีเซอร์ไรด์และดัชนีมวลกายลง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลดี (HDL-cholesterol) ได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยาหลอก แสดงให้เห็นว่าการรับประทานสารสกัดจากเมล็ดแตงกวาวันละ 500 มก. มีผลลดระดับไขมันของผู้ป่วยไขมันสูง ดังนั้นเมล็ดแตงกวาอาจนำไปใช้เสริมอาหารสำหรับลดไขมันในเลือดได้
J Food Sci 2017;82(1):214-8ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
สาร
สาร procyanidin B2 จากเมล็ดองุ่นกับฤทธิ์ปกป้องเซลล์British Journal of Nutrition 2015;113:35-44. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ต้านเนื้องอกของน้ำมันจากเมล็ดน้อยหน่า
ฤทธิ์ต้านเนื้องอกของน้ำมันจากเมล็ดน้อยหน่าการวิเคราะห์ GC-MS เพื่อศึกษาองค์ประกอบในน้ำมันจากเมล็ดน้อยหน่าที่สกัดด้วยปิโตเลียมอีเทอร์ โดยวิธี soxhlet extraction พบว่าประกอบด้วยกรดไขมัน ได้แก่ palmitic acid (9.92%), linoleic acid (20.49%), oleic acid (56.50%) และ stearic acid (9.14%) เป็นต้น และสารกลุ่ม annonaceous acetogenins (41.00 มก./ก.) เมื่อนำน้ำมันจากเมล็ดน้อยหน่า ขนาด 0.5 และ 1 มล./กก. มาทดสอบฤทธิ์ในการต้านเนื้องอก โดยทดลองในหนูเม้าส์ที่เหนี่ยวนำให้เกิดเนื้องอกตับ (hepatoma cells) ชนิด H2...
ฤทธิ์เป็นพิษกับเซลล์ของสารลิโมนอยด์จากต้นเลี่ยน
ฤทธิ์เป็นพิษกับเซลล์ของสารลิโมนอยด์จากต้นเลี่ยนสารลิโมนอยด์จากเปลือกต้นเลี่ยน เมื่อนำไปทดสอบกับเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( HL-60 : myeloid leukemia), เซลล์มะเร็งตับ (SMMC-7721 : hepatocellular carcinoma), เซลล์มะเร็งปอด (A-549 : lung cancer), เซลล์มะเร็งเต้านม MCF-7 (human breast adenocarcinoma), และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (SW480 : colorectal cancer) ของคน พบว่าค่าความเข้มข้นครึ่งหนึ่ง IC50 ที่เป็นพิษกับเซลล์มะเร็งดังกล่าวมีค่าอยู่ระหว่าง 0.003 - 0.555 ไมโครโมลาร์Planta Med 2013;79:163-...
ผลของขิงในการป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหารจากการใช้ยาต้านวัณโรค
ผลของขิงในการป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหารจากการใช้ยาต้านวัณโรคการศึกษาในผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับขิง ขนาด 500 มก. (2 แคปซูล)/วัน (1 แคปซูลประกอบด้วยผงเหง้าขิงแห้ง 250 มก.) และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก โดยให้ก่อนได้รับยาต้านวัณโรค 30 นาที เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ทำการบันทึกอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง และความเป็นพิษต่อตับจากการใช้ยาต้านวัณโรค พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับขิงจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาห...
สารสกัดเมล็ดลูกซัดช่วยลดอาการหมดประจำเดือนในผู้หญิงที่มีสุขภาพดี
สารสกัดเมล็ดลูกซัดช่วยลดอาการหมดประจำเดือนในผู้หญิงที่มีสุขภาพดี< 0.001) โดยประเมินจากปัจจัย 4 ด้าน คือ การเกิดอาการร้อนวูบวาบ จิตวิทยาทางสังคม (psychosocial) ด้านกายภาพ (physical) อาการเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ (sexual symptoms) ซึ่งทั้ง 4 ด้าน มีอาการดีขึ้นอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้นพบว่ากลุ่มที่รับประทานสารสกัดเมล็ดลูกซัด โดยพบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการลดลงของอาการร้อนวูบวาบในตอนกลางวัน (daytime hot flushes) กับการลดลงของภาวะเหงื่ออกมากในตอนกลางคืน หลังรับประทาน...
