Menu

ข่าวความเคลื่อนไหว ผลวิจัยจากการทดลอง ของ สมุนไพร ชนิดต่างๆ

ฤทธิ์คลายความกังวลของคาร์โมมายล์

การศึกษาฤทธิ์คลายความวิตกกังวลของคาโมมายล์ (Matricaria chamomilla L.) ในผู้ป่วยโรควิตกกังวลทั่วไประดับปานกลางและมาก (moderate to severe generalized anxiety disorder) โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ช่วง คือ การศึกษาระยะสั้น เป็นการศึกษาแบบเปิด (open label) ในผู้ป่วยจำนวน 104 คน โดยให้รับประทานแคปซูลสารสกัดเอทานอลจากดอกคาโมมายล์ ขนาด 500 มก. วันละ 3 แคปซูล (ใน 1 แคปซูลเทียบเท่ากับดอกคาโมมายล์แห้ง 2 ก. มีสารสำคัญ apigenin-7-glycosides ประมาณ 6 มก.) ติดต่อกัน 8 สัปดาห์ จากนั้นประเมินค่าความวิตกกังวลโดยให้อาสาสมัครตอบแบบสอบถาม GAD-7 symptom rating ผลการศึกษาพบว่าอาสาสมัครมีอาการวิตกกังวลลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อประเมินผลลัพธ์รองด้วยแบบสอบถาม Hamilton Rating Scale for Anxiety, the Beck Anxiety Inventory และ Psychological General Well Being Index ต่างพบว่าความวิตกกังวลในอาสาสมัครลดลงและอาสามัครมีสุขภาวะทางจิตใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนรับประทาน และในลำดับถัดมา ทำการศึกษาต่อเนื่องระยะยาว แบบสุ่มและปกปิดทั้งสองฝ่าย (double blind, randomized controlled trial) ในอาสาสมัคร 179 คน โดยให้รับประทานแคปซูลสารสกัดจากคาโมมายล์ วันละ 3 แคปซูล (รวม 1,500 มก./วัน) ติดต่อกัน 12 สัปดาห์ จากนั้นคัดเลือกเฉพาะอาสาสมัครที่มีค่า GAD-7 ลดลงอย่างน้อย 50% และมีค่า Clinical Global Impression-severity score เท่ากับ 3 หรือต่ำกว่า จำนวน 93 คน สุ่มให้รับประทานแคปซูลสารสกัดคาโมมายล์หรือยาหลอก ต่อเนื่องอีก 26 สัปดาห์ พบว่าจำนวนอาสาสมัครกลุ่มได้รับยาหลอกมีอาการกำเริบคิดเป็น 25.5% ในช่วงระยะเวลา 6.3±3.9 สัปดาห์ ขณะที่อาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับคาโมมายล์มีอาการกำเริบเพียง 15.2% ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอก และในระยะเวลานานกว่ากลุ่มยาหลอก คือ 11.4±8.4 สัปดาห์ จากการติดตามผลหลังการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากคาโมมายล์มีอาการวิตกกังวลลดลงอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงมีน้ำหนักตัวและความดันโลหิตลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก จากการศึกษาเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานสารสกัดจากคาโมมายล์ทั้งการใช้ในระยะสั้นและระยะยาว (8-38 สัปดาห์) มีความปลอดภัยและสามารถบรรเทาอาการวิตกกังวลทั่วไปได้เช่นเดียวกับการใช้ยาคลายความกังวล

Phytomedicine 2016;22:1699-1705 และ 1735-42

ข้อมูลอ้างอิงจาก : ข่าวความเคลื่อนไหวสมุนไพร : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

1

2

3

4

5

6

บทความอื่นๆ

1014

ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี
ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี (melanin) ของหญ้าเกล็ดปลาการศึกษาฤทธิ์ของสารยูปาโฟลิน (eupafolin) ฟลาโวนอยด์ที่แยกได้จากต้นหญ้าเกล็ดปลา (Phyla nodiflora (L.) Greene) ในการยับยั้งการสร้างเม็ดสี (melanin) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการมีเอนไซม์ไทโรซิเนสที่เป็นเอนไซม์สำคัญในการกระตุ้นการสังเคราะห์เม็ดสีมากเกินไป โดยทำการทดสอบในเซลล์มะเร็งผิวหนัง (melanoma) B16F10 ของหนูเม้าส์ ให้สารยูปาโฟลินความเข้มข้น 0.01, 0.1, 1 และ 10 ไมโครโมลาร์ แก่เซลล์มะเร็ง ทดสอบวัดปริมาณเม็ดสี การทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส และระดับโปรตีนท...

683

ผลของน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ร่วมกับยาแอสไพรินต่อการถูกทำลายของสมองที่ขาดออกซิเจนในหนูแรทที่เป็นเบาหวาน
ผลของน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ร่วมกับยาแอสไพรินต่อการถูกทำลายของสมองที่ขาดออกซิเจนในหนูแรทที่เป็นเบาหวานการศึกษาในหนูแรทเพศผู้อายุ 2 เดือน แบ่งหนูออกเป็น 5 กลุ่มที่ 1 เป็นหนูที่มีระดับน้ำตาลปกติ กลุ่มที่ 2-5 เป็นหนูที่เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin โดยที่กลุ่มที่ 2 เป็นหนูที่เป็นเบาหวานและรักษาด้วยน้ำเกลือ กลุ่มที่ 3 เป็นหนูที่เป็นเบาหวานและรักษาด้วยการป้อนยาแอสไพรินขนาด 2 มก./กก./วัน กลุ่มที่ 4 เป็นหนูที่เป็นเบาหวานและรักษาด้วยการป้อนน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ขนาด 0.5 มล./กก./วัน กลุ่มที่ 5...

