-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านอาการเครียดของชาเขียว
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านอาการเครียดของชาเขียว
การศึกษาฤทธิ์ต้านภาวะเครียดในหนูเม้าส์ของชาเขียว โดยเหนี่ยวนำให้หนูเกิดความเครียดทางจิตใจด้วย model of psychosocial stress (หนูเม้าส์เพศผู้อายุ 4 สัปดาห์ ถูกจับให้อยู่รวมกันนาน 5 วัน จากนั้นแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มที่อยู่รวมกันตลอดการทดลอง และ (2) กลุ่มที่ถูกแยกให้อยู่ตัวเดียวเป็นเวลา 7 วัน จากนั้นจึงให้มาอยู่รวมกันอีกครั้งเพื่อให้เกิดความเครียด) ซึ่งทำการทดสอบกับชาเขียว 3 ชนิดคือ (1) ชาเขียวที่อุดมไปด้วยกรดอะมิโนธีอะนีน (theanine) หรือเกียวคุโระ (Gyokuro) (2) ชาเขียวมาตรฐานหรือเซนฉะ (Sencha) และ (3) ชาเขียวมาตรฐานเซนฉะที่มีสารคาเฟอีนต่ำ (low-caffeine green tea) นอกจากนี้ยังทำการทดสอบกับสารคาเฟอีน สารคาเทชิน (catechin) และกรดอะมิโนอื่นๆ ที่พบในชาเขียวด้วย ในการทดลองหนูจะได้กินน้ำชาแต่ชนิดที่ชงด้วยน้ำอุณหภูมิ 25°C (เตรียมชาโดยใช้ใบชา 3 ก. ต่อน้ำ 1 ลิตร และคนเป็นเวลานาน 6 นาที) โดยให้กินแบบตามใจ (ad libitum) เปรียบเทียบผลการทดลองกับหนูที่ให้กินน้ำเปล่า โดยพิจารณาการเกิดภาวะต่อมหมวกไตมีขนาดโตผิดปกติ (adrenal hypertrophy) จากการวิเคราะห์ทางเคมีพบว่า ปริมาณสารคาเฟอีนในใบชาจะลดลง เมื่อทำการพ่นน้ำร้อนลงไปบนใบชาในขั้นตอนการเตรียมใบชาก่อนนำมาชง สาร epigallocatechin gallate (EGCG) คือสารในกลุ่มสารคาเทชินที่พบมากที่สุดในใบชา และการชงชาด้วยน้ำอุณหภูมิ 25°C จะทำให้ได้สาร epigallocatechin (EGC) ออกมามากที่สุด และจากผลการทดลองในหนูพบว่า การเกิดภาวะต่อมหมวกไตมีขนาดโตผิดปกติจากความเครียดจะถูกยับยั้งในกลุ่มที่ได้รับชาที่มีสารธีอะนีนสูงและชามีสารคาเฟอีนต่ำ โดยสารคาเฟอีนและสาร EGCG มีผลยับยั้งการออกฤทธิ์ต้านภาวะเครียดของสารธีอะนีน ในขณะที่สาร EGC และกรดอะมิโนอาร์จินีน (arginine) ที่พบในชาเขียวจะทำให้ฤทธิ์ต้านภาวะเครียดของสารธีอะนีนคงอยู่ ทำให้สามารถสรุปได้ว่า ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านภาวะเครียดด้วยการออกฤทธิ์ร่วมกันของกรดอะมิโนธีอะนีน กรดอะมิโนอาร์จินีน และสาร EGC ซึ่งมีผลตรงข้ามกับการออกฤทธิ์ของสารคาเฟอีนและสาร EGCG
Phytomedicine 2016;23:1365-74.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของสาร
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของสาร flavonoids จากเปลือกหอมหัวใหญ่การวิเคราะห์ทางเคมีพบว่าในเปลือกของหอมหัวใหญ่มีสารในกลุ่ม flavonoids 90.25% และสารที่พบมากที่สุดคือสาร quercetin (36.94%) และ quercetin 4'-O-β-d-glucopyranoside (15.81%) การทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า สารดังกล่าวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีเมื่อทดสอบด้วย oxygen radical absorbance capacity (ORAC), DPPH radical scavenging capacity, ferric reducing/antioxidant power (FRAP), superoxide anion free radical scavenging activit...
