Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์ยับยั้งการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อนและต้านการอักเสบของสารสกัดจากผลทับทิม

การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อนและต้านการอักเสบของสารสกัดเอทานอลจากผลทับทิม (pomegranate fruit extract; PFE) ในกระต่ายที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดโรคข้อเสื่อม(osteoarthritis; OA) จากการผ่าตัด โดยกลุ่มแรก ให้กิน PFE ที่ละลายอยู่ในน้ำดื่ม ขนาด 34 มก./กก./วัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์หลังการผ่าตัด และกลุ่มที่ 2 ให้กิน PFE ที่ละลายอยู่ในน้ำดื่ม ขนาด 34 มก./กก./วัน ก่อนการผ่าตัด 2 สัปดาห์ และหลังผ่าตัด 8 สัปดาห์ เปรียบเทียบผลที่ได้กับกระต่ายที่ให้กินเพียงน้ำเปล่า จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ได้รับ PFE มีการเกิด safranin-O-staining และการรวมตัวของเซลล์กระดูกอ่อน (chondrocyte cluster formation) (ตัวชี้วัดการเสื่อมสลายของกระดูก) ที่บริเวณเส้นเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า (anterior cruciate ligament) ลดลง การแสดงออกของ matrix metalloproteinases (MMP)-3, MMP-9, และ MMP-13 (ตัวชี้วัดการเกิดการอักเสบ) ที่บริเวณกระดูกอ่อน (cartilage) ลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับน้ำเปล่า และกลุ่มที่ได้รับ PFE จะมีระดับของ interleukin (IL)-6, MMP-13 และ prostaglandin (PG) E2 (ตัวชี้วัดการเกิดการอักเสบ) ภายในน้ำไขข้อ (synovial fluid) และน้ำเลือด ลดลงด้วย นอกจากนี้กลุ่มที่ได้รับ PFE ยังมีการแสดงออกของ aggrecan และ type II collagen (COL2A1) (ตัวชี้วัดการเกิดการสร้างกระดูก) เพิ่มขึ้น ซึ่งกระต่ายที่ได้รับน้ำเปล่าจะมีจำนวนของเซลล์กระดูกอ่อน (chondrocytes) ที่บ่งชี้ถึงการเกิดการตายของเซลล์แบบอะพอพโตซิส (apoptosis) ที่บริเวณข้อต่อ เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ PFE และการทดลองในหลอดทดลองกับเซลล์กระดูกอ่อนของกระต่ายพบว่า PFE สามารถยับยั้งการแสดงออกของ IL-6 และ MMP รวมทั้งการสร้าง PGE2 ซึ่งเป็นสารก่อการอักเสบ จากการเหนี่ยวของ IL-1β ได้ โดยมีกลไกเดียวกับสารยับยั้ง MMP-13, mitogen-activated protein kinase (MAPK) และ nuclear factor (NF)-κB จากผลการทดลองข้างต้นทำให้สามารถสรุปได้ว่าสารสกัดเอทานอลจากผลทับทิมมีฤทธิ์ปกป้องกระดูกอ่อนซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคข้อเสื่อม

Nutrition 2017;33:1-13.

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1506

ประสิทธิภาพของเทียนดำในการสลายนิ่วในไต
ประสิทธิภาพของเทียนดำในการสลายนิ่วในไตการศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในไต ซึ่งมีขนาดของก้อนนิ่วมากกว่า 5 มม. ขึ้นไป อายุ 20-60 ปี จำนวน 60 ราย โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่ให้รับประทานแคปซูลผงเมล็ดเทียนดำ (Nigella sativa L.) ขนาด 500 มก. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 10 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับยาหลอก ทำการประเมินผลโดยการวัดขนาดของนิ่วด้วยวิธีการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (sonography) ก่อนและหลังทำการศึกษา พบว่าผู้ป่วยในกลุ่มที่ได้รับเทียนดำ 12 ราย (44.4%) มีการขับนิ่วในไตออกมาได้หมด, 14 ราย (51.8%) มีขนาดขอ...

1598

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ และต้านเอสโตรเจนของเห็ดขลำหมาเห็ดขลำหมา (Mycoamaranthus cambodgensis (Pat.) Trappe, S. Lumyong, P. Lumyong, Sanmee & Zhu L. Yang) เป็นเห็ดป่ากินได้ที่พบในป่าผลัดใบของประเทศไทย และมีการนำมาใช้เป็นยาพื้น บ้านสำหรับการฟื้นตัวหลังคลอด การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัด 50% เอทานอลจากดอกเห็ด(fruiting bodies) ด้วยวิธี DPPH radical scavenging assay (DPPH assay) และวิธี Ferric reducing anti-oxidant power (FRAP) พบว่าสารสกัดเห็ดขลำหมามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระค่อนข้างสูง ...

717

ผลของมะม่วงต่อคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและระดับไขมันในเลือด
ผลของมะม่วงต่อคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและระดับไขมันในเลือดศึกษาสารต้านอนุมูลอิสระและคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant capacity) ของมะม่วงทั้งผลกับมะม่วงผ่านการตัดแต่ง (ปอกเปลือกแล้วหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า) ซึ่งเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 12 °C และ 5 °C ตามลำดับ เป็นเวลานาน 10 วัน และผลต่อการต้านอนุมูลอิสระและระดับไขมันในเลือดของอาสาสมัครที่มีระดับไขมันในเลือดปกติ ผลการทดลองพบว่ามะม่วงทั้งผลจะมีสารฟลาโวนอยด์ เบต้าแคโรทีน และวิตามินซี สูงกว่ามะม่วงที่ผ่านการตัดแต่ง แต่ปริมาณขอ...

