-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
การศึกษาความเป็นพิษต่อตับของกรด
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
การศึกษาความเป็นพิษต่อตับของกรด ginkgolic จากแป๊ะก๊วย
เมื่อป้อนหนูเม้าส์ด้วยกรด ginkgolic (C15:1) ที่แยกได้จากใบและเมล็ดของแป๊ะก๊วย ขนาด 25 และ 50 มคก./กก./วัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เปรียบเทียบผลกับหนูในกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับกรด ginkgolic และตรวจวิเคราะห์ metabolomic profile ของเนื้อเยื่อตับและซีรัมดัวย 1H-NMR ร่วมกับการวิเคราะห์ทางชีวเคมี พบว่ากรด ginkgolic ทั้ง 2 ขนาด มีผลทำให้น้ำหนักตัวของหนูลดลง แต่ไม่มีผลต่อพฤติกรรม ลักษณะทางกายภาพ และไม่ทำให้ขนร่วง ระดับของเอนไซม์ aspartate aminotransferase (AST) และ alanine aminotransferase (ALT) ในเลือด ระดับของเอนไซม์ glutathione S-transferase และ xanthine oxidase ในตับของหนูที่ได้รับกรด ginkgolic มีค่าสูงขึ้น ขณะที่เอนไซม์ superoxide dismutase มีค่าลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้กรด ginkgolic ยังมีผลทำให้ระดับของกรดยูริคในเลือด รวมทั้งระดับของ malondialdehyde และ nicotinamideadenine dinucleotide ในตับสูงขึ้น แต่ระดับของ adenosine ลดลง แสดงว่ากรด ginkgolic จากแป๊ะก๊วย มีผลทำให้เกิดความเครียดออกซิเดชัน ความผิดปกติของ purine metabolism ในตับ ซึ่งสัมพันธิ์กับฤทธิ์ต้านเนื้องอก และการเหนี่ยวนำให้เกิดการทำลายตับ โดยฤทธิ์จะเพิ่มขึ้นตามขนาดที่เพิ่มขึ้นของสาร
J Pharma Biomed Anal 2017;136:44-54.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ลดความเป็นพิษต่อหัวใจจากการใช้ยาต้านมะเร็ง
ฤทธิ์ลดความเป็นพิษต่อหัวใจจากการใช้ยาต้านมะเร็ง doxorubicin ของสารสกัดจากเกากีฉ่ายการศึกษาฤทธิ์ของสารโพลีแซคคาไรด์จากเกากีฉ่ายในการป้องกันความเป็นพิษต่อหัวใจของหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดพิษด้วย doxorubicin โดยป้อนสารโพลีแซคคาไรด์ ขนาด 200 มก./กก. เป็นเวลา 10 วัน จากนั้นในวันที่ 7 ของการทดลอง ทำการฉีด doxorubicin ขนาด 10 มก./กก. เข้าทางหลอดเลือดดำของหนู พบว่าสารโพลีแซคคาไรด์จากเกากีฉ่ายมีผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายน้อยลง ลดระดับของเอนไซม์ creatine kinase และ aspartate aminotransferase ลดระด...
ฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบของสารสกัดใบตะไคร้
ฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบของสารสกัดใบตะไคร้ใบตะไคร้ตามสรรพคุณยาแผนโบราณ มีสรรพคุณในการรักษาการอักเสบ แต่มีข้อมูลค่อนข้างน้อยว่าสารใดเป็นตัวออกฤทธิ์ การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาในเซลล์เม็ดเลือดขาวของคน ซึ่งพบว่าสาร chlorogenic acid และ สาร polyphenol จากใบตะไคร้ สามารถยับยั้งการอักเสบได้ โดยมีกลไกลยับยั้งสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ คือยับยั้งการทำงานของ proteasome ยับยั้งการเกิดสาร nuclear factor (NF-κB) และยับยั้งการสร้างสาร tumor necrosis factor เช่น ไซโตคายน์ (cytokineTNF-α) และ chem...
ฤทธิ์ปกป้องตับจากพิษของยาพาราเซตามอลของโสมดำ
ฤทธิ์ปกป้องตับจากพิษของยาพาราเซตามอลของโสมดำการทดสอบฤทธิ์ปกป้องตับจากการได้รับพิษของยา acetaminophen (ยาพาราเซตามอล) ของโสมดำ (black ginseng) ซึ่งได้จากการนำรากโสม (Panax ginseng C.A.Mey) ไปผ่านการอบไอน้ำและอบแห้ง จนมีสีดำ เมื่อป้อนหนูแรทด้วยผงโสมดำขนาด 300 และ 600 มก./กก.น้ำหนักตัว/วัน ต่อเนื่องกัน 7 วัน ก่อนการเหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับด้วยการป้อนยาพาราเซตามอล ขนาด 250 มก./กก. น้ำหนักตัว มีผลลดระดับเอนไซม์ alanine aminotransferase และ aspartate aminotransferase ที่เป็นดัชนี้ชี้วัดความเป็นพิษต่อ...
