-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์กระตุ้นการสร้างกระดูกของใบยอและชาดำในหนูแรทที่ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์กระตุ้นการสร้างกระดูกของใบยอและชาดำในหนูแรทที่ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
การศึกษาฤทธิ์กระตุ้นการสร้างกระดูกของสารสกัดน้ำจากใบยอ (Morinda citrifolia L) และชาดำ (Camellia sinensis (L.) Kuntze) ในหนูแรทที่ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนจากการเหนี่ยวนำด้วยการตัดรังไข่ออก (ovariectomized rats) โดยแบ่งหนูเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับน้ำเปล่า (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ได้รับยา remifemin (สารสกัดจากเหง้าของต้น black cohosh (Cimicifuga racemosa) ซึ่งออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน นิยมใช้เพื่อบรรเทาอาการหลังหมดประจำเดือน) ขนาด 100 มก./กก. กลุ่มที่ 3 ได้รับสารสกัดชาดำขนาด 250 มก./กก. กลุ่มที่ 4, 5 และ 6 ได้รับสารสกัดใบยอขนาด 100, 200 และ 300 มก./กก. ตามลำดับ เป็นเวลานาน 4 เดือน จากผลการทดลองพบว่าสารสกัดใบยอสามารถเพิ่มการแสดงออกของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของการสร้างกระดูก (runt-related transcription factor 2, bone morphogenetic protein 2, osteoprotegerin, estrogen receptor 1 [ESR1], collagen type I alpha 1A) และลดการแสดงออกของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของการเกิดการอักเสบ (interleukin-6, tumor necrosis factor-α, nuclear factor [NF]--κB, receptor activator of NF-κB ligand) โดยทำให้ขนาด โครงสร้าง คุณสมบัติทางกลศาสตร์ (ความแข็งแรงและความหยืดหยุ่น) การสะสมแร่ธาตุ และความหนาแน่นของกระดูกเพิ่มขึ้น ซึ่งประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ ในขณะที่สารสกัดชาดำทำให้ความหนาแน่นของกระดูกเพิ่มขึ้น โดยส่งเสริมให้เกิดการสร้างกระดูกใหม่ (bone regeneration) และยับยั้งการสลายกระดูกเก่า (bone resorption) ซึ่งคาดว่ากลไกการออกฤทธิ์น่าจะเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นการเกิดและเพิ่มการรอดชีวิตของเซลล์กระดูก (osteoblast) ยับยั้งการเจริญเติบโตและการทำงานของเซลล์ที่ทำหน้าที่สลายกระดูก (osteoclast) ยับยั้งการอักเสบ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนของกระดูก (bone collagen) และเพิ่มการแสดงออกของ ESR1 จากผลการทดลองดังกล่าว ทำให้สามารถสรุปได้ว่า สารสกัดน้ำจากใบยอและชาดำน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุและหญิงวัยหมดประจำเดือน
Nutrition 2017;33:42-51.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
การศึกษาความเป็นพิษต่อตับของกรด
การศึกษาความเป็นพิษต่อตับของกรด ginkgolic จากแป๊ะก๊วยเมื่อป้อนหนูเม้าส์ด้วยกรด ginkgolic (C15:1) ที่แยกได้จากใบและเมล็ดของแป๊ะก๊วย ขนาด 25 และ 50 มคก./กก./วัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เปรียบเทียบผลกับหนูในกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับกรด ginkgolic และตรวจวิเคราะห์ metabolomic profile ของเนื้อเยื่อตับและซีรัมดัวย 1H-NMR ร่วมกับการวิเคราะห์ทางชีวเคมี พบว่ากรด ginkgolic ทั้ง 2 ขนาด มีผลทำให้น้ำหนักตัวของหนูลดลง แต่ไม่มีผลต่อพฤติกรรม ลักษณะทางกายภาพ และไม่ทำให้ขนร่วง ระดับของเอนไซม์ aspartate aminotransferase ...
ผลของการดื่มกาแฟต่อภาวะความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเยื่อบุผนังมดลูก
ผลของการดื่มกาแฟต่อภาวะความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเยื่อบุผนังมดลูกการศึกษาผลของการดื่มกาแฟต่อภาวะความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในเยื่อบุผนังมดลูก โดยการสำรวจและเก็บข้อมูลแบบต่อเนื่อง (cohort study) ในอาสาสมัครเพศหญิงในประเทศสวีเดน จำนวน 60,634 คน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 ถึง 1990 และ ในปี ค.ศ. 1997 รวมระยะเวลาในการติดตามเฉลี่ย 17.6 ปี โดยให้อาสาสมัครตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับเกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มกาแฟ และประวัติเกี่ยวกับสุขภาพ ทำการประเมินค่าความสัมพันธ์ของการดื่มกาแฟต่อภาวะความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเยื่อบุ...
ฤทธิ์ของสารสกัดจากผักเม็กต่อความดันเลือดและการขยายตัวของหลอดเลือดในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความดันเลือดสูง
ฤทธิ์ของสารสกัดจากผักเม็กต่อความดันเลือดและการขยายตัวของหลอดเลือดในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความดันเลือดสูงการศึกษาในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความดันเลือดสูงด้วยสาร L-NAME (Nω-Nitrol-arginine methyl ester) ขนาด 40 มก./กก./วัน ในน้ำดื่ม เป็นเวลา 5 สัปดาห์ และได้รับสารสกัดน้ำจากใบผักเม็ก (Syzygium gratum) ขนาด 300 มก./กก./วัน ใน 2 สัปดาห์สุดท้าย ทำการวัดความดันเลือดแดงเฉลี่ยและอัตราการเต้นของหัวใจ เมื่อสิ้นสุดการทดลอง และวัดการตอบสนองของหลอดเลือดต่อสาร acetylcholine และ sodium nitropru...
