-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ผลของสารสกัดจากใบพลูต่อหนูที่มีภาวะอ้วนจากการได้รับอาหารไขมันสูง
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ผลของสารสกัดจากใบพลูต่อหนูที่มีภาวะอ้วนจากการได้รับอาหารไขมันสูง
การศึกษาฤทธิ์ลดความอ้วนของสารสกัด 70% เอทานอลจากใบพลู (Piper betle L.) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความอ้วนด้วยอาหารไขมันสูง โดยให้หนูกินอาหารไขมันสูงร่วมกับสารสกัดใบพลูในขนาด 100 และ 500 มก./กก. เป็นเวลานาน 4 สัปดาห์ จากนั้นวิเคราะห์น้ำหนักตัวและการกินอาหาร (food intake) ทุกสัปดาห์ และเปรียบเทียบผลกับกลุ่มที่ได้รับอาหารร่วมกับน้ำเปล่า พบว่าสารสกัดใบพลูสามารถยับยั้งการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวของหนูที่ได้รับอาหารที่มีไขมันสูงได้ และการวิเคราะห์ทางชีวเคมีในเลือดของหนูที่ได้รับสารสกัดร่วมกับอาหารไขมันสูง พบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัดทั้ง 2 ขนาดมีระดับของน้ำตาลกลูโคสและคอเลสเตอรอลสูงกว่าหนูที่ได้รับอาหารมาตรฐานร่วมกับน้ำเปล่า แต่มีระดับของคอเลสเตอรอลชนิด LDL ลดลง และระดับของคอเลสเตอรอลชนิด HDL สูงขึ้น เมื่อเทียบกับหนูที่ได้รับอาหารไขมันสูงร่วมกับน้ำเปล่า การวิเคราะห์กระบวนการเผาผลาญของร่างกายโดยการเปรียบเทียบสารเมทาโบไลท์ในเลือดของหนูกลุ่มต่างๆ พบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับอาหารไขมันสูงร่วมกับน้ำเปล่าจะมีปริมาณ glucose, glycine และ alanine สูง ในขณะที่หนูกลุ่มที่ได้อาหารมาตรฐานร่วมกับน้ำเปล่ามีปริมาณ serine, isoleucine, valine และ acetoacetate สูง และพบว่าหนูกลุ่มที่ได้รับสารสกัดขนาด 500 มก./กก. มี metabolite profile รวมถึงระดับ β-hydroxybutyrate สูงเหมือนกับหนูกลุ่มที่ได้รับอาหารมาตรฐานร่วมกับน้ำเปล่า (เทียบได้กับการควบคุมอาหาร) แสดงให้เห็นว่าสารสกัดขนาด 500 มก./กก. สามารถเพิ่มกระบวนการเผาผลาญ (oxidation process) ของร่างกายได้ จึงส่งผลให้น้ำหนักตัวคงที่ โดยไม่มีผลต่อความอยากอาหารจากการได้รับอาหารที่มีไขมันสูง นอกจากนี้ยังมีผลลดการกินอาหารของหนูด้วย ทำให้สามารถสรุปได้ว่าสารสกัด 70% เอทานอลจากใบพลูสามารถช่วยควบคุมน้ำหนักของหนูแรทได้แม้จะได้รับอาหารที่มีไขมันสูง
J Ethnopharmacol 2016;194:690-7.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ทนต่อความเย็นจากสารซาโปนินในโสมอเมริกัน
ฤทธิ์ทนต่อความเย็นจากสารซาโปนินในโสมอเมริกัน การฉีดสารซาโปนินจากรากโสมอเมริกัน ( Panax quinquefolius Linn. ) เข้าทางช่องท้องหนูขาวที่มีอายุน้อย( 3-6 เดือน ) หรือหนูขาวที่มีอายุมาก ( 26-28 เดือน ) มีผลเพิ่มการสร้างความร้อนในร่างกาย และเพิ่มความสามารถในการทนต่อความเย็นจัด ( อุณหภูมิ-10 องศาเซลเซียส ภายใต้บรรยากาศของก๊าซออกซิเจน21% และก๊าซฮีเลียม73% นาน 2ชั่วโมง ) พบว่าสารสำคัญในการแสดงฤทธิ์ดังกล่าวคือ Rb1Planta Med 2000; 66 : 144-47 ...
ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและต้านเชื้อแบคทีเรียของน้ำมันและสารสกัดซาโปนินจากต้นอาร์แกน
ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและต้านเชื้อแบคทีเรียของน้ำมันและสารสกัดซาโปนินจากต้นอาร์แกนการทดสอบฤทธิ์ของน้ำมัน (Argan oil) และสารสกัดซาโปนิน (crude saponin extract) ที่แยกได้จากต้นอาร์แกน (Argania spinosa (L.) Skeels) ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งผิวหนัง (A431 และ UCT-Mel 1) มะเร็งปากมดลูก (HeLa) มะเร็งเต้านม (MCF-7) และเซลล์ผิวหนังปกติของคน (HaCat) พบว่าน้ำมันอาร์แกน ความเข้มข้น 7.8-1,000 มคก./มล. ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งทุกชนิดที่ทดสอบ ขณะที่สารสกัดซ...
