Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ผลของสารสกัดจากเปลือกเมล็ดลูกซัดต่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และอาการวัยทองในหญิงวัยหมดประจำเดือน

การศึกษาแบบสุ่มชนิดปกปิดทั้ง 2 ฝ่าย ในหญิงวัยหมดประจำเดือน จำนวน 88 คน อายุระหว่าง 48 - 58 ปี ซึ่งตรวจแล้วพบว่ามีอาการไม่สบายตัวของหญิงวัยหมดประจำเดือน ด้วย Green Climacteric Scale (GCS) โดยมีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 25 และมีอาการร้อนวูบวาบ (hot flashes) อย่างน้อย 3 ครั้ง/วัน แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 44 คน กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานสารสกัดจากเปลือกเมล็ดลูกซัด (FenuSMART) ขนาด 250 มก/1 แคปซูล. ครั้งละ 1 แคปซูล หลังอาหารเช้าละเย็น นาน 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้รับประทานสารสกัดจากเปลือกเมล็ดลูกซัดขนาด 250 มก/1 แคปซูล. ครั้งละ 2 แคปซูล หลังอาหารเช้าละเย็น นาน 12 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 ให้รับประทานยาหลอกในขนาดที่เท่ากัน พบว่ากลุ่มที่รับประทานสารสกัดเปลือกเมล็ดลูกซัด GCS score ลดลงจากเริ่มต้น คือ 34.83 ± 6.87 เป็น 24.82 ± 5.42 (หลังการศึกษา 45 วัน) และ 19.64 ± 4.28 (หลังการศึกษา 90 วัน) ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาหลอกลดลงจากเริ่มต้น คือ 34.25 ± 7.45 เป็น 32.52 ± 8.24 (หลังการศึกษา 45 วัน) และ 30.49 ± 5.23 (หลังการศึกษา 90 วัน) ผู้ป่วยในกลุ่มที่รับสารสกัดเปลือกเมล็ดลูกซัดมีอาการ้อนวูบวาบลดลงร้อยละ 47.8 โดยมีอาการเฉลี่ยลดลงเหลือ 1-2 ครั้ง/วัน และมีอาสาสมัครจำนวน 32 % ไม่พบอาการร้อนวูบวาบในระยเวลาที่ทดสอบ นอกจากนี้ยังพบว่าอาการช่องคลอดแห้ง เหงื่อออกตอนการคืน อารมณ์แปรปรวน และนอนไม่หลับลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ผลการตรวจระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเลือดเพิ่มมากขึ้นกว่า 2 เท่าก่อนเริ่มการศึกษา และระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลงด้วย จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าสารสกัดจากเปลือกเมล็ดลูกซัด ขนาด 1,000 มก./วัน นาน 90 วัน ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และลดอาการวัยทองในหญิงวัยหมดประจำเดือนได้ โดยยังไม่พบผลข้างเคียงใดในอาสาสมัครในการศึกษานี้

Phyto Res 2016;30:1775-84.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1304

ฤทธิ์ต้านภาวะเบาหวานของกระเทียมดำ
ฤทธิ์ต้านภาวะเบาหวานของกระเทียมดำกระเทียมดำเกิดจากการนำกระเทียมสดมาบ่มภายใต้สภาวะที่มีอุณหภูมิสูงและควบคุมความชื้น (aging process) ซึ่งกระเทียมดำนี้จะอุดมไปด้วยสาร S-allylcysteine (SAC), polyphenols และ flavonoids ที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมาย การศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะเบาหวานของกระเทียมดำ ในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin (STZ) โดยแบ่งหนูเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นหนูปกติ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ได้รับ STZ (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 3 ได้รับ STZ + น้ำคั้นกระเทียมสด 200 มก./กก...

503

ผลของสารสกัดเมล็ดคำฝอยต่อสารที่บ่งชี้การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่มีสุขภาพดี
ผลของสารสกัดเมล็ดคำฝอยต่อสารที่บ่งชี้การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่มีสุขภาพดีการศึกษาในอาสาสมัครผู้ชายที่มีสุขภาพดี จำนวน 20 คน ที่มีอายุเฉลี่ย 37.3 ± 6.8 ปี ดัชนีมวลกาย (BMI) เท่ากับ 23.7 ± 3.7 กก./ม2 อาสาสมัครทุกคนรับประทานสารสกัดเมล็ดคำฝอยชนิดแคปซูลวันละ 2 ครั้งๆ ละ 5 แคปซูล โดยให้รับประทานภายหลังอาหารเช้า - เย็น 30 นาที ภายใน 1 วัน จะได้รับสารสกัดเมล็ดคำฝอยทั้งหมด 2.1 กรัม (210 มก./แคปซูล) ซึ่งเทียบเท่ากับอนุพันธ์ของสาร serotonin 290 มก./วัน นาน 4 สัปดาห์ และมีช่วงหยุดพ...