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของน้ำมันจากเมล็ดราชดัด
ฤทธิ์ต้านการอักเสบของน้ำมันจากเมล็ดราชดัดการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของน้ำมันจากเมล็ดราชดัด (Brucea javanica (L.) Merr.) โดยให้หนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (ulcerative colitis; UC) ด้วย dextran sulfate sodium (DSS) ความเข้มข้น 30 มก./มล. ได้รับน้ำมันของเมล็ดราชดัดในรูปแบบอิมัลชั่น (Brucea javanica oil emulsion; BJOE) เข้าทางกระเพาะอาหาร (gavage) ในขนาด 0.5, และ 2 ก./กก. เปรียบเทียบผลกับการได้รับยามาตรฐาน 2 ชนิดคือ sulfasalazine (SASP) ขนาด 200 มก./กก. และ azathiop...
ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์และพิษฆ่าแมลงของสารฟลาโวนอยด์จากน้อยหน่า
ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์และพิษฆ่าแมลงของสารฟลาโวนอยด์จากน้อยหน่า สารสกัดใบน้อยหน่า วงศ์ Annonaceae ได้ถูกนำไปตรวจสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในเมล็ดพืชและฤทธิ์ฆ่าแมลงCallosobruchus chinensis ที่เป็นศัตรูของเมล็ดพืช การสกัดแยกพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับเมล็ดพืชได้ทั้งหมด และมีฤทธิ์ฆ่าแมลงปีกแข็งได้ 80% ที่ความเข้มข้น 0.07 มก./ มล. ซึ่งสารกลุ่มฟลาโวนอยด์นี้มีฟลาโวนอล การศึกษานี้ชี้ให้เห็นประโยชน์ของสารสกัดใบน้อยหน่าที่ใช้เป็นยาฆ่าแมลงที่สามารถนำไ...
ผลของ
ผลของ isoflavone จากถั่วเหลืองต่อหลอดเลือด เมื่อศึกษาผลของสารสกัดถั่วเหลืองซึ่งมี isoflavone เป็นส่วนใหญ่ (5 มก./กก.) พบว่าเมื่อให้หนูขาวซึ่งตัดมดลูกออกกินเป็นเวลา 4 อาทิตย์ เปรียบเทียบกับ 17beta-estradiol พบว่าสารสกัด isoflavone และ 17beta-estradiol ทำให้การทำงานของหลอดเลือดซึ่งไม่ดีเนื่องจากตัดมดลูกดีขึ้นและ nitric oxide synthetase ทำงานดีขึ้น แต่ 17beta-estradiol ทำให้มดลูกโตขึ้น ส่วน isoflavone ไม่มีผล ฉะนั้นจึงเป็นไปได้ว่า isoflavone จะลดภาวะเสี่ยงต่อการอุดตันของหลอดเลือด ...
ผลของชาเขียวและสารโพลีฟีนอลต่อตับของหนูเม้าส์
ผลของชาเขียวและสารโพลีฟีนอลต่อตับของหนูเม้าส์แม้การบริโภคชาเขียวเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยเพียงพอ ซึ่งผู้บริโภคอาจไม่ทราบถึงผลต่อร่างกายจากการบริโภคชาเขียว มีรายงานว่าในชาเขียวพบสารโพลีฟีนอล Epigallocatechin 3-gallat (EGCG) ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระแต่การบริโภคในปริมาณสูงก็อาจส่งผลเสียต่อตับได้ การศึกษาเพื่อทดสอบผลของสารสกัดชาเขียวในหนูเม้าส์ ทั้งในหนูปกติและหนูที่ถูกชักนำให้เป็นไข้ด้วยสาร lipopolysaccharide (LPS) และส่งผลให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ (health...