Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

คุณค่าทางอาหารของปลีกล้วยต่อการยับยั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

การศึกษาคุณค่าทางอาหารของปลีกล้วยและกลไกต่างๆ ในการยับยั้งเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่าปลีกล้วย (Musa paradisiaca) อุดมไปด้วยใยอาหารชนิดละลายน้ำร้อยละ 12.45 และใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำร้อยละ 53.31 ตามลำดับ ซึ่งใยอาหารชนิดละลายน้ำได้สามารถดูดซับกลูโคสและคอเลสเตอรอลไว้กับตัว สารสกัดเอธิลอะซิเตทและเมทานอลของปลีกล้วยประกอบด้วยสารกลุ่มโพลีฟีนอล สารสกัดเมทานอลยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จากการทดสอบ ABTS Assay แสดงค่า IC50 เท่ากับ -57.2±1.15 มคก./มล. และยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระในเซลล์ตัวอ่อนเม็ดเลือดขาว (L6 monoblasts) โดยขึ้นอยู่กับขนาดของสาร นอกจากนี้ยังยับยั้งเอนไซม์ย่อยคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ α-amylase และ α-glucosidase รบกวนการเกิด glycated end products ที่จะส่งผลให้เซลล์ตายหรือเสื่อมสมรรถภาพ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ -142.27±1.09 มคก./มล. และกระตุ้นการนำกลูโคสกลับเข้าเซลล์ (glucose uptake) รวมทั้งยับยั้งการเกิดออกซิเดชันของ LDL ด้วยค่า IC50 เท่ากับ -169.50±1.77 มคก./มล. และยับยั้ง angiotensin converting enzyme (ACE) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้เกี่ยวกับการป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ จากผลการทดสอบจึงสรุปได้ว่าปลีกล้วยมีคุณค่าทางอาหารที่มีฤทธิ์ต่อกลไกต่างๆ ในการยับยั้งการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 รวมทั้งกลไกที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ อย่างไรก็ตามการทดสอบนี้เป็นเพียงการทดสอบระดับเซลล์ ควรมีข้อมูลการศึกษาทางคลินิกเพิ่มเติมต่อไป

J Funct Foods 2017;31:198-207.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1622

ฤทธิ์รักษาสิวอักเสบของสารสกัดจากลำต้นหม่อน
ฤทธิ์รักษาสิวอักเสบของสารสกัดจากลำต้นหม่อนการศึกษาศักยภาพของสารสกัดจากลำต้นหม่อนในการรักษาสิวอักเสบ โดยทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว ต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ และยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดเอทานอลจากลำต้นหม่อน ความเข้มข้น 2 มก./แผ่น มีฤทธิ์ดีในการต้านเชื้อ Propionibac-terium acnes โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ (MIC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อ (MBC) เท่ากับ 3.125 มก./มล. และ 12.5 มก./มล. ตามลำดับ ขณะที่ค่า MIC แ...

1083

ฤทธิ์ป้องกันตับเป็นพิษของอินทผลัม
ฤทธิ์ป้องกันตับเป็นพิษของอินทผลัม (Phoenix dactylifera )ศึกษาฤทธิ์ป้องกันตับเป็นพิษของสารสกัดน้ำจากเมล็ดอินทผลัม ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะตับเสียหายจากการฉีดสาร carbon tetrachloride (CCl44) 2 ครั้ง/สัปดาห์ ในกลุ่มที่ 3 ป้อนสาร silymarin ขนาดวันละ 50 มก./กก. น้ำหนักตัว กลุ่มที่ 4 ป้อนสารสกัดน้ำเมล็ดอินทผลัมขนาด 1 ก./กก. น้ำหนักตัว และในกลุ่มที่ 5 ป้อนสารสกัดน้ำเมล็ดอิทผลัมที่ผ่านการคั่วแล้วขนาด 1 ก./กก. น้ำหนักตัว นาน 4 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการทดลองทำการเก็บตัวอย่างเลือดหนูเพื่อนำมาตรวจ...

1549

สารสกัดน้ำจากเมล็ดมะละกอก่อให้เกิดความเป็นพิษต่ออสุจิ
สารสกัดน้ำจากเมล็ดมะละกอก่อให้เกิดความเป็นพิษต่ออสุจิการศึกษาความเป็นพิษต่ออสุจิของสารสกัดน้ำจากเมล็ดมะละกอ (Carica papaya) โดยเก็บตัวอย่างน้ำอสุจิจากอาสาสมัครเพศชายสุขภาพดีจำนวน 35 คน จากนั้นนำมาบ่มในหลอดทดลองร่วมกับอาหารเลี้ยง human tubular fluid และ 1% bovine serum albumin ซึ่งมีสารสกัดน้ำจากเมล็ดมะละกอความเข้มข้น 0, 0.025, 0.25, 2.5, 25, 250 และ 2,500 มคก./มล. ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 1 ชั่วโมง และวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของอสุจิด้วยเครื่อง Sperm Class Analyzer (SCA, version 4.1...

955

ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์
ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-amylase จากสารสำคัญในผิวเมล็ดอัลมอนด์สารในกลุ่มโพลีฟีนอลิกซึ่งแยกได้จากผิวเมล็ดอัลมอนด์ (Prunus dulcis) มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-amylase ซึ่งแยกได้จากตับอ่อนของหมู โดยมีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งได้ 50% (IC50) เท่ากับ 2.2 มคก./มล. โดยส่วนสกัดดังกล่าวประกอบด้วยโพลีฟีนอลทั้งหมด (total polyphenols) 62% สารกลุ่มแทนนินชนิดฟลาวานอล (flavanol-type tannins) 33.8% และสารกลุ่มโพรไซยานิดิน (procyanidins) 30% จากการศึกษาด้วยเทคนิคทางสเปคโตรสโคปี ได้แก่ MALDI-TOF/MS พบว่าสา...