1473

ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนจากเรดโคลเวอร์
ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนจากเรดโคลเวอร์ (red clover)สารสำคัญที่พบในต้นอ่อนของเรดโคลเวอร์ (Trifolium pratense Linn.) คือ biochanin A และ formononetin ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม isoflavones ที่สามารถจับกับตัวรับเอสโตรเจน (estrogen receptors; ERs) และแสดงฤทธิ์เช่นเดียวกับฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยเฉพาะสาร formononetin ซึ่งสามารถจับกับ ERβ ได้ดี ซึ่งสาร isoflavones ของเรดโคลเวอร์ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของ free aglycones ที่สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีกว่าสาร isoflavones ที่มาจากถั่วเหลืองที่ส่วนใหญ่จะอ...

1311

ผลของการรับประทานสารเซซามินจากงาต่อระดับน้ำตาล
ผลของการรับประทานสารเซซามินจากงาต่อระดับน้ำตาล สารที่ทำให้เกิดการอักเสบ และอดิโพเนคติน ในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2การศึกษาแบบสุ่มและปกปิดทั้ง 2 ฝ่ายในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 48 คน ที่มีอายุระหว่าง 30-60 ปี ดัชนีมวลกาย (BMI) น้อยกว่า 30 กก./ตรม. แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานสารสกัดเซซามินชนิดแคปซูลขนาด 200 มก./วัน กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุม ให้รับประทานยาหลอกในขนาด 200 มก./วัน เช่นกัน นาน 8 สัปดาห์ และทำการเจาะเลือดก่อนและหลังการศึกษาเพื่อดูระดับน้ำตาลในเ...

1326

สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าหญ้าแห้วหมู
สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าหญ้าแห้วหมูการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าหญ้าแห้วหมู พบว่าสารสำคัญส่วนใหญ่ในน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ α-cyperone (38.46%), cyperene (12.84%) และ α-selinene (11.66%) น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ดีในการต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH และ ABTS radicals scavenging และ Ferric reducing antioxidant power มีฤทธิ์ป้องกันความเสียหายของดีเอ็นเอที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย ferrous ion (Fe2+) และ 2,2′-azobi...

1236

ผลของรางจืดในการลดปริมาณสารกำจัดแมลงตกค้างในเลือดของเกษตรกร
ผลของรางจืดในการลดปริมาณสารกำจัดแมลงตกค้างในเลือดของเกษตรกรการศึกษาแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental design) ในเกษตรกรที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยจากสารกำจัดแมลงตกค้างในกระแสโลหิต โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 25 คน โดยกลุ่มทดลองให้รับประทานชาชงรางจืด ขนาด 1 ซอง วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เป็นเวลา 14 วัน กลุ่มควบคุม ให้รับประทานชาชงใบเตย (ชาหลอก) ขนาด 1 ซอง วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เป็นเวลา 14 วัน หลังจากนั้นทำการเจาะเลือดตรวจหาสารพิษที่ตกค้างในเลือด พบว่ากลุ่มที่ได้...

1667

ฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียของสารไดเทอร์ปีนอยด์จากฟ้าทะลายโจร
ฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียของสารไดเทอร์ปีนอยด์จากฟ้าทะลายโจรการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดคลอโรฟอร์มจากต้นฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata (Burm. f.) Nees) ต่อเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparum K1 strain (เชื้อมาลาเรียดื้อยา chloroquine) และเชื้อมาลาเรีย P. falciparum 3D7 strain (เชื้อไวต่อยา chloroquine) ผลพบว่าสารสกัดฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ต้านเชื้อทั้ง 2 ชนิดด้วยค่า IC50 เท่ากับ 6.36 และ 5.24 มก./มล. ตามลำดับ และสารสกัดดังกล่าวไม่ก่อความเป็นพิษต่อเซลล์เมื่อทดสอบความเป็นพิษในเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (ma...

1248

ฤทธิ์ต้านการเกิดมะเร็งของข้าวไทยที่ไม่ผ่านการขัดสี
ฤทธิ์ต้านการเกิดมะเร็งของข้าวไทยที่ไม่ผ่านการขัดสีAPJCP 2016;17(7):3551-8 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

580

ผลของสาร
ผลของสาร catechins จากชาเขียวต่อตับที่ผิดปกติจากการได้รับอาหารซึ่งเหนี่ยวนำให้หลอดเลือดแข็งตัวในหนูการทดสอบผลของสารในกลุ่ม catechins (GTC) ซึ่งมีสาร epigallocatechin gallate (EGCG) เป็นสารสำคัญจากชาเขียว (Camellia sinensis  ) ในหนูแรทที่มีภาวะหลอดเลือดแข็งตัวและตับผิดปกติจากการได้รับอาหารที่เหนี่ยวนำให้เกิดหลอดเลือดแข็งตัว (atherogenic diet) เป็นเวลา 30 วัน ซึ่งทำให้หนูมีระดับค่าเฉลี่ยของสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น catalase, superoxide dismutase, glutathione peroxidase, glutathione-S-transferas...