Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ไล่ยุงของน้ำมันหอมระเหยจากกะเพรา สะระแหน่ฝรั่ง ยูคาลิปตัส และเนียมหูเสือ

ทดสอบฤทธิ์ไล่ยุง (repellent activity) ของน้ำมันหอมระเหยจากใบสดของสมุนไพร 4 ชนิด ได้แก่ กะเพรา (Ocimum sanctum), สะระแหน่ฝรั่ง (Mentha piperita), ยูคาลิปตัส (Eucalyptus globulus) และเนียมหูเสือ (Plectranthus amboinicus) ที่สกัดด้วยวิธีการกลั่นด้วยน้ำ (hydrodistillation) และเตรียมเป็นสารละลายน้ำมันหอมระเหยของสมุนไพรแต่ละชนิดความเข้มข้นร้อยละ 20 ในเอทานอล และสารละลายน้ำมันหอมระเหยผสมของสมุนไพรทั้งสี่ชนิดในอัตราส่วนเท่ากัน ความเข้มข้นร้อยละ 5 แล้วทดสอบฤทธิ์ไล่ยุงกับยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เพศเมียอายุ 3-5 วัน โดยเติมสารละลาย 100 ไมโครลิตรในจานเพาะเชื้อที่วางไว้ในกล่องทดสอบ และประเมินการเกาะของยุง (mosquito landing) ทุกๆ 30 นาที จนครบ 6 ชั่วโมง เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมบวกซึ่งใช้สารไล่แมลงมาตรฐาน DEET (N, N-diethyl-m-toluamide) ความเข้มข้นร้อยละ 20 ในเอทานอล และกลุ่มควบคุมลบซึ่งใช้แอลกอฮอล์อย่างเดียว ผลการทดสอบพบว่าน้ำมันหอมระเหยของกะเพรา สะระแหน่ฝรั่ง เนียมหูเสือ และน้ำมันหอมระเหยผสมสามารถป้องกันการเกาะของยุงได้นานถึง 6 ชั่วโมง เช่นเดียวกับกลุ่มที่ใช้ DEET ส่วนน้ำมันยูคาลิปตัสมีผลป้องกันการเกาะได้ 1 ชั่วโมง 30 นาที ในขณะที่กลุ่มควบคุมลบพบการเกาะและกินอาหาร (feeding) ของยุง จากผลการทดสอบจึงสรุปได้ว่าน้ำมันหอมระเหยของกะเพรา สะระแหน่ฝรั่ง ยูคาลิปตัส เนียมหูเสือ และน้ำมันหอมระเหยผสมที่มีความเข้มข้นเพียงร้อยละ 5 มีฤทธิ์ในการไล่ยุงและป้องกันยุงลายบ้านซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อโรคไข้เลือดออก ไข้ชิคุนกุนยา และไข้เหลือง อย่างไรก็ตามควรมีข้อมูลการศึกษาทางคลินิกเกี่ยวกับความเป็นพิษหรืออาการข้างเคียงของการใช้สมุนไพรทั้ง 4 ชนิด ในการไล่ยุงต่อไป



ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

600

ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดดอกทับทิม
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดดอกทับทิมเมื่อป้อนสารสกัด 95% เอทานอลจากดอกทับทิม ขนาด 400 มก./ก. แก่หนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin เป็นเวลา 45 วัน พบว่ามีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะของหนู ลด glycosylated hemoglobin เพิ่มระดับอินซูลินและฮีโมโกลบินรวมในเลือด สารสกัดยังมีผลเพิ่มระดับเอนไซม์ที่สลายกลูโคส คือ hexokinase, glucose-6-phosphate dehydrogenase และระดับไกลโคเจนในตับ แต่จะลดระดับเอนไซม์ที่สร้างกลูโคส คือ glucose-6-phosphatase และ glycogen phosphorylase นอกจากนี้ยังมี...

723

ฤทธิ์กระตุ้นสมรรถภาพทางเพศของสารสกัดจากคาธา
ฤทธิ์กระตุ้นสมรรถภาพทางเพศของสารสกัดจากคาธา (Catha edulis  F.)ศึกษาฤทธิ์ของคาธาต่อสมรรถภาพทางเพศของหนูแรทเพศผู้ โดยในการทดลองแบ่งหนูออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ป้อนสารละลาย Tween 80 (3% v/v) กลุ่มที่ 2 3 และ 4 ป้อนสารสกัดคาธา ซึ่งสกัดด้วย Chloroform และ diethyl ether สัดส่วน 1:3 (v/v) ขนาด 100 200 และ 300 มก./กก. ตามลำดับ และกลุ่มที่ 5 ป้อนสาร cathinone ขนาด 5 มก./กก. เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ทำการทดสอบพฤติกรรมทางเพศของหนูที่เปลี่ยนแปลงไป และตรวจวัดค่าฮอร์โมนเพศในเลือด รวมถึงการนับ...