ฤทธิ์ลดอาการมึนเมาของขมิ้นอ้อย
ฤทธิ์ลดอาการมึนเมาของขมิ้นอ้อยศึกษาฤทธิ์ลดอาการมึนเมาจากสารสกัดของขมิ้นอ้อย โดยทดลองป้อนสารสกัดขมิ้นอ้อย 5 ชนิดให้แก่หนูเม้าส์ผ่านทางหลอดสวนกระเพาะ ได้แก่ สารสกัด 30% เอทานอล (ขนาด 500 และ 1,000 มก./กก.) ส่วนสกัดของขมิ้นอ้อยที่ละลายในเฮกเซน (n-hexane) (ขนาด 100 และ 300 มก./กก.) ส่วนสกัดของขมิ้นอ้อยที่ละลายใน เมทานอล (ขนาด 150 และ 450 มก./กก.) ส่วนสกัดของขมิ้นอ้อยที่ไม่ละลายในเมทานอล (ขนาด 250 และ 500 มก./กก.) และสารสำคัญ curcumenone ที่สกัดแยกได้จากส่วนสกัดของขมิ้นอ้อยที่ละลายในเฮกเซน โดยวิ...
สารสกัดจากข้าวสีม่วงและสาร
สารสกัดจากข้าวสีม่วงและสาร anthocyanidin ช่วยป้องกันความเสียหายของจอประสาทตาจากการถูกทำลายด้วยแสงการศึกษาผลของสารสกัดจากรำข้าวสีม่วง และสารประกอบหลัก anthocyanidins (cyanidin และ peonidin) ต่อการป้องกันการทำลายจอประสาทตาจากแสง ในเซลล์ประสาทรับแสง (murine photoreceptor cells; 661W) โดยนำสารสกัดจากรำข้าวสีม่วง สาร cyanidin และ สาร peonidin เติมลงในเพลทที่มีเซลล์ประสาทรับแสงอยู่ หลังจากนั้นนำมาสัมผัสกับแสง (white fluorescent) เป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่าสารสกัดจากรำข้าวสีม่วง สาร cyanidin และ สาร peon...
ฤทธิ์บรรเทาภาวะปอดอักเสบเรื้อรังชนิดมีพังผืดของสารสำคัญจากบัวบก
ฤทธิ์บรรเทาภาวะปอดอักเสบเรื้อรังชนิดมีพังผืดของสารสำคัญจากบัวบกการทดสอบฤทธิ์บรรเทาภาวะปอดอักเสบเรื้อรังชนิดมีพังผืด (Pulmonary fibrosis) ที่เกิดจากการเหนี่ยวนำด้วยสาร bleomycin ขนาด 5 มก./กก. ในหนูเม้าส์ โดยให้หนูกินสาร madecassoside ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม triterpenoid saponins ที่แยกได้จากบัวบก (Centella asiatica ) ในขนาด 10, 20, 40 มก./กก. เปรียบเทียบกับยา prednisone ขนาด 5 มก./กก. โดยให้กินเป็นระยะเวลา 7 หรือ 21 วัน พบว่าสาร madecassoside ขนาด 20 และ 40 มก./กก. สามารถทำให้ลักษณะของปอดที่เปลี่ยนแ...
ฤทธิ์ต้านเอนไซม์
ฤทธิ์ต้านเอนไซม์ อีลาสเตส ไฮยาลูโรนิเดส และเมทริก เมตาโลโปรติเนสของสารสกัดจากดอกดาวเรืองใหญ่สารสกัดเมทานอล ส่วนสกัดของเอทิลอะซิเตด เอ็น-บิวทานอล และน้ำของดอกดาวเรืองใหญ่ มีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส (hyaluronidase) อีลาสเตส (elastase) และเมทริก เมตาโลโปรติเนส (MMP-1) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีนในชั้นผิวหนังทำให้ผิวแห้ง เหี่ยว การยืดหยุ่นของผิวหนังไม่ดี จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า สารสกัดเมทานอลจากดอกดาวเรืองใหญ่มีฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส และอีลาสเตส โดยที่ IC50 (ความเข้มข้นที่มีฤทธิ์ต้า...
ฤทธิ์บรรเทาปวดของสารสกัดน้ำจากเปลือกต้นมะม่วง
ฤทธิ์บรรเทาปวดของสารสกัดน้ำจากเปลือกต้นมะม่วงการศึกษาฤทธิ์บรรเทาปวดของเปลือกต้นมะม่วง (Mangifera indica L.) ในหนูแรทที่เกิดความเจ็บปวดแบบเฉียบพลัน และบรรเทาอาการปวดจากการตอบสนองในระยะยาว (long-term secondary machano-hyperalgesia) จากการกระตุ้นด้วยการฉีดฟอร์มาลีน 5% ผลการศึกษาพบว่า เมื่อป้อนสารสกัดน้ำจากเปลือกต้นมะม่วง (MSBE) วันละ 125, 250 และ 500 มก./กก.น้ำหนักตัว หรือป้อน MSBE ขนาด 250 มก./กก.น้ำหนักตัว ร่วมกับการฉีด ascorbic acid ขนาด 1 มก./กก.น้ำหนักตัว ให้หนูแรท ติดต่อกัน 7 วันก่อนการฉีดฟอ...
ฤทธิ์ต้านอาเจียนของข่าเล็ก
ฤทธิ์ต้านอาเจียนของข่าเล็ก การศึกษาหาสารออกฤทธิ์ลดการอาเจียนที่เกิดจาก copper sulfate ในเหง้าของข่า พบว่าสารในกลุ่ม diarylheptanoid 4 ชนิด มีฤทธิ์ลดการอาเจียน และในจำนวนนี้มีสารใหม่คือ 5-hydroxy-7-(4-hydroxy-3-methoxyphenyl)-1-(4-hydroxyphenyl)-3-heptanone และ kaempferide ซึ่งเป็น flavonoid J Nat Prod 2002;65:1315-8 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...