966

ฤทธิ์ป้องกันการเกิด
ฤทธิ์ป้องกันการเกิด oxidative stress ระหว่างการฟอกเลือดของน้ำทับทิมการศึกษาในอาสาสมัครที่ต้องเข้ารับการฟอกเลือดเป็นประจำ จำนวน 27 คน โดยสุ่มแบ่งให้รับประทานน้ำทับทิม 100 มล. (มีปริมาณโพลีฟีนอล 0.7 ไมโครโมล) หรือยาหลอก ในชั่วโมงแรกของกระบวนการฟอกเลือดและเติมธาตุเหล็ก แล้วทำการเจาะเลือดเปรียบเทียบการดัชนี้ชีวัด oxidative stress ที่เกิดขึ้นจากการฟอกเลือดและเติมธาตุเหล็ก พบว่าน้ำทับทิมช่วยป้องกันการเกิด oxidative stress ได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยยับยั้งการเกิด advanced oxidation protein products และลดปร...

83

ความเป็นพิษต่อเซลล์
ความเป็นพิษต่อเซลล์ และฤทธิ์ฆ่าหนอนตัวอ่อนของน้ำมันหอมระเหยมะม่วงหิมพานต์ การกลั่นน้ำมันหอมระเหยด้วยไอน้ำ ของใบมะม่วงหิมพานต์ (Anacardium occidentale L.) ให้ปริมาณน้ำมัน 0.78% v/w เมื่อนำไปวิเคราะห์หาองค์ประกอบเคมีด้วยวิธี Gas Chromatography - Mass Spectroscopy (GC-MS) พบว่ามีสารประกอบอย่างน้อย 14 ชนิด โดยเป็นสารกลุ่มโมโนเทอร์ปีนส์ 78.1% และสารกลุ่มเซสควิเทอร์ปีนส์ 15.7% สารประกอบที่พบเด่นชัดเป็นส่วนใหญ่ คือ tran-beta-ocimene 76.0%, alpha-copaene 4.8%, gamma-cadinene ...

960

ฤทธิ์แก้ปวดของสารไกลโคโปรตีนจากโสม
ฤทธิ์แก้ปวดของสารไกลโคโปรตีนจากโสมการศึกษาฤทธิ์แก้ปวดของสารไกลโคโปรตีน (glycoproteins) ที่แยกได้จากรากโสม ได้แก่ PGG, PGG1, PGG2 และ PGG3 ในหนูเม้าส์ด้วยวิธีที่เหนี่ยวนำให้เกิดอาการปวดด้วยกรดอะซิติก (acetic acid writhing test) และแผ่นความร้อน (hot-plate tests) ในวิธีที่เหนี่ยวนำด้วยกรดอะซิติก เมื่อฉีดสาร PGG ขนาด 10 20 และ 40 มก./กก. PGG1 และ PGG2 ขนาด 20 มก./กก. และ PGG3 ขนาด 10 และ 20 มก./กก. เข้าทางช่องท้องของหนู พบว่า PGG, PGG2 และ PGG3 จะมีผลลดอาการปวดได้ โดย PGG3 ที่ขนาด 20 มก./กก. จะให้ผล...

1274

ฤทธิ์ต้านมาลาเรียของตำรับยาเบญจโลกวิเชียร
ฤทธิ์ต้านมาลาเรียของตำรับยาเบญจโลกวิเชียรตำรับยาเบญจโลกวิเชียร เป็นตำรับยาแผนโบราณที่ใช้แก้ไข้ต่างๆ รวมทั้งไข้มาลาเรีย ประกอบด้วยรากของต้นชิงชี่ ย่านาง คนทา ไม้เท้ายายม่อม และมะเดื่อชุมพร แต่ในปัจจุบันมีการนำส่วนของลำต้นมาใช้แทนรากในตำรับยา ดังนั้นจึงได้มีการศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ในการต้านเชื้อมาลาเรีย (Plasmodium falciparum) สายพันธุ์ที่ไวต่อยาคลอโรควิน (chloroquine-sensitive, Pf3D7) และสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยา (chloroquine-resistant, PfW2) ของตำรับยาที่เตรียมจากราก หรือเตรียมจากลำต้น รวมทั้งส่วน...

619

ผลการเปรียบเทียบฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อแบคทีเรียระหว่างชาดำและชาเขียว
ผลการเปรียบเทียบฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อแบคทีเรียระหว่างชาดำและชาเขียวจากการศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อจุลชีพระหว่างชาดำจำนวน 15 ชนิดและชาเขียวจำนวน 15 ชนิด โดยวัดฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากค่า Trolox equivqlent antioxidant capacity (TEAC) พบว่าชาเขียวและชาดำมีค่าเฉลี่ยของ TEAC เท่ากันคือ 1.43 mM หลังจากนั้นนำตัวอย่างชุดเดิมไปเก็บที่อุณหภูมิ -20 °C เป็นเวลา 1 ปี แล้วนำมาตรวจวัดค่า TAEC อีกครั้ง พบว่าค่า TAEC จากชาเขียวและชาดำกลับลดลง 85% และ 90% ตามลำดับ โดยค่า ...