274

สารสำคัญในทองพันชั่งยับยั้งเซลล์มะเร็ง
สารสำคัญในทองพันชั่งยับยั้งเซลล์มะเร็งสาร Rhinacanthins-C, -N และ -Q ซึ่งเป็นสารหลักในกลุ่ม naphtoquinone esters แยกได้จากรากทองพันชั่ง มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง ความเข้มข้นของสารที่ออกฤทธิ์ต้านการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งปากมดลูก (HeLaS3 cells) ได้ 50% เท่ากับ 80, 65, 73 ไมโครโมล, 55, 45, 35 ไมโครโมล และ 1.5, 1.5 และ 5.0 ไมโครโมล ในระยะเวลาที่เซลล์สัมผัสกับสารนาน 24, 48 และ 72 ชม. ตามลำดับ มีกลไกการออกฤทธิ์ไปทำให้เซลล์ตาย (apoptosis) เกิด nuclear fragmentation, DNA ladder, ยับยั้ง cell cycle ระดั...

622

ผลของคาเฟอีนต่อคุณภาพน้ำเชื้อ
ผลของคาเฟอีนต่อคุณภาพน้ำเชื้อ (Semen)สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของน้ำเชื้อและปริมาณการบริโภคคาเฟอีนในชายชาวเดนมาร์ค 2554 คน ในปี ค.ศ. 2001-2005 โดยให้อาสาสมัครตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ และขอเก็บตัวอย่างน้ำเชื้อเพื่อตรวจวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าผู้บริโภคคาเฟอีนปริมาณขนาดปานกลาง (101-800 มิลลิกรัมต่อวัน) และบริโภคเครื่องดื่มโคล่าไม่เกิน 14 ขวดต่อสัปดาห์ (ขวดขนาด 0.5 ลิตร) เปรียบเทียบกับผู้ที่บริโภคคาเฟอีนปริมาณน้อย (ไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อวัน)...

1516

ผลของน้ำเชื่อมบัวหิมะ
ผลของน้ำเชื่อมบัวหิมะ (Yacon syrup) ต่อระดับน้ำตาลในเลือดการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่ม มีการไขว้กลุ่ม และปกปิดสองทาง (Randomized, crossover, double-blind clinical trial) เพื่อศึกษาผลของการบริโภคน้ำเชื่อมรากบัวหิมะ (Smallanthus sonchifolius22) จำนวน 20 คน โดยสุ่มแยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับอาหารเช้าร่วมกับยาหลอก 40 ก. และกลุ่มที่ 2 ได้รับอาหารเช้าร่วมกับน้ำเชื่อมบัวหิมะ 40 ก. (มี fructooligosaccharides 14 ก.) อาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่มจะได้รับสารทดสอบหลังจากอดอาหารมาเป็นเวลานาน 12 ชม. และทำการวิเคราะห...

455

สารสกัดกระเทียมต้าน
สารสกัดกระเทียมต้าน amyloid beta ในโรคอัลไซเมอร์โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่มีพยาธิสภาพที่เกิดจากการสะสมของ amyloid plaques ในเซลล์สมอง และเส้นใยของสาร amyloid beta เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิด amyloid plaques ในสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ดังนั้นการป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ก็คือการป้องกันมิให้เกิดการรวมตัวของสาร amyloid beta หรือการสลายเส้นใยของ amyloid beta การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดน้ำของกระเทียม (ทั้งสดและน้ำต้มเดือด) ต่อการรวมตัวและและการสลายเส้นใยของสาร amyloid beta ในหลอดทดลอง ทำการวิเคราะห์...

1105

ลูกซัดกับโรคพาร์กินสัน
ลูกซัดกับโรคพาร์กินสันการศึกษาทางคลินิกแบบปกปิดสองฝ่าย เทียบกับยาหลอก (Double-blind placebo-controlled clinical study) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัดมาตรฐานของลูกซัด (Trigonella foenum-graecum Phytother Res 2014;28:172-8. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

149

ผลของสารสกัดเมล็ดน้อยหน่าต่อหนูท้องอ่อนๆ
ผลของสารสกัดเมล็ดน้อยหน่าต่อหนูท้องอ่อนๆ เมื่อป้อนสารสกัดด้วยน้ำของเมล็ดน้อยหน่าในขนาด 300 และ 600 มก./กก . ให้หนูขาวในระยะตั้งท้องได้ 1-5 วัน พบว่าไม่มีผลต่อ corpora lutea, การฝังตัว และตัวอ่อน และไม่มีผลต่อเยื่อบุมุดลูก แสดงว่าไม่มีผลต่อหนูซึ่งตั้งท้องได้ 1-5 วัน Phytomedicine 2002;9(7):667-72. ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

704

ฤทธิ์ยับยั้งการสะสมเซลล์ไขมันของสารประกอบในน้ำมันจากต้นว่านน้ำ
ฤทธิ์ยับยั้งการสะสมเซลล์ไขมันของสารประกอบในน้ำมันจากต้นว่านน้ำ (Acorus calamus  )การศึกษาผลของสาร β-asarone ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบอยู่ในน้ำมันจากต้นว่านน้ำ (calamus oil) ต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เริ่มต้นของเซลล์ไขมัน (preadipocyte) ไปเป็นเซลล์ไขมัน (adipocyte) โดยทำการศึกษาในเซลล์ 3T3-L1 preadipocyte และทำการกระตุ้นให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ไขมันโดยในวันที่ 2 ของการเลี้ยงเซลล์ ทำการเปลี่ยนอาหารเลี้ยงเซลล์จาก 10%FBS/DMEM เป็น 10%FBS/DMEM ที่ประกอบด้วย MDI hormone mixure (0.5 ...