การศึกษาประสิทธิภาพการรักษาของสารสกัดฟ้าทะลายโจร
การศึกษาประสิทธิภาพการรักษาของสารสกัดฟ้าทะลายโจร (KalmColdTM) ในผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนต้นการศึกษาแบบ Randomized, double blind placebo controlled clinical study ในผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น 223 คน โดยแบ่งให้ได้รับยาหลอก (เซลลูโลส) 111 คน หรือ KalmColdTM (ประกอบด้วยสารสกัดฟ้าทะลายโจร 100 มก. และเซลลูโลส 200 มก. ซึ่งมีสาร andrographolides 38.40%) 112 คน รับประทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 แคปซูล หลังอาหารเช้าและเย็น เป็นเวลา 5 วัน แล้วทำการประเมินผลด้วย...
ผลของสารสกัดโสมแดงต่อปฏิกิริยาการแพ้อาหารของหนูเม้าส์
ผลของสารสกัดโสมแดงต่อปฏิกิริยาการแพ้อาหารของหนูเม้าส์การทดสอบฤทธิ์ต้านการแพ้อาหารของสารสกัดจากรากโสมแดง (Panax ginseng C.A. Meyer) ในหนูเม้าส์ที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการแพ้โดยการฉีดสาร ova-albumin เข้าทางช่องท้องในขนาด 3 มคก. ร่วมกับ alum 2 มก. ในวันที่ 16 และ 30 จากนั้นจึงให้กิน OVA 15 มก./กก. ในวันที่ 37 (ova-albumin (OVA)-evoked allergic reaction) โดยให้หนูกินสารสกัดจากโสมแดงวันละ 2 ครั้ง ในขนาด 20 หรือ 60 มก./กก. เป็นเวลา 37 วัน พบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถยับยั้งการเพิ่มขึ้นของ Immunoglobul...
ผลป้องกันการเกิดนิ่วในไตของน้ำมะนาว
ผลป้องกันการเกิดนิ่วในไตของน้ำมะนาวการศึกษาผลของน้ำมะนาวในการป้องกันการเกิดนิ่วในไตของหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดนิ่วโดยให้ดื่มน้ำที่ผสม 075% ethylene glycol และ 2% ammonium chloride จากนั้นป้อนด้วยน้ำมะนาว ความเข้มข้น 100%, 75% และ 50% ในขนาด 6 มคล./ก. เป็นเวลา 10 วัน เปรียบเทียบผลที่ได้กับหนูในกลุ่มควบคุมที่เป็นนิ่วแต่ไม่ได้รับน้ำมะนาว พบว่าหนูในกลุ่มที่ได้รับน้ำมะนาว จะมีระดับของ urea, creatinine, calcium และ phosphorus ในเลือด และระดับของ calcium ในไตต่ำกว่ากลุ่มควบคุม เมื่อตรวจดูลักษณะของเนื้...
สารออกฤทธิ์ต้าน
สารออกฤทธิ์ต้าน HIV จากพุดป่า ( Gardenia thailandica ) สาร Thailandiol, gardenolic acid, quadrangularic acid E และ 3 beta-hydroxy-5 alpha-cycloart-24 (31)-en-28 oic acid ซึ่งได้จากใบและยอดพุดป่ามีฤทธิ์ anti HIV-1 โดยใช้การตรวจสอบ Dtat/Rev MC99 virus และ1A2 cell line EC50 จะอยู่ในช่วงความเข้มข้น ...
สีผสมอาหารธรรมชาติจากดอกคำฝอย
สีผสมอาหารธรรมชาติจากดอกคำฝอยการศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้สารไนไตรท์ (Nitrite) ซึ่งเป็นวัตถุเจือปนอาหารที่ทำให้เกิดสีแดงอมชมพูในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ กับการใช้ใยอาหารจากข้าวสาลีที่ถูกย้อมด้วยสารคาร์ธามิน (carthamin) ซึ่งเป็นสารสีแดงที่ได้จากดอกคำฝอย (Carthamus tinctorius L.) ในไส้กรอก โดยดูลักษณะของสีและการเกิดออกซิเดชั่นของไขมัน (lipid oxidation) ที่เกิดขึ้น ซึ่งไส้กรอกจะถูกเตรียมโดยการใช้สารไนไตรท์ 2 ความเข้มข้นคือ 0 และ 120 ส่วนในล้านส่วน จากนั้นทั้ง 2 กลุ่มจะถูกผสมด้วยใยอาหารจากข้าวสาลี 3 คว...
ผลในการรักษาหิดของเจลว่านหางจระเข้
ผลในการรักษาหิดของเจลว่านหางจระเข้การศึกษาผลของเจลว่านหางจระเข้ในการรักษาหิด โดยทำการทดลองเป็น 2 ระยะ คือ การทดลองระยะที่ 1 ทำในผู้ป่วย 5 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้ใหญ่ 1 คน และเด็ก 4 คน สำหรับการทดลองระยะที่ 2 ทำในผู้ป่วย 30 คน ผู้ใหญ่ 18 คน และเด็ก 12 คน เปรียบเทียบกับยา benzyl benzoate โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับเจลว่านหางจระเข้ (16 คน) และกลุ่มที่ได้รับยา benzyl benzoate (14 คน) ซึ่งความเข้มข้นของเจลว่านหางจระเข้ และยาที่ใช้ทาสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก ในการทดลองทั้ง 2 ระยะ คือ 25% และ 12.5% ตามลำดับ โดยท...