523

การดื่มกาแฟที่มีส่วนผสมของ
การดื่มกาแฟที่มีส่วนผสมของ indigestible dextrin ช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้การทดลองแบบ double-blind crossover ในอาสาสมัครจำนวน 42 คน อายุ 45 +/- 12.7 ปี โดยแบ่งให้อาสาสมัครดื่มกาแฟ 200 มิลลิลิตร ที่ส่วนผสมของ indigestible dextrin (คาร์โบไอเดรตสายยาว ที่ไม่สามารถละลายน้ำ และร่างกายไม่สามารถย่อยได้) จำนวน 5 กรัม หรือรับประทานกาแฟที่ผสมยาหลอก วันละ 3 ครั้ง นาน 12 สัปดาห์ พบว่าอาสาสมัครที่ดื่มกาแฟผสม indigestible dextrin ทั้ง 14 คน (อาสาสมัครสุขภาพดี 12 คน และอาสาสมัครที่มีระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ 2 คน,...

357

สาร
สาร diallyl sulfone จากกระเทียมป้องกันการกลายพันธุ์เมื่อป้อนสาร diallyl sulfone (DASO22Carcinogenesis 2007;28(80):1824-30 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...

635

ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดน้ำจากใบอ้อย
ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของสารสกัดน้ำจากใบอ้อยสารสกัดน้ำจากใบอ้อย ความเข้มข้น 1 - 10 มก./แผ่น มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ในเชื้อ Salmonella typhimurium  TA98 และ TA100 ที่เหนี่ยวนำด้วยสารก่อกลายพันธุ์ benzo[a]-pyrene และ N-methyl-N′-nitrosoguanidine ได้ สารสกัดที่ความเข้มข้น 0.05 - 0.4 มก./มล. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อวัดโดยดูจากการจับอนุมูลอิสระซูเปอร์ออกไซด์ (superoxide) และไนตริกออกไซด์ (nitric oxide) ความสามารถในการรีดิวซ์ (reducing power) ของสารสกัด และการต้านการเกิด lipid pe...

1274

ฤทธิ์ต้านมาลาเรียของตำรับยาเบญจโลกวิเชียร
ฤทธิ์ต้านมาลาเรียของตำรับยาเบญจโลกวิเชียรตำรับยาเบญจโลกวิเชียร เป็นตำรับยาแผนโบราณที่ใช้แก้ไข้ต่างๆ รวมทั้งไข้มาลาเรีย ประกอบด้วยรากของต้นชิงชี่ ย่านาง คนทา ไม้เท้ายายม่อม และมะเดื่อชุมพร แต่ในปัจจุบันมีการนำส่วนของลำต้นมาใช้แทนรากในตำรับยา ดังนั้นจึงได้มีการศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ในการต้านเชื้อมาลาเรีย (Plasmodium falciparum) สายพันธุ์ที่ไวต่อยาคลอโรควิน (chloroquine-sensitive, Pf3D7) และสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยา (chloroquine-resistant, PfW2) ของตำรับยาที่เตรียมจากราก หรือเตรียมจากลำต้น รวมทั้งส่วน...

509

ผลการยับยั้งไวรัสไข้หวัดของ
ผลการยับยั้งไวรัสไข้หวัดของ Andrographolide และอนุพันธ์14-α-lipoyl andrographolide (AL-1) เป็นอนุพันธ์ของ Andrographolide สารสำคัญที่พบในฟ้าทะลายโจร ซึ่ง AL-1 มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค การทดลองหาฤทธิ์ยับยั้งไวรัสไข้หวัด สายพันธุ์ A 3 ชนิด ได้แก่ H5N1, H9N2 และ H1N1 พบว่าหนูเม้าส์ที่ได้รับ AL-1 ขนาด 100-200 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว/วัน แบ่งให้วันละ 2 ครั้ง นานติดต่อกัน 7 วัน ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ยืดอายุหนูที่ติดเชื้อไวรัสหวัด ลดอาการผิดปกติของปอด และลดจำนวนไวรัสในปอดได้...

764

โสมลดการอักเสบของหลอดลมในหอบหืด
โสมลดการอักเสบของหลอดลมในหอบหืดการศึกษาผลของสารสกัดจากโสม (Panax ginseng C.A. Meyer) ต่อหนูเม้าส์ที่ถูกเนี่ยวนำให้เป็นโรคหอบหืด โดยการฉีดโปรตีนจากไข่ขาว (Ovalbumin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ เข้าทางช่องท้อง 2 ครั้ง ในวันที่ 0 และ 14 ของการทดลอง ด้วยขนาด 20 มคก. ของ Ovalbumin ที่ดูดซับอยู่ใน albumin hydroxide 1.0 มก. ในวันที่ 20-22 ของการทดลอง หนูเม้าส์จะได้รับการฉีดสารสกัดจากโสมเข้าทางช่องท้องวันละ 1 ครั้ง ขนาด 20 มก./กก. และในวันที่ 20-22 หลังจากฉีดสารสกัดจากโสม 10 นาที หนูเม...