ฤทธิ์ต้านอาการผิวหนังอักเสบของเปลือกทับทิม
ฤทธิ์ต้านอาการผิวหนังอักเสบของเปลือกทับทิมการศึกษาฤทธิ์ต้านอาการผิวหนังอักเสบของเปลือกทับทิมในหนูเม้าส์ที่มีอาการผิวหนังอักเสบแบบผื่นแพ้สัมผัส (contact dermatitis) บริเวณใบหู โดยทายาตำรับสารสกัดมาตรฐาน 90% เมทานอลจากเปลือกทับทิม (Punica granatum L.) ขนาด 5, 2.5 และ 1 มก./หู หรือทาบริเวณใบหูด้วยสาร ellagic acid (EA) สารหลักที่พบในเปลือกทับทิม ขนาด 0.65, 0.325 และ 0.13 มก./หู (ขนาดเทียบเท่ากับปริมาณ EA ที่พบในตำรับยาทาสารสกัดมาตรฐาน) พบว่าทั้งตำรับยาทาจากเปลือกทับทิมและ EA ต่างลดอาการบวมได้ และอ...
ปฏิกิริยาระหว่างสารสกัดฟ้าทะลายโจรและยาแผนปัจจุบัน
ปฏิกิริยาระหว่างสารสกัดฟ้าทะลายโจรและยาแผนปัจจุบันมีรายงานการศึกษาปฏิกิริยาระหว่างสารสกัด 95%เอทานอลจากส่วนต้นและส่วนใบของฟ้าทะลายโจร (APE) และสาร andrographolide (AG) กับยา theophylline โดยป้อนหนูแรทด้วย APE (1 ก./กก., เทียบเท่ากับ AG 77 มก./กก.), AG 77 มก./กก, APE (2 ก./กก., เทียบเท่ากับ AG 154 มก./กก) หรือ AG 154 มก./กก เป็นเวลา 3 วัน และฉีดยา theophylline เข้าทางหลอดเลือดดำ ในขนาด 1 มก./กก. หรือ 5 มก./กก. ในวันที่ 4 จากผลการทดลองพบว่าการให้ theophylline ในขนาด 5 มก./กก. (high dose) ในหนูที่ไ...
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของ Piperine สาร piperine ที่พบในพริกขี้หนู มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหนูตะเภาที่เป็นมะเร็งปอด สาร piperine ขนาด 50 มก./กก. เมื่อให้หนูกินพร้อมกับสารก่อมะเร็ง Benzo(a)pyrene หรือให้กินหลังจากได้รับสารก่อมะเร็ง พบว่าสามารถลดการเกิดออกซิเดชันของไขมันในไมโตคอนเดรีย และเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ superoxide dismutase, catalase, glutathione, reduced glutathione วิตามินซี และวิตามินอี ในไมโตคอนเดรียของปอดและตับ จึงเป็นไปได้ว่า piperine อาจช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง (Phytomedicine 2004;11:8...
กลไกในการรักษาอาการท้องเสีย
กลไกในการรักษาอาการท้องเสีย และต้านการหดเกร็งในลำไส้ของมะขามป้อมการศึกษากลไกในการรักษาอาการท้องเสียของสารสกัดหยาบจากผลมะขามป้อม (Phyllanthus emblica + (80 มิลลิโมล) ซึ่งให้ผลเช่นเดียวกับยา dicyclomine (ยาระงับอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ) และการศึกษากลไกการออกฤทธิ์ในลำไส้เล็กส่วนไอเลียมของหนูตะเภา (guinea pig) โดยใช้ Pe.Cr ขนาด 0.3 และ 1 มก./มล. พบว่ามีกลไกการออกฤทธิ์เหมือนกับยา dicyclomine นั่นคือมีฤทธิ์เป็น anticholinergic และเป็น Ca2+ channel blocking (CCB) ซึ่งเป็นการออกฤทธิ์ต้านอาการห...