1170

ฤทธิ์ต้านอาการข้ออักเสบของโกฐก้านพร้าว
ฤทธิ์ต้านอาการข้ออักเสบของโกฐก้านพร้าวการทดสอบฤทธิ์ต้านอาการข้ออักเสบของสารสกัดน้ำ-แอลกอฮอล์ (hydroalcoholic extract) จากรากของโกฐก้านพร้าว (Picrorhiza kurroa rhizome extract; PKRE) ในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยสาร formaldehyde และ adjuvant induced arthritis (AIA) โดยให้หนูกิน PKRE ในขนาด 50 , 100 และ 200 มก. จากการทดลองพบว่า PKRE สามารถลดการแสดงออกของสารก่อการอักเสบ เช่น interleukin-1β (IL-1β), interleukin-6 (IL-6), tumor necrosis factor receptor-1 (TNF-R1) และ vascular en...

980

ผลของชาเขียวและสารโพลีฟีนอลต่อตับของหนูเม้าส์
ผลของชาเขียวและสารโพลีฟีนอลต่อตับของหนูเม้าส์แม้การบริโภคชาเขียวเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยเพียงพอ ซึ่งผู้บริโภคอาจไม่ทราบถึงผลต่อร่างกายจากการบริโภคชาเขียว มีรายงานว่าในชาเขียวพบสารโพลีฟีนอล Epigallocatechin 3-gallat (EGCG) ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระแต่การบริโภคในปริมาณสูงก็อาจส่งผลเสียต่อตับได้ การศึกษาเพื่อทดสอบผลของสารสกัดชาเขียวในหนูเม้าส์ ทั้งในหนูปกติและหนูที่ถูกชักนำให้เป็นไข้ด้วยสาร lipopolysaccharide (LPS) และส่งผลให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ (health...

76

ผลการรักษาเบาหวานของหัวมันเทศ
ผลการรักษาเบาหวานของหัวมันเทศ สารสกัดด้วยน้ำจากหัวมันเทศ ( Ipomoea batatas Lam.) ที่เตรียมในรูปผงแห้ง ( lyophilized ) ให้ผลดีต่อค่าตัวชี้ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เมื่อทดลองใน Zucker fatty rat ( หนูอ้วนและเป็นเบาหวานโดยพันธุกรรม มีระดับอินซูลินในเลือดสูง และมีความผิดปกติของการเผาผลาญไขมันตั้งแต่กำเนิด ) เมื่อใช้ในขนาด 100 มก./กก. น้ำหนักตัวต่อวัน ติดต่อกันนาน 8 สัปดาห์ มีผลลดระดับน้ำตาลและระดับอินซูลินในเลือด ลดระดับไขมั...

360

กลไกการออกฤทธิ์ของยอ
กลไกการออกฤทธิ์ของยอ (Morinda citrifolia) ต่อระบบภูมิคุ้มกันการทดสอบฤทธิ์ของน้ำลูกยอ (TNJ) และน้ำลูกยอเข้มข้น (NFJC) ในหลอดทดลองและในหนูถีบจักรพบว่า เมื่อทดสอบการจับ ligand กับ cannabinoid 1 (CB1) receptor จาก human recombinant HEK-293 และการจับ ligand กับ cannabinoid 2 (CB2) receptor จาก human recombinant Chinese Hamster Ovary K1 cell โดยนำเยื่อหุ้มเซลล์ที่มี receptor ดังกล่าวมา incubate ร่วมกับ TNJ และ NFJC ที่ขนาด 1 และ 5 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร พบว่า TNJ ขนาด 1 และ 5 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ยับยั้ง...

1422

ฤทธิ์ลดการสะสมไขมันในตับของสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง
ฤทธิ์ลดการสะสมไขมันในตับของสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง (Glycine max L.) ช่วยลดการสะสมไขมันในตับไม่มีสาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease: NAFLD) ในสัตว์ทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะไขมันในตับด้วยการกินอาหารไขมันสูง ทำการทดลองโดยแบ่งหนูแรท ออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับอาหารไขมันสูงเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 และ 3 ได้รับอาหารไขมันสูงร่วมกับสารไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองในขนาด วันละ 10 และ 20 มก./กก. ตามลำดับ ติดต่อกันเป็นเวลา 12 สั...

264

Phytosterols
Phytosterols จากวุ้นว่านหางจระเข้กับฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด วุ้นว่านหางจระเข้ และสาร phytosterol ที่แยกได้จากวุ้นว่านหางจระเข้ มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของหนูถีบจักรที่เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานชนิด type 2 ได้ โดยพบว่าการป้อนวุ้นว่านหางจระเข้ขนาด 20, 30 และ 50 mg/ตัว/วัน จะลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ 88, 58 และ 54% ตามลำดับ ในวันที่ 29 ของการทดลอง ส่วนสกัดด้วยคลอโรฟอร์ม : เมทานอล (2:1) (T1) จากวุ้นว่านหางจระเข้ขนาด 25 ไมโครกรัม/ตัว/วัน สาร phytosterol จากส่วนสกัดวุ้นว่านหางจระเข้ ได้แก่ lophenol, 24...

1466

สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของผลกุหลาบป่า
สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของผลกุหลาบป่าผลกุหลาบ (rose hip) ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในรูปของอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งการใช้ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอาง เพราะในผลของผลกุหลาบมีสารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น วิตามินซี-อี, สารในกลุ่ม phenolics, carotenoids, tocopherols, terpenes, galactolipids, fatty acids, organic acids, น้ำตาล, โปรตีน และแร่ธาตุ โดยเฉพาะสาร ellagic acid ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม phenolics ที่พบได้มากที่สุดในผลกุหลาบ และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทย...