-
ผลวิจัยสมุนไพร Thai Herb Research.
-
ฤทธิ์ต้านมาลาเรียของตำรับยาเบญจโลกวิเชียร
ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ
ฤทธิ์ต้านมาลาเรียของตำรับยาเบญจโลกวิเชียร
ตำรับยาเบญจโลกวิเชียร เป็นตำรับยาแผนโบราณที่ใช้แก้ไข้ต่างๆ รวมทั้งไข้มาลาเรีย ประกอบด้วยรากของต้นชิงชี่ ย่านาง คนทา ไม้เท้ายายม่อม และมะเดื่อชุมพร แต่ในปัจจุบันมีการนำส่วนของลำต้นมาใช้แทนรากในตำรับยา ดังนั้นจึงได้มีการศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ในการต้านเชื้อมาลาเรีย (Plasmodium falciparum) สายพันธุ์ที่ไวต่อยาคลอโรควิน (chloroquine-sensitive, Pf3D7) และสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยา (chloroquine-resistant, PfW2) ของตำรับยาที่เตรียมจากราก หรือเตรียมจากลำต้น รวมทั้งส่วนรากและลำต้นของสมุนไพรเดี่ยวที่เป็นส่วนประกอบของตำรับ พบว่าตำรับยาที่เตรียมจากราก และลำต้น และส่วนของรากและลำต้นในสมุนไพรเดี่ยวๆ สามารถต้านเชื้อมาลาเรีย และมีความเป็นพิษต่ำและความจำเพาะต่อฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีย โดยมีค่า SI values (selective index = TC50cytotoxicity/IC50 antiplasmodial activity) อยู่ในช่วง 3.55 -19.74 โดยที่สารสกัดจากตำรับยาเบญจโลกวิเชียรสามารถต้านเชื้อมาลาเรียสายพันธุ์ Pf3D7 และ สายพันธ์ PfW2 โดยมีค่า IC50 < 5 และ 6 - 10 มคก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่รากและลำต้นของสมุนไพรเดี่ยวทั้ง 5 ต้น พบว่าย่านางมีประสิทธิภาพสูงสุด IC50 < 5 มคก./มล. และมีความจำเพาะต่อฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีย > 10 และสามารถแยกสารหลักที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียคือ tiliacorinine และ yanangcorinine จากสารสกัดลำต้นย่านาง โดยตรวจพบปริมาณสารทั้งสองชนิดในตำรับยาเบญจโลกวิเชียรอยู่ถึง 0.57 - 7.66% นอกจากนี้เมื่อดูความสัมพันธ์ระหว่างค่า IC50 และปริมาณสารทั้งสองชนิดในตำรับ พบว่าตำรับยาเบญจโลกวิเชียรมีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อมาลาเรียสองสายพันธุ์สูงกว่าสารเดี่ยวๆ แสดงให้เห็นว่าเมื่อนำมาทำเป็นตำรับจะมีการเสริมฤทธิ์กันทำให้มีฤทธิ์ต้านมาลาเรียสูงมากขึ้น และลดความเป็นพิษของสมุนไพรในแต่ละต้นลง จากการศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่าตำรับยาที่เตรียมจากราก หรือจากลำต้น รวมทั้งส่วนรากและลำต้นของสมุนไพรเดี่ยวที่เป็นส่วนประกอบของตำรับนี้มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อมาลาเรีย ซึ่งควรมีการพัฒนาและศึกษาของตำรับยาเบญจโลกวิเชียรที่เตรียมจากลำต้นของสมุนไพรดังกล่าวต่อไป
J Ethnopharmacol 2016;193:125-32.ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บทความอื่นๆ
สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของผลควินซ์สายพันธุ์ต่างๆ
สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของผลควินซ์สายพันธุ์ต่างๆการวิเคราะห์สารสำคัญและการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase จากส่วนเปลือกผลและเนื้อผลของควินซ์ (Chaenomeles ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัด
ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัด charantin จากผลมะระขี้นกศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และ 2 ของสารสกัด charantin จากผลมะระขี้นก (Momordica charantia ) โดยทดลองป้อนสารสกัด charathin ขนาด 200 มก./กก./วัน ให้กับหนูเม้าส์สายพันธุ์ KK/HIJ ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการให้อาหารที่มีไขมันสูง (high-fat diet) และหนูเม้าส์สายพันธุ์ ICR ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ด้วยการฉีด streptozotocin ขนาด 150 มก./กก. เข้าทางช่องท้อง ใช้ระยะเวลาในการทดลองนาน 8 สัปดาห์ ผลการศึกษาที่ได้พบว่า ...
ผลของตำรับยาแผนโบราณต่อระบบภูมิคุ้มกัน
ผลของตำรับยาแผนโบราณต่อระบบภูมิคุ้มกันการศึกษาผลของตำรับยาแผนโบราณที่มีส่วนประกอบของใบกะเพรา รากชะเอมเทศ และผลมะขามป้อม ที่มีชื่อตำรับยาว่า CIM-Candy เพื่อต่อระบบภูมิคุ้มกัน โดยใช้เม็ดเลือดแดงของกระต่ายเป็นแอนติเจนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทำการศึกษาในหนูเม้าส์จำนวน 36 ตัว แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มๆ ละ 6 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม (vehicle control) ป้อนน้ำกลั่น 10 มล./กก. กลุ่มที่ 2-4 ป้อน CIM-Candy ขนาด 1, 10 และ 100 มก./กก. ตามลำดับ กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มควบคุมที่ให้ผลกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (positive contro...
ฤทธิ์กระตุ้นความอยากอาหารของเนียมหูเสือ
ฤทธิ์กระตุ้นความอยากอาหารของเนียมหูเสือ (Coleus aromaticus )ศึกษากระตุ้นความอยากอาหารของเนียมหูเสือ (Coleus aromaticus ) ในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 32 คน (เพศชาย 24 คน และ เพศหญิง 8 คน) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม (กลุ่มละ 8 คน โดยในแต่ละกลุ่มให้มีอาสาสมัครเพศชาย 6 คน และอาสาสมัครเพศหญิง 2 คน) กลุ่มที่ 1 ให้เป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 - 4 ให้ดื่มน้ำคั้นสดใบเนียมหูเสือความเข้มข้น 12, 18 และ 24% ตามลำดับ โดยให้ดื่มขนาด 170 มล. หลังจากนั้น 30 นาทีทำการเก็บตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครเพื่อวิเคราะห์ค่าทาง...
ผลของน้ำมันปาล์มต่อระดับไขมันในคนสุขภาพดี
ผลของน้ำมันปาล์มต่อระดับไขมันในคนสุขภาพดีการศึกษาในนักศึกษาด้านการแพทย์ที่มีสุขภาพดี จำนวน 34 คน อายุเฉลี่ย 21.9 ± 1.76 ปี เป็นเพศหญิง 13 คน และเพศชาย 21 คน มีระดับไขมันในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด และความดันเลือดปกติ ไม่ใช้ยาคุมกำเนิด สเตียรอยด์ ยาลดความดัน ยาลดน้ำตาลในเลือด และฮอร์โมน ไม่สูบบุหรี่ หรือดื่มอัลกอฮอล์น้อยกว่า 30 มล.ต่อมื้อในเพศชาย และ 15 มล.ต่อมื้อในเพศหญิง การทดลองแบ่งเป็น 3 ระยะ 2 สัปดาห์แรก เป็นช่วงเตรียมก่อนการทดลอง 2 สัปดาห์ต่อมาเป็นช่วงของการทดลอง และ 2 สัปดาห์สุดท...
สารออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งจากหญ้าหนวดแมว
สารออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งจากหญ้าหนวดแมว ผู้วิจัยได้สกัดสารกลุ่ม diterpenes 4 ชนิด จากส่วนที่อยู่เหนือดินของหญ้าหนวดแมว คือ orthosiphon O, P, G และ nororthosiphonolide A สารทั้ง 4 มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งจากลำไส้ใหญ่ และเซลล์มะเร็ง HT-1080 fibrosarcoma แต่ฤทธิ์ไม่แรง Planta Med 2002;68:286-8 ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล...
การศึกษาพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากใบชาขาว
การศึกษาพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากใบชาขาวการศึกษาพิษเฉียบพลันของสารสกัด 70% เอทานอลจากใบชาขาว [Camellia sinensis (L.) Kuntze] ในหนูเม้าส์ โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมหนึ่งกลุ่มและกลุ่มทดลองสามกลุ่ม ในแต่ละกลุ่มมีหนูทั้งหมด 10 ตัว เป็นหนูเพศผู้และเพศเมียอย่างละ 5 ตัว โดยทำการป้อนสารสกัดจากใบชาขาวขนาด 1,250, 2,500 และ 5,000 มก./กก. แก่หนูในกลุ่มทดลองเพียงครั้งเดียว สังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นภายใน 4 และ 24 ชั่วโมงแรกหลังการป้อนสารสกัด ซึ่งไม่พบหนูทดลองแสดงความผิดปกติหรือตาย เมื่อติดตามพฤติกรรม น้ำหนักต...
ผลของอาหารเสริมจากชาเขียวต่อความไวของอินซูลินในหนู
ผลของอาหารเสริมจากชาเขียวต่อความไวของอินซูลินในหนู Sprague-Dawley การทดลองนี้เป็นการศึกษาผลของชาเขียวต่อความทนต่อกลูโคส์ (glucose tolerance) และความไวของอินซูลิน (insulin sensitivity) ในหนู การทดลองที่ 1 ใช้หนู Sprague-Dawley เพศผู้น้ำหนัก 200-250 กรัม ในกลุ่มควบคุมจะได้รับอาหารมาตรฐานและน้ำกลั่น Deionized ในขณะที่กลุ่มทดลองจะได้รับอาหารมาตรฐานและชาเขียวแทน (ผงชาเขียวที่ทำให้แห้งด้วยความเย็น 0.5 กรัม ละลายในน้ำกลั่น Deionized 100 มิลลิลิตร) หลังจากนั้น 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มทดลองมีระดับข...
สารสกัดจากดอกลำไยกับฤทธิ์ในการปกป้องระบบประสาท
สารสกัดจากดอกลำไยกับฤทธิ์ในการปกป้องระบบประสาทการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดน้ำจากดอกลำไย พบว่าสารสกัดมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ในสมองหนู เมื่อทดลองในหลอดทดลอง โดยมีฤทธิ์ดีกว่ากลูตาไธโอน และ Trolox ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และในหนูแรทที่ได้รับสารสกัดน้ำจากดอกลำไย ขนาด 500 มก./วัน เป็นเวลา 7 วัน จะพบการเกิด lipid peroxidation ในสมองน้อยกว่าหนูที่ไม่ได้รับสารสกัด สำหรับการทดสอบผลในการปกป้องระบบประสาท โดยป้อนหนูด้วยสารสกัด ขนาด 125 250 และ 500 มก./กก. เป็นเวลา 1 ชม. ก่อนเห...