สารสกัดน้ำจากเมล็ดมะละกอก่อให้เกิดความเป็นพิษต่ออสุจิ
สารสกัดน้ำจากเมล็ดมะละกอก่อให้เกิดความเป็นพิษต่ออสุจิการศึกษาความเป็นพิษต่ออสุจิของสารสกัดน้ำจากเมล็ดมะละกอ (Carica papaya) โดยเก็บตัวอย่างน้ำอสุจิจากอาสาสมัครเพศชายสุขภาพดีจำนวน 35 คน จากนั้นนำมาบ่มในหลอดทดลองร่วมกับอาหารเลี้ยง human tubular fluid และ 1% bovine serum albumin ซึ่งมีสารสกัดน้ำจากเมล็ดมะละกอความเข้มข้น 0, 0.025, 0.25, 2.5, 25, 250 และ 2,500 มคก./มล. ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 1 ชั่วโมง และวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของอสุจิด้วยเครื่อง Sperm Class Analyzer (SCA, version 4.1...
ฤทธิ์คลายความกังวลของโสมอินเดีย
ฤทธิ์คลายความกังวลของโสมอินเดียการศึกษาฤทธิ์คลายความกังวลของของสาร docosanyl ferulate (DF) จากรากโสมอินเดีย (Withania somnifera (WS) (L.) Dunal) ด้วยการฉีดสาร DF ขนาด 0.05, 0.25 และ 2 มก./กก. เข้าใต้ผิวหนังให้แก่หนูเม้าส์ เปรียบเทียบกับยา diazepam ขนาด 2 มก./กก. เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านความวิตกกังวลด้วยวิธี elevated plus maze ผลการทดสอบพบว่าสาร DF มีฤทธิ์คลายความกังวลและถูกยับยั้งได้โดยยา flumazenil ยากลุ่ม benzodiazepine antagonist ได้เช่นเดียวกับกลุ่มที่ได้รับยา diazepam นอกจากนี้ยังสาร DF ไม่มีผลต...
การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของกระเทียมสกัดแบบ
การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของกระเทียมสกัดแบบ in vitro oxidized LDL เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิด atherosclerotic heart disease จึงมีการทดลองหาสารที่ต่อต้านการเกิด oxidized LDL โดยนำ LDL ที่แยกได้จากคนมาทดสอบกับ oxidant ชนิดต่างๆ ในภาวะที่มีหรือไม่มี aged garlic extract (AGE) และสารสกัด diethyl ether ของ AGE จากผลการทดสอบพบว่า AGE มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยไปกำจัด superoxide ion และลดการเกิด lipid peroxide โดย AGE 10%v/v ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย สามารถยับยั้งการเกิด superoxide ได้อย่างส...
ฤทธิ์ต้านอาเจียนของข่าเล็ก
ฤทธิ์ต้านอาเจียนของข่าเล็ก การศึกษาหาสารออกฤทธิ์ลดการอาเจียนที่เกิดจาก copper sulfate ในเหง้าของข่า พบว่าสารในกลุ่ม diarylheptanoid 4 ชนิด มีฤทธิ์ลดการอาเจียน และในจำนวนนี้มีสารใหม่คือ 5-hydroxy-7-(4-hydroxy-3-methoxyphenyl)-1-(4-hydroxyphenyl)-3-heptanone และ kaempferide ซึ่งเป็น flavonoid J Nat Prod 2002;65:1315-8 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ผลต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวของสารฟลาโวนอยด์จากใบหม่อน
ผลต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวของสารฟลาโวนอยด์จากใบหม่อน สารquercetin-3-o-Beta-D-glucopyranosideและสารquercetin-3,7-di-o-Beta-D-glucopyranoside เป็นสาร flavonoid ที่แยกได้จากใบหม่อน (Morus alba Linn.) มีฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยงที่ความเข้มข้น 2x10-4 M สารquercetin-3,7-di-o-Beta-D-glucopyranoside ยังสามารถชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์มะเร็งชนิดนี้ไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวปกติชนิด granulocyte และ monocyteBiol Pharm B...
ฤทธิ์ต้านอักเสบของอนุพันธุ์
ฤทธิ์ต้านอักเสบของอนุพันธุ์ kavalactone ในข่าเหลืองการทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดเมทานอลจากส่วนใบ รังไข่ (placenta) เปลือกผล (pericarp) และเมล็ดของข่าเหลือง (Alpinia zerumbet (Pers.) B.L.Burtt & R.M.Sm.) ผลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี พบสารสำคัญเป็นอนุพันธุของสาร kavalactone 6 ชนิด ได้แก่ 7,8-dihydro-5,6-dehydrokawain, 5,6-dehydrokawain, 6,6′-((1α,2α,3β,4β)-2,4-diphenylcyclobutane-1,3-diyl) bis (4-methoxy-2H-pyran-2-one), rel-6,6′-((1R,2S,3R,4S)-3,4-diph...
Curcumin
Curcumin ช่วยป้องกันโรคตับจากพิษสุราการศึกษาในหนูเม้าส์ที่เป็นโรคตับจากพิษสุรา (alcohol liver disease) จากการป้อน ethanol ขนาด 2.4 ก./กก.น้ำหนักตัว ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ และขนาด 4 ก./กก.น้ำหนักตัว ต่ออีก 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นป้อนหนูเม้าส์ด้วย curcumin ขนาด 75 มก./กก./วัน ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ พบว่า curcumin ช่วยป้องกันพิษต่อตับของแอลกอฮอล์ โดยลดการหลั่งเอนไซม์ alanine aminotransferase และ aspartate aminotransferase จากตับ ลดการก่อตัวของอนุมูลอิสระ (reactive oxygen species) และ malondialdehyde ป้องกั...