ผลของการใช้น้ำมันดอกกุหลาบมอญทาบริเวณหลังช่วงล่างที่ปวดในหญิงตั้งครรภ์
ผลของการใช้น้ำมันดอกกุหลาบมอญทาบริเวณหลังช่วงล่างที่ปวดในหญิงตั้งครรภ์ศึกษาแบบสุ่มในหญิงตั้งครรภ์อายุ 18-35 ปี ที่มีอายุครรภ์ในช่วง 12-33 สัปดาห์ จำนวน 120 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 40 คน กลุ่มที่ 1 ให้ทาน้ำมันดอกกุหลาบที่มีน้ำมันอัลมอนด์เป็นตัวพา จำนวน 7 หยด ต่อพื้นที่ๆปวด 100 ตร.ซม. วันละ 2 ครั้ง และห้ามนวด นาน 4 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 ให้ทาน้ำมันอัลมอนด์ ในขนาดที่เท่ากันกลับกลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 3 ไม่ต้องทาอะไร ในบริเวณที่ปวด ประเมินอาการปวดโดยการใช้ Visual Analog Scale และแบบสอบถาม Roland-Morr...
ฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องเดินของสารสกัดรากสบู่ดำ
ฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องเดินของสารสกัดรากสบู่ดำ จากการทดลองในหนูขาวที่ทำให้เกิดอาการท้องเดินด้วยน้ำมันละหุ่ง พบว่าสารสกัด methanol จากรากของสบู่ดำ (Jatropha curcus L.) แสดงฤทธิ์ยับยั้งอาการท้องเดิน โดยขนาดของสารสกัดที่ให้ผลอย่างมีนัยสำคัญคือมากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวคาดว่ากลไกการออกฤทธิ์เกิดจากการยับยั้งการสร้าง prostaglandin และฤทธิ์ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้เล็กJ Ethnopharmacol 2000;70:183-7 ...
ผลของน้ำองุ่นต่อการต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบในนักกีฬาวอลเลย์บอล
ผลของน้ำองุ่นต่อการต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบในนักกีฬาวอลเลย์บอลการศึกษาทางคลินิกผลของการดื่มน้ำองุ่น (Vitis labrusca Bordeaux) ต่อดัชนีชี้วัดของภาวะเครียดออกซิเดชัน การอักเสบ การถูกทำลายของกล้ามเนื้อ ระดับของ global histone H4 acetylation (กลไกด้าน epigenetics มีความสำคัญในการควบคุมการแสดงออกของยีน) ความแข็งแรงและกำลังของกล้ามเนื้อ โดยทำการศึกษาในนักกีฬาวอลเลย์บอลเพศชายจำนวน 12 คน อายุ 16 ± 0.6 ปี แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน ได้แก่ กลุ่มที่ให้ดื่มน้ำองุ่น 400 มล./วัน และกลุ่มยาหล...
ผลของสารสกัดจากแปะก๊วยต่อภาวะสมองขาดเลือด
ผลของสารสกัดจากแปะก๊วยต่อภาวะสมองขาดเลือดการศึกษาผลของสารสกัด EGb 761 จากแปะก๊วย (Gingko biloba ) ในหนูแรทเพศผู้ โดยให้หนูได้รับ EGb 761 ขนาด 100 มก./กก. ก่อนทำเกิดภาวะสมองขาดเลือดโดยการทำให้เส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองส่วนกลางอุดตัน (middle cerebral artery occlusion) และหลังจากนั้นเป็นเวลา 24 ชม. จึงเก็บสมองในส่วน cerebral cortex มาทดสอบ ซึ่งก่อนหน้านี้พบว่า EGb 761 สามารถลดบริเวณของเนื้อตายและจำนวนของ TUNEL-positive cells (ตัวบ่งชี้ว่าเซลล์สมองถูกทำลาย) ใน cerebral cortex อันเนื่องมาจากกา...